กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชาวท่าหมอไทร ต้านภัยโรคระบาด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหมอไทร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหมอไทร

หมู่ 8 ตำบลท่าหมอไทร อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละการเกิดโรคระบาดไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าหมอไทร ปี 2565

โรคติดต่อนำโดยยุงลายที่เป็นปัญหาสุขภาพของประชาชน ประกอบด้วย โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ซึ่งทั้ง 3 โรคมี ยุงลายเป็นพาหะนำโรค จากการศึกษาสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกโดยกรมควบคุมโรค พบว่า ปี 2565 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 19,380 ราย เสียชีวิต 17 ราย กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยมากที่สุด คือ 5 -14 ปี รองลงมา 15 - 24 ปี และเด็กแรกเกิด - 4 ปี พบผู้ป่วยกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และจากรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจังหวัดสงขลา พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 32 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.27 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 -14 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 5.99 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาอายุ 15-24 ปี (อัตราป่วย 4.67) และกลุ่มอายุ 0 - 4 ปี (อัตราป่วย 3.07) ตามลำดับ และจากการรายงานสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าหมอไทร อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2565 พบว่า ในปี 2563 มีรายงานผู้ป่วย 9 ราย หมู่บ้านที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือ ม.4 บ้านช้างคลอด จำนวน 3 ราย รองลงมา คือ ม.9 บ้านสะพานหัก จำนวน 2 ราย และปี 2565 มีรายงานผู้ป่วยจำนวน 6 ราย หมู่บ้านที่มีผู้ป่วยมากที่สุด คือ ม.8 บ้านแพร้ว จำนวน 3 ราย รองลงมาคือ ม.3 บ้านโพรงงู จำนวน 2 ราย
ดังนั้นการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลายมีแนวทางการ ดำเนินงาน ประกอบด้วยเฝ้าระวังวิเคราะห์พื้นที่ระบาด สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกพื้นที่ จัดระบบดูแลรักษา การสื่อสารความเสี่ยงในส่วนของการควบคุมโรค เมื่อพบผู้ป่วยต้องมีการกำจัดลูกน้ำยุงลายและกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยด้วยการพ่นสารเคมี ทั้งนี้การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการเตรียมความพร้อมของบุคลากร โดยจะต้องพัฒนาเจ้าหน้าที่พ่นสารเคมีให้มีความรู้และทักษะการใช้งาน การบำรุงรักษา เทคนิคการพ่นสารเคมีควบคุม ยุงลายที่ถูกต้อง และการป้องกันตนเองจากพิษของสารเคมีกำจัดยุงลาย และการเตรียมพร้อมด้านงบประมาณ ด้านป้องกัน และควบคุมโรค การเตรียมพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ต่าง เช่น เครื่องพ่นสารเคมี สารเคมีควบคุมยุงลาย อุปกรณ์ผสมสารเคมี รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสารเคมี ทั้งนี้เพื่อการป้องกัน และควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพและสามารถหยุดการระบาดของโรคได้อย่างทันเหตุการณ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหมอไทรได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้มีการจัดทำโครงการชาวท่าหมอไทร ต้านภัยโรคระบาด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานพ่นสารเคมีจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสาธารณสุข (อสม) มีความรู้เรื่องโรคติดต่อนำโดยยุงลาย เทคนิคการพ่นสารเคมีเพื่อควบคุม และกำจัดยุงลาย ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัยสูงสุดสามารถแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้เลือดออก อีกทั้งยังเป็นการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไปจากหมู่บ้าน ลดโอกาสการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่นด้วย

60.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคติดต่อนำโดยยุงลาย เทคนิคการพ่นสารเคมีเพื่อควบคุม และกำจัดยุงลาย ได้อย่างถูกต้อง

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องโรคติดต่อนำโดยยุงลาย เทคนิคการพ่นสารเคมีเพื่อควบคุมและ กำจัดยุงลาย ได้อย่างถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะการพ่นสารเคมี การผสมสารเคมี การแก้ไขข้อขัดข้องเครื่องพ่นสารเคมี และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องพ่นสารเคมีได้ถูกต้อง

2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะการพ่นสารเคมี การผสมสารเคมี การแก้ไขข้อขัดข้องเครื่องพ่นสารเคมี และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องพ่นสารเคมีได้ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 70

90.00 70.00
3 3.เพื่อให้หมู่บ้านในกลุ่มเป้าหมายมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HICI) ลดลง

3.สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HICI) ไม่เกินร้อยละ 10

20.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมแผนงาน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมแผนงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเจ้าหน้าที่คณะทำงาน จำนวน 6 คน เพื่อพูดคุย ปรึกษาหารือสำหรับแนวทางในการทำงานและวางแผนการดำเนินงาน (- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 6 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 150 บาท )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมการประชุมทุกคนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะวิธีการในการดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้และเข้าใจวิธีการดำเนินงานในทุกขั้นตอน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
150.00

