กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของรพ.สตบ้านลำชิง ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

รพ.สต.บ้านลำชิง

รพ .สต.บ้านลำชิง ตำบลคลองทราย อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

10.60
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

29.80
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

30.50
4 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

55.00

ด้วยปัจจุบันสถานการณ์ผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีช่วงระยะเวลา 1 ตุลาคม 2565 - 31 มกราคม 2566 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง รายใหม่จำนวน7 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน6 คนซึ่งโรคเหล่านี้เมื่อเป็นแล้ว ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลต้องรับมีภาระค่าใช้จ่าย รพ.สต.บ้านลำชิงมีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานปี 2566 จำนวน 234 คน กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 112 คน หากกลุ่มเหล่านี้ไมีมีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในกาส่งเสริมป้องกันโรค อาจส่งผลให้เป็นผู้ป่วยรายใหม่ได้ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขึ้น เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

55.00 56.00
2 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

10.60 6.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

29.80 25.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

30.50 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/03/2023

กำหนดเสร็จ 20/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างแก่กลุ่มเป้าหมาย (ให้ความรู้ 2 ครั้ง/1 กลุ่ม ทั้งหมดจำนวน 4 กลุ่ม) จำนวน 90 คน *ครั้ง *30 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท

2.ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 เมตร * 2.4 เมตร จำนวน 1 แผ่นเป็นเงิน 500 บาท

3.ค่าตอบแทนวิทยากร 2ชม. * 600 บาท* 8ครั้ง * 4 กลุ่มเป็นเงิน 9,600บาท (รวม 16 ชั่วโมง)

4.ค่าสมุดคู่มือ เอกสารความรู้และอุปกรณ์ต่างๆเป็นเงิน 4,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2566 ถึง 20 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวานได้รับการอบรม จำนวน 50คน

2.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน กลับเป็นกลุ่มปกติ จำนวน 30 คน

3.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการอบรมจำนวน 40 คน

4.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลับเป็นกลุ่มปกติ จำนวน 20 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20050.00

กิจกรรมที่ 2 อสม.เยี่ยมบ้านติดตามประเมินตรวจวัดความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
อสม.เยี่ยมบ้านติดตามประเมินตรวจวัดความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล จำนวน 4 เครื่อง * 3,500 บาทเป็นเงิน 14,000 บาท

2.ค่าเครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 2 เครื่อง * 3,500 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท

3.ค่าแผ่นทดสอบค่าระดับน้ำตาล กล่องละ 25 แผ่น * 5 กล่อง * 600 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท

4.ค่าเข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว กล่องละ 200 ชิ้น * 1 กล่อง *1,000 บาทเ ป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2566 ถึง 20 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้รับการติดตามเจาะเลือดที่ปลายนิ้วมือคนละ 2 ครั้ง

2.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานระดับน้ำตาลในครั้งที่ 2 ต่ำกว่า 100 mg/dl จำนวน 50 คน

3.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิต คนละ 2ครั้ง

4.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีระดับความดันโลหิต น้อยกว่า 130/90 มม.ปรอทจำนวน 20 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

กิจกรรมที่ 3 เชิดชูบุคคลต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
เชิดชูบุคคลต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ธงประกาศเกียรติคุณจำนวน 50 ใบ * 75บาท เป็นเงิน 3,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีบุคคลต้นแบบจำนวน 90 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,800.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเสียงโรคเบาหวานลดลง

2.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงลดลง


>