กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

"สถานีวัยเก๋า เคลื่อนไหวดี ไม่มีล้ม"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

หน่วยงานสาธารณสุข อปท. (ศูนย์บริการสาธารณสุขสามชัย)

ศูนย์บริการสาธารณสุขสามชัย อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน และกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนหน้าโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

ชุมชนหน้าโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การหกล้มในผู้สูงอายุ

 

15.30

การหกลัมในผู้สูงอายุแตกต่างจากการหกลัมในวัยหนุ่มสาวหรือวัยเด็ก สาเหตุของการหกล้มสำคัญที่แพทย์ควรประเมินเป็นลำดับแรกคือ สาเหตุจากปัจจัยทางสรีระวิทยาหรือความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ นิยามของการหกล้ม หมายถึง "การที่ร่างกายเคลื่อนลงมากระทบสู่พื้นดินหรือที่1 ระดับต่ำกว่าระดับเดิมโดยไม่ได้เป็นการดั้งใจ" การหกลัมในผู้สูงอายุในความจริงแล้วเกิดน้อยกว่าในวัยเด็กหรือนักกีฬา แต่ด้วยการที่สรีรวิทยาที่ถดถอยร่วมกับภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้อย่างชัดเจน ได้แก่ การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและเส้นเอ็นร้อยละ 50 และการบาดเจ็บที่รุนแรงขึ้นร้อยละ 10 เช่น กระดูกหัก เลือดออกในสมอง นอกจากนี้การหกล้มในผู้สูงอายุยังส่งผลกระทบต่อจิตใจ โดยเฉพาะการหกล้มเกิดขึ้นซ้ำ และไม่ได้รับการดูแลแก้ไข นำไปสู่สุขภาพจิตที่แย่ลงหรือภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 20-30
อุบัติการณ์การหกล้มและการเดินการทรงตัวที่ผิดปกติเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยทั่วโลก และส่งผลต่อผู้สูงอายุทั้งด้านคุณภาพชีวิตและการเสียชีวิต รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้สูงอายุที่ค่อนข้างสูง สาเหตุของการหกล้มในผู้สูงอายุมีได้หลายสาเหตุ มีได้ทั้งทางร่างกาย ยาที่รับประทานและปัจจัย สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ซึ่งแพทย์ควรทำการประเมินผู้สูงอายุที่มีการหกล้มโดยเริ่มจาก การซักประวัติการหกล้มที่เกิดขึ้นโดยละเอียดเพื่อค้นหาสาเหตุที่เป็นได้ ร่วมไปกับการประเมินการเดินการทรงตัว สำหรับการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ พบว่ามีหลายกระบวนการที่ช่วยป้องกันได้ตามข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมาโดยเฉพาะการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพทั้งการลดอัตราการหกลัมและลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม ดังนั้นเมื่อแพทย์ได้ประเมินผู้สูงอายุและพบความเสี่ยงต่อการหกล้ม หรือเคยมีประวัติการหกล้มมาก่อน ควรหาสาเหตุที่มาของการหกล้มและความเสี่ยงอย่างละเอียด และให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมเพื่อสามารถป้องกันการหกลัมและชะลอภาวะทุพพลภาพต่อไปได้
โดยปัญหาสุขภาพชุมชนที่นำมาทำประชาคมอ้างอิงจากแบบสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ ๖ เป็นการสำรวจผู้สูงอายุประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน เพื่อเป้าหมายตามหลักนโยบายผู้สูงอายุแห่งชาติ ให้ผู้สูงอายุสามารถอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศ เป็นที่ต้องการของครอบครัวและสังคม และมีความเข้าใจดีระหว่างคนต่างรุ่นในครอบครัว โดยมีประเด็นดังนี้ ๑.การหกล้มในผู้สูงอายุ นำไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ โดยมีการหกล้มภายในหกเดือน ๑๕.๓% พบเกิดปัญหาในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉลี่ยล้มประมาณ ๓ ครั้ง ไม่แตกต่างกันมากนักระหว่างกลุ่มอายุ เป็นการหกล้มนอกบ้านมากกว่าในบ้าน และในบ้านเป็นบริเวณห้องนอนและห้องน้ำ สาเหตุที่ทำให้หกล้มคือ การสะดุดสิ่งวัตถุสิ่งของ ลื่นหกล้ม เสียการทรงตัว พื้นต่างระดับ แหละหน้ามืดขณะหกล้ม เป็นการบาดเจ็บแผลฟกช้ำ ถอก หรืออาจถึงข้อสะโพกหักได้ ๒.การพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวัน ผู้สูงอายุประมาณ ๐.๗-๒๐.๒% มีข้อจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน พบเกิดปัญหาในผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย เพิ่มขึ้นตามอายุ ๓.ความเสื่อมถอยของอวัยวะ เช่น ต้อกระจก การบดเคี้ยว และการได้ยิน และสุดท้ายคือโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุทางกายและทางใจ ทางกายเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคข้อเข่าเสื่อม ทางจิตใจเช่น ภาวะซึมเศร้าเป็นต้น โดยนำประเด็นปัญหาที่ได้จากแบบสำรวจและความเห็นของคนในชุมชนมาจัดทำประชาคมและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา พิจารณาตามขนาดของปัญหาความรุนแรงของปัญหา ความยากง่ายและความตระหนักของคนในชุมชนต่อการแก้ปัญหา
จากการทำประชาคมปัญหาทางสุขภาพในเขตชุมชนหน้าโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย มีผู้เข้าร่วมประชาคมเป็นผู้สูงอายุในชุมชนหน้าโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) เป็นจำนวน ๑๕ คน ทีมแพทย์/พยาบาลจากโรงพยาบาลใหญ่ รวมทั้งสิ้น ๒๕ คน โดยประเด็นปัญหาที่ได้จากการทำประชาคมคือปัญหาหกล้มในผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับการคัดกรองสุขภาพของผู้สูงอายุอำเภอหาดใหญ่ปี ๒๕๖๒ ปัญหาที่พบมากที่สุด ๔ อันดับคือ โรคติดต่อไม่เรื้อรัง ข้อเข่าเสื่อม ปัญหาสมองเสื่อม และการหกล้ม
เทศบาลนครหาดใหญ่ ได้กำหนดนโยบายด้านสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตให้ประชาชนทุกคน ได้รับการดูแลโดยเสมอภาค ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล โดยให้บริการประชาชนภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน และทั้งนี้ปัญหาสุขภาพที่ได้มาเกิดจากการทำประชาคมและการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาโดยชุมชนอย่างแท้จริง จึงได้จัดทำโครงการ “สถานีวัยเก๋า เคลื่อนไหวดี ไม่มีล้ม” เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของคนในชุมชน รู้สถานะความเสี่ยงของตนเอง ฝึกการทรงตัว การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัยต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อลดโอกาสล้ม โดยจะมีการติดตามโครงการดังกล่าวทุกๆ ๓ เดือน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และเป็นต้นแบบโครงการชุมชนอันมาจากการมีส่วนร่วมของชุมชนที่แท้จริง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อการล้ม

