กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสดใส ห่างไกลโรค ตำบลอ่างทอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

สำนักปลัดเทศบาลตำบลอ่างทอง

ตำบลอ่างทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

61.12
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

61.23

การรักษาสุขภาพ ผู้สูงอายุควรระมัดระวังการเจ็บป่วยและการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นง่ายในผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพดังกล่าวแล้ว ต้องใช้เวลาในการดูแลรักษาและฟื้นฟูนานกว่าคนหนุ่มสาว การออกกำลังกาย เป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ เพราะนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กล้ามเนื้อทำงานดีขึ้น ยังเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ หายเครียด และที่สำคัญคือ เซลล์สมองทำงานดีขึ้น การออกกำลังกายส่งผลดีต่อผู้สูงอายุในหลายด้าน โดยการออกกำลังกายจะส่งผลต่อระบบหัวใจและการ ไหลเวียนโลหิต ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีขนาดใหญ่และแข็งแรงขึ้นส่งผลให้สามารถรับเลือดเข้าสู่หัวใจและสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้มากขึ้น ในระบบหายใจการออกกำลังกายทำให้ปอดขยายใหญ่ขึ้น ความจุปอดเพิ่มขึ้น และกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจแข็งแรงขึ้น ส่งผลให้ปอดสามารถระบายอากาศและแลกเปลี่ยนก๊าซได้เพิ่มขึ้น ในระบบกล้ามเนื้อการออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของทั้งจำนวนและขนาดของเส้นใย และยังส่งผลทางด้านจิตใจโดยการออกกำลังกายทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphine) ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เกิดความรู้สึกสดชื่น ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นลดความตึงเครียด จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการออกกำลังกายส่งผลดีต่อผู้สูงอายุ
ดังนั้น เทศบาลตำบลอ่างทอง จึงได้จัดทำ โครงการผู้สูงอายุสดใส ห่างไกลโรค ตำบลอ่างทอง ประจำปีงบประมาณ 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ

ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

61.23 70.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

61.12 65.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและ กิจกรรม นันทนาการของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและ กิจกรรม นันทนาการของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ป้ายโครงการฯขนาด๑.๒๐x๒.๔๐ ม. จำนวน๑ป้าย เป็นเงิน5๐๐บาท
  2. ค่าอาหารอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับอบรมผู้สูงอายุ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสมาชิกสภาฯคณะกรรมการ สปสช.ฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน ๑๒0 คน x ๗๐บาท เป็นเงิน๘,4๐๐บาท
  3. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับอบรมผู้สูงอายุพร้อมด้วยคณะผู้บริหารสมาชิกสภาฯ คณะกรรมการ สปสช.ฯและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน ๑๒0 คน x ๒๕บาท จำนวน๒มื้อ เป็นเงิน6,๐๐๐บาท
  4. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๓ คน ๆ ละ ๒ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาทเป็นเงิน๓,๖๐๐บาท
  5. ค่าเช่าเครื่องเสียงขนาดใหญ่จำนวน๑ชุดเป็นเงิน1,๐๐๐บาท
  6. ค่าเต้นโค้ง พร้อมเก้าอี้จำนวน1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์การปลูกผักปลอดสารพิษกินเองและใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความหวัง

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การปลูกผักปลอดสารพิษกินเองและใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความหวัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าพันธุ์ผักระยะสั้น แจกผู้สูงอายุ คนละ 4 ซอง ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 9,600 บาทและ รายจ่ายอื่น ๆ (ค่าวัสดุสาธิต)เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุไดบริโภคผักปลอดสารมาเป็นอาหารรับประทาน ซึ่งเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ทำให้มีภูมต้านทานไม่เกิดโรคต่างๆ และทำให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจในการใช้ชีวิตในแต่ละวันโดยมีความสุขในการรดน้ำพรวนดิน รอเก็บผลผลิต ใช้ชีวิตอย่างมีความหวัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โดยพืชผักที่ผู้สูงอายุปลูกจะใช้ระยะเวลาสั้นแค่ 2-3 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตบริโภค และขายได้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกปลูกผักตามฤดูกาลและที่ตลาดต้องการ เพื่อให้สามารถหมุนเวียนปลูกตลอดทั้งปี เพราะนอกจากจะเก็บผลผลิตบริโภคเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนแล้ว ซึ่งสามารถเก็บผลผลิตขายสร้างรายได้เสริมเข้าครัวเรือนได้เฉลี่ยวันละ 200-300 บาทด้วย ถึงแม้จะไม่มากแต่สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้ เพราะผู้สูงอายุไม่สามารถไปทำงานรับจ้างที่ใช้แรงงานหนักได้ ผู้สูงอายุจึงมีความสุขที่ได้ปลุกผักปลอดสารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ มีสุขภาพทางกาย ทางจิต และทางจิตวิญญาณที่ดีสามารถอยู่ใน
สังคมได้อย่างเป็นสุข
2. ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชุมชนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์
ในการดูแลสุขภาพตนเอง
3. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้


>