กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกรและลดใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ตำบล ทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกรและลดใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ตำบล ทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่

-

เกษตรกรตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากรเกษตรกรในตำบลทุ่งใหญ่ มีความเสี่ยงต่อการ การพบสารเคมีตกค้างในเลือด

 

15.00

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งจากสภาพภูมิอาการศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้น พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น เป็นต้นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธ์ และตา ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคติอมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น
ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพในภาคมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวน ทำไร่ พืชล้มลุกทางการเกษตรหลากหลายชนิด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุม และกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขบาบเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรง และพบสถิติการป่วยด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น จากการตรวจเลือดเกษตรกรของตำบลทุ่งใหญ่เพื่อหาสารพิษตกค้างที่ผ่านมา และบวกกับการสัมภาษณ์เกษตรกร พบว่า ด้านพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรรวมถึงผู้สัมผัสสารเคมีทางการเกษตร เช่น ผู้ที่ผสมสารเคมี ผู้รับจ้างฉีดพ่น เป็นต้น ยังมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก และการใช้ยังไม่ถูกวิธี เช่น ไม่ใส่อุปกรณ์ป้องกัน การทำความสะอาดร่างกาย การใช้สารเคมีที่เกินมาตรฐาน เป็นต้นและขาดความรู้จึงทำให้มีผลกระทบกับสุขภาพ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกรและลดใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ตำบล ทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อหาสารพิษตกค้างในเลือด และจัดอบรมให้แก่เกษตรกรและแกนนำในชุมชน เพื่อสร้างความรู้และความตระหนักเรื่องลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีทางการเกษตร ได้รับความรู้เรื่องการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างถูกต้องและปลอดภัย

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้องปลอดภัย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 60

15.00 60.00
2 เพื่อให้เกษตรกรมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60

15.00 60.00
3 เพื่อให้เกิดแกนนำที่มีความรู้ การใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้อง สามารถสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในชุมชนทุ่งใหญ่ ได้อย่างถูกต้อง

เกิดแกนนำสุขภาพในการเฝ้าระวังเกษตรกรที่และผู้สัมผัสสารเคมีทางการเกษตรในเขต ตำบลทุ่งใหญ่ เพื่อให้เกิดตระหนักถึงพิษภัยอันตรายของการใช้สารเคมีทางการเกษตร ลดการใช้สารเคมี ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการทำการเกษตรอินทรีย์จำนวน 91 คน

15.00 60.00

2.1 เพื่อให้เกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีทางการเกษตร ได้รับความรู้เรื่องการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างถูกต้องและปลอดภัย
2.2 เพื่อให้เกษตรกรมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้อง
2.3 เพื่อให้เกิดแกนนำที่มีความรู้ การใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้อง สามารถสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในชุมชนทุ่งใหญ่ ได้อย่างถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 182
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรผู้ที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพ รวมถึงผู้สัมผัสสารเคมีทางการเกษตรและ แกนนำสุขภาพ อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรผู้ที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพ รวมถึงผู้สัมผัสสารเคมีทางการเกษตรและ แกนนำสุขภาพ อย่างถูกต้องและปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพ(อสม.) ทุกคน รพ.สต.ทุ่งใหญ่ จำนวน 91 คน เพื่อแกนนำในการดูแลสุขภาพประชาชน เกี่ยวกับการป้องกันสารพิษตกค้างในเกษตรกรชุมชนทุ่งใหญ่ ดังนี้

- ค่าอาหารกลางวัน91 คนๆละ 70 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน6,370บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 91 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน5,460บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับการสาธิต (ชุดป้องกันตนเองจากสารเคมี,รองเท้าบู๊ทนินจา,หน้ากาก,แว่นตา) เป็นเงิน 3,000บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับการสาธิต (ชุดตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดพร้อมค่าจัดส่ง) จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600บาท
รวมเป็นเงิน 20,430 บาท
2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกษตรกรตำบลทุ่งใหญ่ที่ได้จากการชักนำคนที่่ทำการเกษตรในเขตรับผิดชอบของอสม.โดย อสม.1 ท่านต่อเกษตรกร 1 คน ดังนี้
- ค่าอาหารกลางวัน91 คนๆละ 70 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน6,370บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 91 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,460บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับการสาธิต (ชุดป้องกันตนเองจากสารเคมี,รองเท้าบู๊ทนินจา,หน้ากาก,แว่นตา) เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับการสาธิต (ชุดตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดพร้อมค่าจัดส่ง) เป็นเงิน 2,000บาท
- ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600บาท
รวมเป็นเงิน 20,430 บาท
3. กิจกรรมตรวจหาสารเคมีในเลือดจากเกษตรกรตำบลทุ่งใหญ่ครั้งที่ 1ดังนี้
- ค่าชุดตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดพร้อมค่าจัดส่ง จำนวน 2 ชุดๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรฐานเจาะเลือด 3 คนๆละ 150 บาท เป็นเงิน 450บาท
รวมเป็นเงิน 8,905 บาท
4. ค่ารางจืดแคปซูล 91 ชุดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 9,100 บาท
5. กิจกรรมตรวจหาสารเคมีในเลือดจากเกษตรกรตำบลทุ่งใหญ่ครั้งที่ 2ดังนี้
- ค่าชุดตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดพร้อมค่าจัดส่ง จำนวน 2 ชุดๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรฐานเจาะเลือด 3 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 5,400บาท
รวมค่าใช้จ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 68,760 บาท (หกหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยหกสิบบาทถ้วน)
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

9.1 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้องปลอดภัย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 60
    9.2 กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60
    9.3 ติดตามระดับสารพิษตกค้างในเลือดของเกษตรกรที่เข้าร่วมการอบรมฯภายใน 1 เดือน อยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย น้อยกว่าร้อยละ 35

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63810.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,810.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

10.1 เกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีทางการเกษตรเขตตำบลทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่ มีความรู้ เรื่องการใช้สารเคมีในการเกษตรอย่างถูกต้องและปลอดภัย และสามารถนำไปปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรได้
10.2 เกษตรกรที่สัมผัสสารเคมีทางการเกษตร ในเขต ตำบลทุ่งใหญ่ มีระดับสารพิษตกค้างในเลือด อยู่ในระดับปกติ และระดับที่ปลอดภัย
10.3 เกษตรกรที่และผู้สัมผัสสารเคมีทางการเกษตรในเขต ตำบลทุ่งใหญ่ ตระหนักถึงพิษภัยอันตรายของการใช้สารเคมีทางการเกษตร ลดการใช้สารเคมี ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการทำการเกษตรอินทรีย์


>