กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดพุงลดโรค ( DPAC)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางขุนทอง

นางดวงดาว พรหมเจียม
นางศิริพร พรมเจียม
นางพยอม คงชำนิ
นายนุ้ย ขุนพรม
นางธุมวดี ทองคุปต์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไขเนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจนโรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ได้แก่ข้อเข่าเสื่อมภาวะอัมพฤกษ์อัมพาตความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดหัวใจเบาหวานไขมันในเลือดสูงมะเร็งลำไส้โรคซึมเศร้าเป็นต้นและยังพบว่าการตายในผู้ที่อายุระหว่าง๒๐ – ๗๔ปีกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งมีผลมาจากความอ้วนโรคหัวใจและหลอดเลือด
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง จึงจัดทำโครงการลดพุงลดโรค( DPAC ) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ การส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนให้มี การรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ในการลดน้ำหนัก และทำกิจกรรมร่วมกันส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บางขุนทองมีสุขภาพดี ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อจัดบริการตรวจสุขภาพประเมินสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ รวมทั้งการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง

กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจสุขภาพประเมินสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ รวมทั้งการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง ร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในประชาชนทั่วไปที่เสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง ส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญการส่งเสริมสุขภาพ

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารรมณ์ เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 60

0.00
3 3.เพื่อสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ในการลดน้ำหนัก และทำกิจกรรมร่วมกัน

มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ในการลดน้ำหนัก และทำกิจกรรมร่วมกันตามแนวทางที่กำหนดไว้ คัดเลือกบุคคลตัวอย่างในการดูแลสุขภาพตนเอง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมเชิงปฏิบัติการตามโปรแกรมคนน้ำหนักเกิน/ลดสัดส่วน ลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมเชิงปฏิบัติการตามโปรแกรมคนน้ำหนักเกิน/ลดสัดส่วน ลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทบทวนความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานให้ เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชนโดยจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยแบบเข้าค่าย ไปเช้า - เย็นกลับ 3 ครั้งๆละ 50 คน - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 9,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 9,000 บาท - ค่าวิทยากรจำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 200 จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร / แผ่นพับความรู้เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่ารางวัลขวัญและกำลังใจกลุ่มเป้าหมายที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่กลุ่มเป้าหมายด้วยกัน เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนัก/สัดส่วน โรคความดันโลหิตสู/เบาหวานและสามารถนำไปดูแลตนเองและคนในครอบครัวได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม
2.กลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจภาวะเสี่ยงของตนเอง เข้าใจวิธีการที่จะจัดการตนเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ยั่งยืน
3.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ขยายผลสู่ครอบครัว ชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง


>