กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลเรื้อรัง (NCDs)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบในหลายด้าน ถือเป็นภัยเงียบระดับชาติและเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข กลุ่มโรคดังกล่าวนี้มีสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย ข้อมูลองค์การอนามัยโลก ระบุประชากรทั่วโลกเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร้อยละ 63 และที่สำคัญเป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนาถึงร้อยละ 80 ขณะที่คนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคนี้สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของประชากรทั้งโลกถึงร้อยละ 10 และสูงกว่าทุกประเทศในโลก การดำเนินการงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในปัจจุบัน ได้มีหลากหลายแนวคิดการดำเนินการ เช่น แนวทางการปฏิบัติงานตามองค์การอนามัยโลก แนวทางการปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุขตามคู่มือการปฏิบัติงานป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพใช้หลัก 3อ. 2ส. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากการสำรวจข้อมูลชุมชน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ขาดการออกกำลังกาย และจากการคัดกรองการบริโภคหวาน มัน เค็ม ในครัวเรือนด้วยวาจา พบว่า ในแต่ละครัวเรือนเน้นการปรุงอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิตมีประชากรในพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมดจำนวน 6,969 คน ป่วยเป็นโรคเรื้อรังทั้งหมด 771 คน คิดเป็นร้อยละ 11.06 แยกเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 487 คน คิดเป็นร้อยละ 6.98 โรคเบาหวาน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 0.51 เป็นทั้งโรคความดันและเบาหวานจำนวน 248 คน คิดเป็นร้อยละ 3.55 และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนที่สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพแก่ประชาชนและ การออกกำลังกาย
จากปัญหาข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหา ควบคุม รักษา หรือส่งเสริมดำรงคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี และการปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน ให้มีการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการ “สร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลเรื้อรัง (NCDs)” เพื่อให้เกิดการส่งเสริมและการป้องกันปัญหาทางสุขภาพในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง สาเหตุ อาการ การรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง
  1. ร้อยละ 90 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเรื้อรัง สาเหตุ อาการ การรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง
70.00
2 2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยลดหวาน มัน เค็ม ของประชาชน
  1. ร้อยละ 90 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการบริโภคอาหารโดยลดหวาน มัน เค็ม
70.00
3 3. เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในครอบครัวและชุมชน
  1. มีการออกกำลังกายในครอบครัวและชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจค้ดกรองประเมินสุขภาพ เบื้องต้น ได้แก่ วัดความดัน ชังน้ำหนักวัดรอบเอว คัดกรองสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
การตรวจค้ดกรองประเมินสุขภาพ เบื้องต้น ได้แก่ วัดความดัน ชังน้ำหนักวัดรอบเอว คัดกรองสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การตรวจคัดกรองประเมินสุขภาพเบื้องต้น ได้เเก่ วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว คัดกรองสุขภาพจิต

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

.ร้อยละ ๙๐ ของกลุ่มเสี่ยง สามารถปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค อาหารเพื่อลดโรค และสาธิตวิธีการ ออกกำลังกายที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค อาหารเพื่อลดโรค และสาธิตวิธีการ ออกกำลังกายที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คน x 25 บาท x 2 มื้อ
เป็นเงิน3,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คน x 60 บาท x 1 มื้อ
นเงิน4,200 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท x 6 ชั่วโมง ป็นเงิน 3,600บาท -ค่าวัสดุประชาสัมพันธ์และโฆษณา (ป้ายไวนิล) 1.5 x 2เมตร เป็นเงิน 750
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดโครกงาร 70 ชุด *70 บาท เป็นเงิน 4,900

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ ๙๐ ของกลุ่มเสี่ยง มีความรูความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง (NCDs)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเรื้อรัง สาเหตุ อาการ การรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง และสามารถดูแลตนเองได้
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการบริโภคอาหารโดยลดหวาน มัน เค็ม
3. มีการออกกำลังกายของกลุ่มเสี่ยงในครอบครัวและชุมชนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
4. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ในครอบครัวและชุมชนของตัวเองได้


>