กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง อายุ 35 -59 ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านชะรัด

1.นายสมนึก ทองรอด
2.นางพนารัตน์ คำทรา
3.นางไหม หมาดเกื้อ
4.นายยููสุบ ยาชะรัด
5.นางสมบัติ เกื้อสุทธิ์ุ

หมู่ที่ 4 - 9 ตำบลชะรัด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

16.46
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

23.16

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม
จากสถานการณ์โรคเรื้อรังในปี พ.ศ.2565 ในพื้นที่ 6 หมู่บ้าน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัดมีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 445 รายโรคเบาหวาน 227 ราย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 185 รายและจากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เมื่อช่วงเดือน ตุลาคม 2565 - เดือน พฤศจิกายน 2565 ในกลุ่ม อายุ 35-59 ปี เป้าหมาย 1,075 คน พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 177 คน คิดเป็น ร้อยละ 16.46 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงจำนวน 249 คนคิดเป็นร้อยละ 23.16 ซึ่งจากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา พบว่า 1.สาเหตุจากปัจเจกบุคคล เช่น กลุ่มเสี่ยงขาดความรู้และมีพฤติกรรมไม่ถูกต้องในการป้องกันโรค การกิน/การออกกำลังกาย 2.สาเหตุจากสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เช่น ชอบซื้อแกงถุงมาบริโภค ซึ่งในชุมชนมีร้านสะดวกซื้อ ร้านเครื่องดื่ม อาหารตามสั่ง ร้านน้ำชา กาแฟในชุมชน จำนวน 20 ร้าน มีตลาดนัดมีทุกวัน จำหน่ายอาหารหวาน มันเค็ม ของทอด จำนวน 4 ตลาด ไม่นิยมปลูกผักกินเอง ซื้อผักจากตลาดมีสารเคมีปนเปื้อน สถานที่ออกกำลังกายไม่เอื้อ ในชุมชนมีสถานที่ออกกำลังกาย ในชุมชนมีสถานที่ออกกำลังกาย 6 แห่ง การรวมตัวออกกำลังกายมีน้อย ชุมชนไม่เข้มแข็งในการจัดการเรื่องนี้ ไม่มีกติกา/นโยบายสาธารณะ และ 3.สาเหตุจากระบบ/กลไกที่เกี่ยวข้อง เช่น อสม.ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ยัง ไม่บูรณาการร่วมกับ พชต.
ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสังคม คือเพิ่มภาระการดูแลครอบครัว/สังคม ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ มีค่ารักษาพยาบาลในการดูแล และมีค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมป้องกันโรค ผลกระทบต่อสุขภาพ ปี 2565 มีผู้ป่วยใหม่ จำนวน 52 คน ตาย 6 คน และมีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี
ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด ได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการเฝ้าระวัง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ปี 2566 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด แบบองค์รวม และเกิดการบูรณาการในการดูแลตนเองได้ สามารถควบคุม และลดอัตราการป่วยได้ จึงขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงอายุ 35-59 ปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

16.46 10.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

23.16 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,075
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน ทั้ง 6 หมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วย อสม.หมู่ละ 2 คน,จนท.รับผิดชอบ 1 คน,ที่ปรึกษา 1 คน รวม 14 คน โดยจัดประชุม เพื่อชี้แจงแนวทาง/รูปแบบการบันทึกข้อมูลการติดตามในการดำเนินงานคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต แก่กลุ่มเสี่ยงในชุมชน กำหนดเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงของแต่ละหมู่บ้าน พร้อมหาข้อสรุปช่องทางการรายงานผลต่อ รพ.สต. งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 บาท X 14 คน เป็นเงิน 280 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มกราคม 2566 ถึง 9 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1ได้กลุ่มเสี่ยงเป้าหมายที่ต้องเฝ้าระวังติดตาม
2 ได้รูปแบบการบันทึกข้อมูลการติดตาม
3 ได้ช่องทางรายงานผลต่อ รพสต.
4 ได้ผู้แทน อสม.เป็นกลไกดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
280.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมฟื้นฟูการใช้อุปกรณ์แก่ อสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟูการใช้อุปกรณ์แก่ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
จัดอบรมฟื้นฟูความรู้การใช้อุปกรณ์ในการคัดกรองแก่ อสม.ทุกคน พร้อมชี้แจงแนงทางการดำเนินงานตามโครงการ /การบันทึกและรายงานผลการคัดกรองแก่ รพ.สต. งบประมาณ
-เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน ุ5 เครื่องๆละ 2,000 บาทเป็นเงิน 10,000 บาท
-สายวัดรอบเอว จำนวน 6 อันๆละ 200บาทเป็นเงิน1,200 บาท
-ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ จำนวน 100 คน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 9 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 ซื้อวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินงานจำนวน....รายการ
2.กลไกดำเนินงานมีความรู้เข้าใจและสามารถใช้อุปกรณ์ได้ถูกต้อง
3 กลไกดำเนินงานรู้และเข้าใจรายละเอียดโครงการ
4 รู้และเข้าใจการรายงานผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14100.00

กิจกรรมที่ 3 ดำเนินการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
อสม.ร่วมกับ จนท.ลงพื้นที่คัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง อายุ 15 ปี ขึ้นไป ที่ศาลาหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้าน พร้อมให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แก่กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และเฝ้าระวังนัดมาตรวจซ้ำ งบประมาณ
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง อายุ 35 ปี - 59 ปี ได้รับการคัดกรอง...คน
2.ร้อยละกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการดูแล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลคัดเลือกบุคคลต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลคัดเลือกบุคคลต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน จำนวน 14 คนเพื่อประเมินผลจากการคัดกรองเพื่อคัดเลือกบุคคลต้นแบบที่มีผลเลือด/ค่าความดันปกติ หมู่บ้านละ 5 คน รวม 30 คน นัดมาสัมภาษณ์ในเรื่องพฤติกรรมการกิน/การออกกำลังกาย/อื่นๆที่ส่งผลต่อการป้องกันโรคได้ดี พร้อมมอบเกียรติบัตร ในเวทีประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการคัดกรองไปแจ้งให้ชาวบ้านทราบ
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 20 บาท X 44 คน เป็นเงิน 880 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มิถุนายน 2566 ถึง 9 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 ได้สถานการณ์ความก้าวหน้าและผลลัพธ์การดูแลกลุ่มเสี่ยง
2 ได้บุคคลต้นแบบ
3 ได้ปัจจัยความสำเร็จ
- จากต้นแบบ
- จากกลไกดำเนินการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
880.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะทำงานประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน จำนวน 14 คน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ และรายงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลชะรัดทราบต่อไป
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 14 คน ๆละ 20 บาท เป็นเงิน 280 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2566 ถึง 10 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการติดตาม
  2. ปัญหาอุปสรรค
  3. ปัจจัยความสำเร็จ
  4. บุคคลต้นแบบ(คืนข้อมูลบุคคลต้นแบบแก่ชุมชน/ในที่ประชุม อสม.)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
280.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,540.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง
2.ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง
3.มีบุคคลต้นแบบในการควบคุมป้องกันโรคได้ดี


>