กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าพง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

โรงเรียนบ้านท่าพง

นางสาววรินดา จาปัง
นางเจ๊ะคอดีย๊ะ อาแว
นางสาวซูฮัยณี นิสะนิ
นางสาวยามีลา มะแซ
นายปัทวี วิยานันต์

ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ

 

70.00
2 ร้อยละของผู้ปกครองนักเรียนที่ไม่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กวัยเรียน

 

70.00
3 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

60.00
4 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

60.00
5 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะอ้วน

 

50.00
6 ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง อ้วนอันตราย

 

50.00
7 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ

 

60.00

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (well-being)ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม สติปัญญา และมิติของคน ครอบครัวและสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากเด็กปฐมวัยเรียน อายุ 3-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาและเป็นวัยแห่งการเรียนรู้การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ถ้านักเรียนมีสุขภาพดีจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี การที่ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุข การส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้แก่นักเรียน เป็นกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นมากในโรงเรียน เพราะการที่เด็กและเยาวชนมีสุขภาพกายและจิตที่ดีนั้นเป็นสิทธิข้างต้นของนักเรียนที่สมควรได้รับ เพื่อส่งเสริมการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่นต่อไป
ด้วยเหตุนี้โรงเรียนบ้านท่าพงเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าพงขึ้นเพื่อร่วมมือกันส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีให้แก่นักเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจสามารถเลือกบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ มีการปลูกฝังสุขนิสัยเพื่อปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดปริมาณนักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ

นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าพงมีสุขภาพกายที่ดีขึ้น

70.00 30.00
2 ลดปริมาณผู้ปกครองนักเรียนที่ไม่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กวัยเรียน

ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้และให้ความร่วมมือในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน

70.00 30.00
3 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

60.00 70.00
4 เพื่อลดภาวะทุพโภชนกาารของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

60.00 70.00
5 ลดภาวะอ้วน ของเด็ก 6-14 ปี

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะอ้วน

50.00 60.00
6 ลดจำนวนคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ (ประจำคือมากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ

60.00 70.00
7 ลดภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง อ้วนอันตรายของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี)

ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง อ้วนอันตราย

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 41
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 92
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าพง 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมการดูแลสุขภาพและการปฐมพยาบาลแก่ผู้ปกครองและนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมการดูแลสุขภาพและการปฐมพยาบาลแก่ผู้ปกครองและนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมการดูแลสุขภาพและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้ปกครองและนักเรียน
1. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาทจำนวน 3 ชั่วโมงจำนวน 2 คน เป็นเงิน 3600 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (183 คน × 25 บาท× 2 มื้อ) เป็นเงิน 9,150 บาท - นักเรียน จำนวน 133 คน
- ผู้ปกครอง จำนวน 50 คน
3. ค่าอาหารกลางวัน (50 คน ×50 บาท× 1 มื้อ) เป็นเงิน 2,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2566 ถึง 2 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 60 ของนักเรียน และผู้ปกครองจำนวน 183 คน ได้รับความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพและการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อการสอน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อการสอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ 1. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำสื่อการสอนด้านโภชนาการ เป็นเงิน 3,000 บาท 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำสื่อการสอนด้านการปฐมพยาบาล เป็นเงิน 3,000 บาท 3. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ 1 x 4 เมตร เป็นเงิน 900 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 สื่อที่ใช้ในการสอนด้านโภชนาการและการปฐมพยาบาล สามารถทำให้เด็กนักเรียนและผู้ปกครองได้รับประโยชน์และนำไปใช้ในชึวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการติดตามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักเรียนและผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการติดตามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักเรียนและผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สังเกต/ประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักเรียนและผู้ปกครอง
  2. บันทึก/ประเมินสุขภาพนักเรียน
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 60 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักเรียนและผู้ปกครองอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นจากเดิม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าพงมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง
2. นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าพงมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพ
3. ผู้ปกครองนักเรียนให้ความร่วมมือในการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าพงเป็นอย่างดี


>