กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

คณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว/งานสาธารณสุข สังกัดสำนักปลัด เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

นางสาวอาภาพร สมประสงค์

เขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ

 

16.00
2 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ

 

80.00
3 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)

 

4.00

ด้วยกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารงานจำเป็นต้องใช้ระเบียบและหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนให้การดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนฯ ได้ตามระเบียบและแนวทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพอาศัยความตาม ข้อ 10 (4) ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2561 กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนฯ มีประสิทธิภาพ คณะกรรมการบริหารจัดการกองทุนฯ มีความรู้ ความเข้าถึง และความเข้าใจหลักการบริหารจัดการกองทุนฯ ก็จะทำให้กองทุนแห่งนั้นดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ประกอบกับ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นหน่วยงานปฏิบัติงานให้กับคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จึงจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ดำเนินงานกองทุนฯ วัสดุ/อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่พร้อมในการสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนฯ ไปพร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนฯ คณะกรรมการกองทุนฯจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนฯ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้การบริการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมีประสิทธิภาพและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

คณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการฯ มีการประชุมครบตามประกาศและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

4.00 4.00
2 2.เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเป็นไปตามระเบียบที่ถูกต้อง โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

ร้อยละของคณะกรรมการฯ/อนุกรรมการ มีการเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกันและมีการรายงานผลการประชุม

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชื่อกิจกรรม
การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนคณะกรรมการ 18 คนๆละ 400. บาท จำนวน 5 ครั้ง เป็นเงิน 36,000 บาท
  • ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 12 คนๆละ300 บาทจำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 14,400 บาท
  • ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายเดินทาง /ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร เข้าปกเข้าเล่ม และงานจ้างอื่นๆ ในการบริหารจัดการกองทุน ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของคณะกรรมการฯและอนุกรรมการฯจำนวน 40 คนๆละ 9 ครั้งๆละ 25 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
  • จัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ (โน๊ตบุ๊ค) จำนวน 1 เครื่องๆละ 16,000 บาท เป็นเงิน 16,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-งานบริหารจัดการกองทุนฯมีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง/งานบริหารจัดการกองทุนฯ มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ -งานบริหารจัดการกองทุนฯมีวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ในการดำเนินบริหารจัดการกองทุนเพียงพอต่อการดำเนินงานฯ/งานบริหารจัดการกองทุนฯ มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
85400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการกองทุนและการจัดทำแผนฯ ทบทวนแผนยุทธศาสตร์ และจัดทำแผนปฏิบัติการกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการกองทุนและการจัดทำแผนฯ ทบทวนแผนยุทธศาสตร์ และจัดทำแผนปฏิบัติการกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการ 1x3 เมตรๆละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คนๆละ25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,200 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 40 คนๆละ 120.- เป็นเงิน 4,800 บาท
  • ค่าห้องประชุม เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าวัสดุ 40 คนๆละ 100.- เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชม.ๆละ 600.- เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายเดินทาง ( 40 คนๆละ 100.-) เป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเป็นไปตามระเบียบที่ถูกต้อง โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 107,850.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าวมีการบริหารจัดการกองทุนที่มีประสิทธิภาพ
2.คณะกรรมการกองทุนฯและแกนนำชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักเกณฑ์การบริหารจัดการกองทุนฯ อย่างมีประสิทธิภาพ


>