กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเลิกบุหรี่และสารเสพติดของผู้ถูกคุมความประพฤติ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา

สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
กรมคุมประพฤติ มีหน้าที่ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นคนดี และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้กระทำความผิดคดีอาญาอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดมีเป็นจำนวนมาก สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา คดีที่เข้าสู่ภารกิจงานคุมประพฤติจำนวน 1300 คดี และผู้ถูกคุมความประพฤติที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองยะลา จำนวน 500 ราย ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 70 เป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และสารชนิดเริ่มต้นให้ติดยาเสพติดคือมาจากลอง สูบบุหรี่ ประกอบกับการขับเคลื่อนเป็นจังหวัดปลอดบุหรี่ ตั้งเป้าลดจำนวนผู้สูบบุหรี่เหลือต่ำกว่า 50,000 คน ภายใน 5 ปี จากผลการสำรวจข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2564 พบว่า จังหวัดยะลา พบการบริโภคยาสูบจัดอยู่ในอันดับที่ 32 ของประเทศ หรือคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 18.4 โดยตั้งแต่ พ.ศ.2534 – 2564 ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ ลดลง จาก 12.2 ล้านคน เป็น 9.9 ล้านคน จากรายงานสรุปการคัดกรองและบำบัดบุหรี่ของประชากร ในปี พ.ศ. 2565 อำเภอเมืองยะลา พบว่าประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ อัตราส่วนร้อยละ 28.98ส่วนในเขตเทศบาลนครยะลา พบว่าประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ อัตราส่วนร้อยละ 1.22(รายงานสรุปการคัดกรองและบำบัดบุหรี่ของประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 3 ปีย้อนหลัง สสจ.ยะลา,2565) เพื่อขับเคลื่อนงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการขับเคลื่อนเป็น “จังหวัดปลอดบุหรี่” โดยใช้กลยุทธ์ในการดำเนินงานตาม5 มาตรการ ประกอบด้วย
1. การขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานควบคุมยาสูบ
2. การบังคับใช้กฎหมาย และสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่
3. การป้องกันนักสูบหน้าใหม่
4. การบำบัดรักษา / การช่วยเลิกสูบ
5. การสร้างมาตรการชุมชนปลอดบุหรี่
การสร้างความเข้มแข็งของการควบคุมยาสูบในระดับจังหวัด การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ การช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ และการป้องกันและคุ้มครองผู้ที่ไม่สูบบุหรี่จากการได้รับควันบุหรี่มือ 2 ซึ่งทั้งหมดนี้ทางสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลาได้เห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนและมีความประสงค์ดำเนินการตามการขับเคลื่อนเป็น “จังหวัดปลอดบุหรี่” โดยใช้กลยุทธ์การบังคับใช้กฎหมาย และสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ การป้องกันนักสูบหน้าใหม่การบำบัดรักษา/การช่วยเลิกสูบการสร้างมาตรการชุมชนปลอดบุหรี่และเป็นหน่วยงานราชการที่มีความมุ่งมั่นในการการขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานควบคุมยาสูบอย่างจริงจัง เพื่อช่วยลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลงให้ได้จากการสำรวจคดีที่เข้าสู่ภารกิจงานคุมประพฤติส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 70 เป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และสารชนิดเริ่มต้นให้ติดยาเสพติดคือมาจากลองสูบบุหรี่ จากนโยบายการขับเคลื่อนเป็นจังหวัดปลอดบุหรี่ ทางสำนักงานฯมีนโยบายที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเลิกบุหรี่ของผู้ ถูกคุมความประพฤติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของจังหวัดยะลา จึงได้จัดโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ถูกคุมความประพฤติ ยังเป็นการป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่และติดสารเสพหน้าใหม่ที่จะเกิดขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ของผู้ถูกคุมความประพฤติ
  1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ100
  2. ลดอัตราการสูบบุหรี่ของผู้ถูกคุมความประพฤติร้อยละ 10
10.00
2 2. เพื่อให้ผู้ถูกคุมความประพฤติมีความรู้และเข้าใจการป้องกันบุหรี่
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจโทษของพิษภัยบุหรี่สารเสพติด ร้อยละ 80
80.00
3 3. เพื่อเพิ่มอัตราการเลิกบุหรี่ของผู้ถูกคุมความประพฤติ โดยไม่กลับไปสูบซ้ำ
  1. อัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จติดต่อกันนานเกิน 6 เดือนโดยไม่กลับไปสูบซ้ำเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ10
10.00
4 1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านงบสนับสนุนของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
  1. ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเพื่อชี้แจงโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ถูกคุมความประพฤติเกี่ยวกับยาเสพติดและบุหรี่ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเพื่อชี้แจงโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ถูกคุมความประพฤติเกี่ยวกับยาเสพติดและบุหรี่ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มกราคม 2566 ถึง 9 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายผู้ถูกคุมความประพฤติ จำนวน 50 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 10 คน รวมเป็น 60 คน ระยะเวลา 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายผู้ถูกคุมความประพฤติ จำนวน 50 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 10 คน รวมเป็น 60 คน ระยะเวลา 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2566 ถึง 17 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16445.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 จัดเสวนาการเลิกบุหรี่และการประกวดบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่และการติดตามการเลิกสูบบุหรี่หลังจากอบรม 2 เดือน จำนวน 50 คน เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน รวมเป็น 60 คน ใช้ระยะเวลาครึ่งวัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 จัดเสวนาการเลิกบุหรี่และการประกวดบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่และการติดตามการเลิกสูบบุหรี่หลังจากอบรม 2 เดือน จำนวน 50 คน เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน รวมเป็น 60 คน ใช้ระยะเวลาครึ่งวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2566 ถึง 29 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,595.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ถูกคุมความประพฤติมีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยสารเสพติด บุหรี่
2. สามารถนำความรู้และวิธีการที่ได้มาประยุกต์ใช้กับตนเองเพื่อเลิกบุหรี่และสารเสพติด
3. มีความรู้เรื่องโทษ อันตรายจากสารเสพติด
4. ผู้ถูกคุมความประพฤติที่สูบบุหรี่มีจำนวนลดลง


>