กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ศสม.ยะกัง2

นางสาวนุรไอนีย์อูเซ็ง

ตาดีกาดารุลคอย ยะกัง2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคกระดูกและข้อเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยข้อที่พบว่าเป็นปัญหาสุขภาพมากที่สุดคือ ข้อเข่า เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่และต้องรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง ทั้งยังต้องทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่าย โรคข้อเข่าเสื่อมหมายถึงภาวะที่ข้อเข่าเกิดความผิดปกติเนื่องจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงแบบถดถอยซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับอายุที่มากขึ้น และเป็นปัญหาสำคัญของระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยเนื่องจากเป็นโรคข้อที่พบบ่อยที่สุด 1 ใน 10 ของโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพในผู้สูงอายุ อีกทั้งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว อาการผิดปกติของผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรกประกอบด้วย อาการปวดอาจร่วมกับการมีข้อเข่าบวม อาการขัดที่ข้อเข่า โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่ามากขึ้น ในขณะเหยียดและงอข้อเข่าจะมีอาการปวด หรือขัดในข้อมากขึ้น และมีเสียงลั่นในข้อ ซึ่งอธิบายจากการที่ผิวกระดูกภายในข้อเริ่มไม่เรียบและมีกระดูกงอกเกิดขึ้น อาการปวดที่เกิดในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดการปรับตัวด้วยการไม่เหยียดหรืองอข้อเข่าจนสุดเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัด และเคลื่อนไหวไม่เต็มวงของการงอเข่าตามมา เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นหรือข้อที่เสื่อมอักเสบถูกใช้งานมากอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้อาการผิดปกติเหล่านี้เป็นมากขึ้นได้ สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อมมีหลายประการ เช่น ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะที่ก้าวเดิน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน บางรายเคยมีอาการอักเสบ ติดเชื้อหรือเป็นโรคไขข้อบางชนิด
ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อชะลอความเสื่อมของข้อเข่า ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมรวมถึงป้องกันภาวะทุพพลภาพที่อาจจะเกิดตามมาได้ในผู้สูงอายุ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองยะกัง2 จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม” ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การดูแลตนเอง รวมถึงท่าบริหารต่างๆ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวการทำยาพอกเข่าด้วยสมุนไพรและวิธีการใช้ ซึ่งการพอกเข่าด้วยสมุนไพรเป็นการนำสมุนไพรในท้องถิ่นที่มีสรรพคุณเพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการบวม มาพอกบริเวณเข่า ซึ่งเมื่อทำควบคู่กับการบริหารข้อเข่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมก็จะสามารถชะลอความเสื่อมของข้อเข่าและป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดในกลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมและผู้ดูแล 42

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 การจัดอบรมให้ความรู้เชิงปฎิบัติการแก่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมและผู้ดูแล
จำนวน 42 ราย แกนนำอสม.จำนวน 14 ราย เจ้าหน้าที่คณะทำงาน จำนวน 9 ราย 1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าอบรมและคณะทำงานจำนวน 65 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,900 บาท 1.2 ค่าอาหารกลางวันแก่ผู้เข้าอบรมและคณะทำงาน จำนวน 65 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,900 บาท 1.3 ค่าลูกประคบสมุนไพร ขนาด 150 กรัม แก่ผู้เข้าอบรม จำนวน 65 คน x 65 ลูกๆละ 90 บาท เป็นเงิน 5,850 บาท 1.4 ค่าตอบแทนวิทยากร
จำนวน 1 คน × 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท
เป็นเงิน 3,000 บาท 1.3 ค่าป้ายไวนิลขนาด 1 × 3 เมตรๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2024 ถึง 30 กันยายน 2024
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดเพื่อลดระดับความเจ็บปวดของโรคและชะลอระดับความรุนแรงของโรคได้อย่างถูกวิธี


>