กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงที่มีระดับสารเคมีในเลือดสูง 2566 เขต รพ.สต.บ้านป่าบาก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

เครือข่ายเฝ้าระวังการเกิดโรคไม่ติดต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก

1.นางนี เลี่ยนกัตวา
2.นางเจริญ คงสม
3.นางอุดมวรรณ ทองอินทร์
4.นางกัลยา สนธ์น้อย
5.นางดารา ทองอินทร์

ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบากบ้านทุ่งคลองควายหมู่ที่2 บ้านยางขาคีมหมู่ที่6 บ้านหารบัวหมู่ที่9 ต.ทุ่งนารี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น บ้านทุ่งคลองควายหมู่ที่2 บ้านยางขาคีมหมู่ที่6 บ้านหารบัวหมู่ที่9 มีประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น เนื่องจากรูปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมรูปแบบการเกษตรทำเพื่อการบริโภคมาเป็นการเกษตรเศรษฐกิจเกษตรกรต้องการเพิ่มผลผลิตจึงจำเป็นต้องมีการใช้สารเคมีในการกระตุ้นการเจริญเติบโตประกอบกับมีการระบาดของศัตรูพืชจึงมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชก็เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพที่มีความเสี่ยงในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงที่มีระดับสารเคมีในเลือดสูง 2566 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวัง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เมื่อผลการเจาะเลือดพบว่าเกษตกรมีความเสี่ยงก็จะให้รับประทานสมุนไพรรางจืดจัดเป็นยารสเย็นใช้ปรุงเป็นยาเขียวลดไข้ ถอนพิษผิดสำแดง และพิษอื่นๆ ใช้แก้ร้อนใน กระหายน้ำ สามารถลดพิษของสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มคาร์บอเนต เช่น เมโทรมิล เป็นต้น เพื่อที่จะได้เปรียบเทียบผลเลือดก่อนและหลังเจาะของเกษตรกรและลดอัตราการป่วยจากโรคประกอบอาชีพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่มีระดับสารเคมีในเลือดสูงได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการบริโภคที่ปลอกภัย 2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการป้องกันการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพที่ถูกต้องตามมาตรฐาน 3.หลังจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและใช้ชารางจืดในการล้างสารเคมี เจาะเลือดซ้ำแล้วผลเลือดเกษตรกรผลดีขึ้น

เกษตรกรและผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความรู้ในการป้องกัน ร้อยละ 80

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ค้นหาเกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลง และตรวจสารเคมีในร่างกายให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มไม่ปลอดภัย 2.ให้เกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคู่กับการใช้ชารางจืด เป็นเวลา 5 วัน เจาะเลือดตรวจสารเคมี ซ้ำครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
1.ค้นหาเกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลง และตรวจสารเคมีในร่างกายให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มไม่ปลอดภัย 2.ให้เกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคู่กับการใช้ชารางจืด เป็นเวลา 5 วัน เจาะเลือดตรวจสารเคมี ซ้ำครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าแถบตรวจระดับสารเคมี 4 กล่องๆ100 ชิ้น กล่องละ 950 บาท = 3,800บาท
  • ค่าหลอดฮีมาโตคริต 3 กระปุก กระปุกละ 100 ชิ้น ราคากระปุกละ 780*3 เป็นเงิน 2,340 บาท
    • ค่าเข็มเจาะ จำนวน 2 กล่องๆละ200 ชิ้น กล่องละ 950 บาท เป็นเงิน 1900 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25 บาท 300คนๆละ 25 บาท= 7,500 บาท
  • ค่ายาผงรางจืด 1 (แพ็ค/3 ซอง)
    ราคา 30 บาท จำนวน 300 แพ็ค/3 ซองเป็นเงิน 9,000 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท รวม 25,140 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลง จำนวน 150 คน ได้รับการคัดกรอง 100%

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25140.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,140.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลงมีความเสี่ยงลดลง ผลเลือดปกติ


>