ผู้สูงอายุในโครงการ ๖๐ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการประเมินสุขภาพและคัดกรองความเสี่ยงต่อการล้ม

100.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการล้มจากการมีภาวะเสี่ยงกระดูกพรุน(OSTA) ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม

ผู้สูงอายุในโครงการ ๖๐ ปีขึ้นไปที่มีภาวะเสี่ยงกระดูกพรุน ร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการส่งต่อและรักษาต่อเนื่อง

100.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีความรอบรู้ทางสุขภาพ เพื่อป้องกันการหกล้มและส่งเสริมสุขภาวะ

ผู้สูงอายุในโครงการ ร้อยละ ๑๐๐ มีความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุมากขึ้น

100.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนออกกำลังกายทำให้มีกำลังกล้ามเนื้อ การทรงตัวดีขึ้น

-ผู้สูงอายุในโครงการ ร้อยละ ๘๐ มีการออกกำลังกายป้องกันล้มอย่างสม่ำเสมอตามเกณฑ์ -ผู้สูงอายุในโครงการ ร้อยละ ๘๐ ไม่ล้มหรือไม่ล้มซ้ำภายใน ๓ เดือน -ผู้สูงอายุในโครงการ ร้อยละ ๖๐ มีกำลังกล้ามเนื้อและการทรงตัวดีขึ้น -เกิดเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

80.00
5 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านป้องกันการล้มได้อย่างเหมาะสม

-ผู้สูงอายุในโครงการ ร้อยละ ๘๐ ปรับเปลี่ยนให้ตนเองอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

80.00

๑. เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อการล้ม
๒. เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการล้มจากการมีภาวะเสี่ยงกระดูกพรุน(OSTA) ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม
๓. เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีความรอบรู้ทางสุขภาพ เพื่อป้องกันการหกล้มและส่งเสริมสุขภาวะ
๔. เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนออกกำลังกายทำให้มีกำลังกล้ามเนื้อ การทรงตัวดีขึ้น
๕. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านป้องกันการล้มได้อย่างเหมาะสม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 29/02/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองประเมินการล้มผู้สูงอายุในชุมชน และประเมินภาวะเสี่ยงกระดูกพรุน(OSTA INDEX)