กิจกรรมที่ 2 2.ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
2.ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดประชาสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายในชุมชน โดยให้อสม. เป็นผู้กระจายข้อมูลข่าวสารและคัดเลือกบุคคลที่เป็นกลุ่มเป่าหมายตามโครงการเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมแจ้งวัน เวลาและสถานที่ในการจัดกิจกรรมให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
  • ประสานกับพื้นที่เป้าหมายเพื่อเตรียมการวางแผนการดำเนินงานและขออนุญาตใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้กลุ่มเป้าหมายตามที่กำหนดและมีการเข้าร่วมโครงการตามวัน เวลาดังกล่าว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3.เตรียมสื่ออุปกรณ์และวัสดุในการจัดกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
3.เตรียมสื่ออุปกรณ์และวัสดุในการจัดกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำเอกสารในการจัดกิจกรรมและเตรียมอุปกรณ์สำหรับการจัดอบรมให้ความรู้และการพ่นหมอกควันยุงลายในชุมชน
1.ค่าวัสดุอุปกรณ์/สื่อประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 1,250 บาท    3.1เอกสารการอบรม จำนวน 25 ชุด ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 750 บาท     - แบบทดสอบ Pre test-Post test จำนวน 25 ชุด ๆละ 10 บาท เป็นเงิน 250 บาท     - แฟ้มสะสมผลงาน จำนวน 25 ชิ้น ๆละ  10 บาท เป็นเงิน 250 บาท     - ปากกา จำนวน 25 ชิ้น ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 250 บาท
   3.2 ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท 2.ทรายเอเธนส์ กำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 1 ถัง ราคาถังละ 2,700 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท 3.น้ำยาฉีดพ่นหมอกควันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ขนาด 1 ลิตร จำนวน 3 ขวด ราคาขวดละ 980 บาท เป็นเงิน 2,940  บาท 4. หน้ากากอนามัย N95 สำหรับพ่นหมอกควัน จำนวน 25 ชิ้น ราคาชิ้นละ 45 บาท เป็นเงิน 1,125 บาท
5. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (เบนซิน) จำนวน 20 ลิตร ราคาลิตรละ 47 บาท เป็นเงิน 940 บาท 6. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (โซล่า) จำนวน 100 ลิตร ราคาลิตรละ 45 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท 7. ถ่านพานาโซนิค ขนาด D จำนวน 1 กล่อง ราคากล่องละ 745 บาท เป็นเงิน 745 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะการพ่นสารเคมี การผสมสารเคมี การแก้ไขข้อขัดข้องเครื่องพ่นสารเคมี และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องพ่นสารเคมีได้ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14200.00

กิจกรรมที่ 4 4.กิจกรรมเสริมสร้างความรู้และทักษะการใช้เครืองพ่นหมอกควันยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
4.กิจกรรมเสริมสร้างความรู้และทักษะการใช้เครืองพ่นหมอกควันยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดกิจกรรมให้ความรู้พื้นฐานแก่กลุ่มเป้าหมาย
•  โรคที่มียุงลายเป็นพาหะ
•  ความรู้เรื่องสารเคมีกำจัดแมลงและการป้องกั •  อันตรายจากสารเคมี ทั้งตนเองและชุมชน •  เทคนิคการเตรียมชุมชน และเทคนิคการพ่นสารเคมี การผสมสารเคมี การแก้ไขข้อขัดข้องเครื่องพ่นสารเคมี และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องพ่นสารเคมีชนิดต่าง ๆ -จัดกิจกรรมควบคุมป้องกันโรค โดยการให้กลุ่มเป้าหมายฝึกการฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในหมู่ที่ 8 บ้านแพร้ว จำนวน 65 หลังคาเรือน พร้อมทั้งสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน

(-ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ  จำนวน 25 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1250 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000 บาท )


รวม  5,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องโรคติดต่อนำโดยยุงลาย เทคนิคการพ่นสารเคมีเพื่อควบคุมและกำจัดยุงลายได้อย่างถูกต้อง ทักษะเทคนิคการเตรียมชุมชน เทคนิคการพ่นสารเคมี การผสมสารเคมี การแก้ไขข้อขัดข้องเครื่องพ่นสารเคมี และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องพ่นสารเคมีชนิด  ต่าง ๆ พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนแนว ทางแก้ไข อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 5 5.สรุปและประเมินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
5.สรุปและประเมินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานเพื่อดำเนินการสรุปโครงการตามที่ได้จัดทำ (- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 6 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 150 บาท )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การจัดกิจกรรมดำเนินการไปได้ด้วยดีตามแผนงานที่วางไว้ และได้รับผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างครบถ้วน กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดี และปลอดภัยจากสารเคมี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบความรู้โรคติดต่อนำโดยยุงลาย เทคนิคการพ่นสารเคมีเพื่อควบคุมและกำจัดยุงลายได้อย่างถูกต้อง
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะเทคนิคการเตรียมชุมชน เทคนิคการพ่นสารเคมี การผสมสารเคมี การแก้ไขข้อขัดข้องเครื่องพ่นสารเคมี และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องพ่นสารเคมีชนิด
3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนแนว ทางแก้ไข อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องการใช้ทรายอะเบทที่ถูกต้อง


>