กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาระบบบริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา

-

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ได้แก่ หมู่ที่3 หมู่ที่12 หมู่ที่14 หมู่ที่15 และหมู่ที่16 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนจุดเสี่ยงก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน

 

9.00
2 จำนวนมาตรการชุมชนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน

 

1.00

ในปัจจุบันสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่เกิดจาก โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและหลอดเลือด โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และอุบัติเหตุ ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้อาจมีอาการที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย หรือบางรายอาจมีภาวะหัวใจหยุดเต้น ต้องได้รับการกู้ชีวิตภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว 4 นาที จะมีโอกาสรอดชีวิตได้ร้อยละ 30 หากปล่อยไว้นานมากกว่า 4 นาที แม้จะฟื้นคืนชีพมาได้ก็จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวร ดังนั้นการได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง และมีการส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บต่อไปยังสถานพยาบาลอย่างเหมาะสมรวดเร็วและถูกวิธีจะทำให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตและกลับคืนมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงจัดโครงการพัฒนาระบบบริการงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2566 เพื่อเตรียมความพร้อมรับเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานถูกต้องและสามารถเข้าทีมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาได้ในวันหยุดราชการซึ่งมีเจ้าหน้าที่เพียงคนเดียว สามารถดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงในภาวะฉุกเฉิน และสามารถดูแลได้อย่างถูกต้องก่อนนำส่งสถานพยาบาลต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผ่านเกณฑ์มาตรฐานบริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2566

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความพร้อมในด้านบุคลากรในการให้บริการ การรักษาพยาบาล และมีอุปกรณ์ช่วยชีวิต ตลอดจนเวชภัณฑ์ในการช่วยชีวิต (ผ่านตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2566)

0.00 0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพ บทบาททีมภาคีเครือข่าย ประชาชนจิตอาสา ในระบบบริการงานอุบัติเหตุและการแพทย์ฉุกเฉิน

ร้อยละ100ของบุคลากร ภาคีเครือข่ายได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2566

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพ บทบาททีมภาคีเครือข่ายประชาชนจิตอาสาในระบบงานการการแพทย์ฉุกเฉิน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพ บทบาททีมภาคีเครือข่ายประชาชนจิตอาสาในระบบงานการการแพทย์ฉุกเฉิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รับสมัครอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 คน และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา จำนวน 5 คน รวมเป็น 30 คน 2.อบรมให้ความรู้การเข้าทีมในการช่วยฟื้นคืนชีพ (ซึ่งวันหยุด ราชการมีจนท.ปฏิบัติงาน 1 คน) 3.ฝึกภาคปฏิบัติในการฟื้นคืนชีพ การเข้าทีม และการใช้ AED งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร 5 คน และผู้เข้ารับการอบรม 25 คน รวมเป็น 30 คน x1มื้อ x25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
2.ค่าสมนาคุณวิทยากรภาคทฤษฎีและปฏิบัติ จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
3.ค่าทำป้ายไวนิล ขนาด 1.2x2.5 เมตร เป็นเงิน 500 บาท 4.ค่าวัสดุเหมาจ่ายจัดการอบรม (กระเป๋า สมุด และปากกา) ชุดละ 100 บาท จำนวน 30 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2566 ถึง 22 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.เจ้าหน้าที่ รพ.สต.สามารถเข้าร่วมทีมกับอาสาสมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.มีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการและผ่านการฝึกอบรม จำนวน 25 คน
ผลลัพธ์
1.ลดอัตราการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นและการตายจากภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7850.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาคุณภาพการใช้บริการสำหรับงานบริการในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาคุณภาพการใช้บริการสำหรับงานบริการในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ปรับสภาพแวดล้อมภายในห้องฉุกเฉินตามหลัก 5 ส และความเหมาะสมในการใช้งาน
2.จัดหาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ให้ได้มาตรฐานและมีความพร้อมในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน
งบประมาณ 1.ชุดช่วยหายใจแบบบีบมือ(Seft inflating bag) เป็นเงิน 2,500บาท
2.อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจ(Air way) เป็นเงิน 400 บาท 3.ถังออกซิเจนขนาดเคลื่อนย้ายพร้อมรถและหัวเกย์ออกซิเจน ขนาด 1.5 คิว ราคา 8,900 บาท
4.ไม้กระดานรองปั๊มหัวใจ เป็นเงิน 2,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.ผ่านเกณฑ์มาตรฐานบริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2566
ผลลัพธ์ 1.ลดอัตราการบาดเจ็บและการตายจากภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความพร้อมในด้านบุคลากรในการให้บริการ การรักษาพยาบาล และมีอุปกรณ์ช่วยชีวิต ตลอดจนเวชภัณฑ์ในการช่วยชีวิต (ผ่านเกณฑ์รพ.สต.ติดดาว)
2. ร้อยละ100ของบุคลากร ภาคีเครือข่ายได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์ระบบงานการแพทย์และฉุกเฉิน
3. อัตราการบาดเจ็บ ทุพพลภาพ อัตราการตายจากภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน ไม่เกินร้อยละ 10 ของประชากรในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลบ้านศาลาตำเสา


>