กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

ชมรม อสม. ตำบลบางขุนทอง

1. นางดวงดาว พรหมเจียม
2. นางพยอม คงชำนิ
3. นางสาวธุมวดี ทองคุปต์
4. นางสาวนิยดา สุขสำราญ
5. นางอัมพร วิลันดา

ตำบลบางขุนทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะAntibiotic)โดยไม่เหมาะสมหรือไม่จำเป็นและการใช้สเตียรอยด์ไปใช้ในทางที่ผิด นับเป็นปัญหาต่อสุขภาพประชาชนในระดับประเทศ ซึ่งเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจ
และมีพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ผู้ป่วยจำนวนมากมักไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรในการรับประทานยา ส่งผลให้รับประทานยาปฏิชีวนะไม่ครบจำนวน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา ส่วนปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ในทางที่ผิด จะทำให้ได้รับอันตรายจากการใช้ยา เช่น ระคายเคืองกระเพาะอาหาร กระดูกพรุน ไตวาย ระดับนำ้ตาลในเลือดสูง รวมทั้งกดภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ลดลงจนทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายซึ่งการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์ดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบาย ให้โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยในระดับชุมชนให้มีการเฝ้าระวังการจำาหน่ายยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ ยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs และผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตราย เช่น ผลิตภัณฑ์ลดนำ้หนัก ยาสมุนไพรผสมสเตียรอยด์ หรือยากลุ่ม NSAIDs ในร้านชำ จากการสำรวจความรู้เรื่องการใช้ยาของประชาชนในพื้นที่ไม่ถูกต้องจำนวน 5 หลังคาเรือนและสำรวจร้านค้าที่จำหน่ายยาในชุมชน จำนวน 10 ร้าน พบยาปฎิชีวนะ ยาไม่ได้มาตฐาน และผงพิเศษตราร่มชูชีพ จำนวน 2 ร้าน ดังนั้น อาสามัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลบางขุนทอง จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน ปี 2566 เพื่อส่งเสริมการเฝ้าระวังการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน เพื่อให้ประชนชนได้รับความรู้และความเข้าใจในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม และตระหนักถึงโทษของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มียาสเตียรอยด์ผสมรวมถึงได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจปัญหาในการใช้ยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์ของคน ในชุมชน

1.ร้อยละ 80 ประชาชนที่เข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์และการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ

0.00
2 2..เพื่อสำรวจเฝ้าระวังและควบคุมแหล่งกระจายยาที่เป็นปัญหาในชุมชน

ร้อยละ 100 ร้านค้าเป้าหมายที่ไม่ขายยาปฏิชีวนะ และยาสเตียรอยด์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 45
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม อสม.คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ฯ ภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
ประชุม อสม.คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ฯ ภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 22 คนๆละ 1 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 660 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 คณะกรรมการเข้าใจเกณฑ์ในการตรวจร้านชำและการเยี่ยมบ้านในการให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
660.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมพัฒนาศักยภาพประชาชน ให้ความรู้ แกนนำหมู่บ้าน ผู้ประกอบการร้านค้า

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพประชาชน ให้ความรู้ แกนนำหมู่บ้าน ผู้ประกอบการร้านค้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 45 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 คน ๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 400 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ประชาชนมีความเข้าในการใช้ยาและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 3 สำรวจและแนะนำร้านค้าในหมู่บ้านเป้าหมาย เกี่ยวกับการขายยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและแนะนำร้านค้าในหมู่บ้านเป้าหมาย เกี่ยวกับการขายยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่พร้อม อสม. ตรวจร้านค้า /ร้านชำ ในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ร้านค้าไม่มียาปฎิชีวนะขาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,460.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้มากขึ้นในการเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
2.พัฒนาเครือข่ายให้มีความเข็มแข็งมากยิ่งขึ้น
3.ร้านค้า/ร้านชำจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพและได้มารตฐาน


>