กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

ศูนย์การเรียนรู้และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

1. นายนุ้ย เชิดชู
2. นายเจ๊ะดาโอ๊ะ เจ๊ะอาแซ
3. นายบุญ หะยะมิน
4. นายดอเล๊าะ นุดดี
5. นางกิ่ง ทองบุญเรือง

ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไทย ทำให้ลดอัตราการเพิ่มประชากรได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มอย่างรวดเร็วกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุมีการเสื่อมถอยของอวัยวะของร่างกาย อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เกิดจากสภาพแวดล้อมและการดำรงชีวิตที่ผ่านมาของผู้สูงอายุคนนั้นการจะให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องยากในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุจะมีภูมิต้านทานโรคน้อยกว่าวัยอื่นผู้สูงอายุจึงมีโอกาสเจ็บป่วยมากกว่าวัยอื่นๆ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเริ่ม ตั้งแต่สุขภาพยังไม่ทรุดโทรมมาก และทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง ศูนย์การเรียนรู้และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีชมรมผู้สูงอายุจำนวน 4 ชมรม โดยการรวมตัวกันของกลุ่มผู้สูงอายุในแต่ละหมู่บ้าน ซึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันและเป็นการพัฒนาจิตใจให้ผู้สูงอายุมีความสดชื่นเบิกบาน กลุ่มผู้สูงอายุในตำบลบางขุนทองแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มติดเตียง ติดบ้าน และติดสังคม จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ปี 2566 ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่มมีความรู้และสามารถดูแลตนเองตามหลัก 6 อ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ร้อยละ 88

0.00
2 เพื่อให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพตามสิทธิประโยชน์และได้รับการดูแลด้านสุขภาพจากเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง

ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรม พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมชมรม มากกว่าร้อยละ 60

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 180
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ อสม. ในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ อสม. ในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับ อสม.ที่ออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง จำนวน 57 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,850บาท
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับ อสม.ที่ออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง จำนวน 57คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,850 บาท รวมเป็นเงิน 5,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. สามารถส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียงได้เวลาออกเยี่ยมบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยหลักการ 6 อ ในชมรมผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยหลักการ 6 อ ในชมรมผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมบรรยายธรรมแก่ผู้สูงอายุ -ค่าวิทยากรบรรยายธรรม จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 180 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 9,000 บาท
กิจกรรมฝึกอบรมอาชีพแก่ผู้สูงอายุ
- ค่าวิทยากรฝึกอบรมอาชีพ จำนวน 1 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
-ค่าอาหารว่าและเครื่องดื่ม จำนวน 180 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 180 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
รวมเป็นเงิน 19,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สูงอายุมีความรูเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพด้วยหลัก 6อ ได้พบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และกิจกรรมพอกเข่าสมุนไพรในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และกิจกรรมพอกเข่าสมุนไพรในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถนำกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้
-ค่าวิทยากร 500 บาท - ค่าอุปกรณ์พอกเข่า 700 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 180 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท รวมเป็นเงิน 5,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ เข้าใจ และนำทักษะที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. สมาชิกชมรมผู้สูงอายุได้รับความพึ่งพอใจในการจัดบริการ
3. สร้างขวัญกำลังใจให้ผู้สูงอายุเข้มแข็ง สามารถเข้าร่วมและดำเนินกิจกรรมชมรมได้อย่างต่อเนื่อง


>