กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

หน่วยบริการปฐมภูมิสถานพยาบาลเรือนจำกลางยะลา

เรือนจำกลางยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
จากข้อมูลสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรค ที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง และทำให้อายุไขของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลกสาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลก
ปัจจุบันเรือนจำกลางยะลา พบกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นจำนวนมาก ผู้ต้องขังทั้งหมด จำนวน 1,830 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2565) ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 82 คน คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 4.5และจากการจัดลำดับความชุก 10 อันดับโรคของผู้ต้องขังพบว่า ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จัดอยู่ในอันดับที่ 1จำนวน 35 คน และรองลงมาคือผู้ต้องขังป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวานจำนวน 30 คน ซึ่งพบจำนวนสูงสุดในกลุ่มผู้ต้องขัง อายุ 35 ปี ขึ้นไป และ จากข้อมูลการคัดกรองโรคติดต่อและไม่ติดต่อเรื้อรังในเรือนจำกลางยะลา ปีงบประมาณ 2565 โดยโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญและจัดการความเครียดแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำกลางยะลา มีผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ จำนวน 135 คน พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 4 คนและเบาหวาน 2 คน รวม 6 คนซึ่งขณะนี้ ได้เข้าสู่กระบวนการรักษาเป็นที่เรียบร้อย ทั้งนี้ ยังมีผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 129 คน ที่สถานพยาบาลเรือนจำกลางยะลา ยังคงต้องติดตามต่อเนื่องเพื่อลดจำนวนการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ เพราะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่ทำให้สูญเสียชีวิตทันที แต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อผู้ต้องขังป่วยมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านความสามารถหรือมีความพิการหรือเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร
สถานพยาบาลเรือนจำกลางยะลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลป้องกันก่อนการเกิดโรคดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ผู้ต้องขังเรือนจำกลางยะลา ห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้ผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ไปใช้ในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกวิธี แบบพึ่งพาตนเอง ลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา ผู้ต้องขังสามารถควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตได้ รวมทั้งลดความรุนแรงและการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนเพิ่มความตระหนักในการดูแลตนเอง และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายหลักของกระทรวงสาธารณสุข ที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เข้าร่วมโครงการและมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร้อยละ 80
80.00
2 2. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่
  1. จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลดลงร้อยละ 10
10.00
3 4. ผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการ ร้อยละ 80
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเรือนจำนวน 150 คน แบ่งเป็น 3 รุ่นๆ ละ 50 คนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรุ่นล่ะ 10 คน รวม 180 คน ระยะเวลาดำเนินการ 3 วั

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเรือนจำนวน 150 คน แบ่งเป็น 3 รุ่นๆ ละ 50 คนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรุ่นล่ะ 10 คน รวม 180 คน ระยะเวลาดำเนินการ 3 วั
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 9 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37190.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ประเมินติดตามระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตของผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยง 1 เดือน และ 6 เดือน หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ประเมินติดตามระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตของผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยง 1 เดือน และ 6 เดือน หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,190.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยง มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2.ลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่
3.สร้างโอกาสให้กลุ่มผู้ต้องขังเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพอนามัยของตนเอง


>