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองประเมินการล้มผู้สูงอายุในชุมชน และประเมินภาวะเสี่ยงกระดูกพรุน(OSTA INDEX)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๑ คัดกรองประเมินความเสี่ยงต่อการล้มผู้สูงอายุในชุมชน และประเมินภาวะเสี่ยงกระดูกพรุน(OSTA INDEX) ทางแอปพลิเคชั่น “สมุดผู้สูงอายุ” และส่งต่อศูนย์บริการสาธารณสุข โดยแพทย์และนักกายภาพ (๑.ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน ๓ ชั่วโมง ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท ๒.ค่าวัสดุอุปกรณ์จัดอบรม ได้แก่ ปากกา, กระดาษถ่ายเอกสาร เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท ๓.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน๓๐ คน คนละ ๒๐ บาท รวมเป็นเงิน ๖๐๐ บาท) - ประเมินความเสี่ยงล้มผู้สูงอายุในชุมชน - ประเมินภาวะเสี่ยงกระดูกพรุน (OSTA INDEX) - Time up and go (ก่อนเริ่มโครงการและระหว่างการติดตามทุกๆ ๓ เดือน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ผู้สูงอายุในโครงการ ๖๐ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการประเมินสุขภาพและคัดกรองความเสี่ยงต่อการล้ม ๒. ผู้สูงอายุในโครงการ ๖๐ ปีขึ้นไปที่มีภาวะเสี่ยงกระดูกพรุน ร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการส่งต่อและรักษาต่อเนื่อง ๓. เกิดเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3400.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุ ภาวะโภชนาการ การจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านป้องกันการล้ม โดยแพทย์ นักกายภาพ และนักโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุ ภาวะโภชนาการ การจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านป้องกันการล้ม โดยแพทย์ นักกายภาพ และนักโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๒ ให้ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุ ภาวะโภชนาการ วิธีออกกำลังกายในบ้านและนอกบ้านที่เหมาะสมสำหรับวัยผู้สูงอายุ การจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านป้องกันการล้ม โดยแพทย์ นักกายภาพ และนักโภชนาการ
-แบบทดสอบความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุก่อนและหลังอบรม -ส่งรูปก่อนและหลังจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านป้องกันการล้มของตนเองหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมในไลน์กลุ่มผู้สูงอายุ ๑. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน ๑.๕ ชั่วโมง ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท วิทยากร ๒ ท่าน เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท ๒. ค่าจัดทำสมุดสุขภาพ จำนวน ๓๐ เล่ม เล่มละ ๖๐ บาท เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท ๓. ค่าจัดทำคู่มือประกอบการอบรม จำนวน ๓๐ เล่ม เล่มละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท ๔. ค่าของที่ระลึกสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนปฏิบัติต่อเนื่องหลังจากการประเมินทุกๆ ๓ เดือน จำนวน ๒๐ รางวัล รางวัลละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท ๕. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน๓๐ คน คนละ ๒๐ บาท รวมเป็นเงิน ๖๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.ผู้สูงอายุในโครงการ ร้อยละ ๑๐๐ มีความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุมากขึ้น ๒.ผู้สูงอายุในโครงการ ร้อยละ ๘๐ ปรับเปลี่ยนให้ตนเองอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ๓.เกิดเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7700.00

กิจกรรมที่ 3 ร่วมกันออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
ร่วมกันออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๓ ร่วมกันออกกำลังกายอย่างเหมาะสม -รวมกลุ่มออกกำลังกายนอกบ้าน เช่น ไทเก็ก กายบริหารคลายเส้น -ส่งรูปออกกำลังกายภายในไลน์กลุ่มผู้สูงอายุ ๑.  ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน ๓ ชั่วโมง ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท ๒.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน  ๓๐ คน คนละ ๒๐ บาท รวมเป็นเงิน ๖๐๐ บาท ๓.  ค่าจ้างผู้นำออกกำลังกายไทเก็กชุมชน ครั้งละ ๓๐๐ บาท สัปดาห์ละครั้ง จำนวน ๕๐ สัปดาห์ (ประมาณ ๑ ปี) เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท ๔.  อุปกรณ์เครื่องเสียงสำหรับใช้ในการออกกำลังกาย (จัดหาจากชุมชน/สนับสนุนจากเทศบาล)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.ผู้สูงอายุในโครงการ ร้อยละ ๘๐ มีการออกกำลังกายป้องกันล้มอย่างสม่ำเสมอตามเกณฑ์ ๒.ผู้สูงอายุในโครงการ ร้อยละ ๘๐ ไม่ล้มหรือไม่ล้มซ้ำภายใน ๓ เดือน ๓.ผู้สูงอายุในโครงการ ร้อยละ ๖๐ มีกำลังกล้ามเนื้อและการทรงตัวดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17400.00

กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์โครงการ และประชุมเจ้าหน้าที่

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ และประชุมเจ้าหน้าที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเจ้าหน้าที่และประชาสัมพันธ์โครงการ ๑.  ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด ๒.๕x๕ เมตร จำนวน ๒ ป้าย ราคา ๓,๗๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เจ้าหน้าที่แต่ละฝา่ายเข้าใจบทบาทและวิธีการดำเนินโครงการ ตัวชี้วัด
-เกิดการประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุในชุมชนหน้าโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยได้ทราบถึงโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

จากผู้สูงอายุในชุมชนได้มีการรวมกลุ่มทำประชมคม ได้ประเด็นปัญหาสุขภาพที่ชุมชนต้องการแก้ไขอย่างแท้จริง จะทำให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีความตระหนักในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ และได้รับการประเมินสุขภาพ คัดกรองเสี่ยงต่อล้ม ผู้สูงอายุในชุมชนที่เสี่ยงต่อกระดูกพรุนได้รับการดูแลรักษาอยากต่อเนื่องและเหมาะสม อัตราการล้มลดลง และเกิดเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน


>