กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ

1. นางสาวธีราพร ตาดำ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร. 081 539 4916

เทศบาลเมืองคอหงส์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของพนักงานเทศบาลและชุมชนมีความพร้อมในการรับมือกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

 

30.00
2 ร้อยละของวัสดุ อุปกรณ์ ในการป้องกันและควบคุมกรณีเกิดโรคระบาด/ ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

 

20.00
3 ร้อยละของพนักงานเทศบาลและประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการดูแลกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ

 

30.00

การเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงได้ด้วยวิธีการป้องกันควบคุมโรคอย่างเป็นระบบถูกวิธี รวดเร็ว และด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ มีความสำคัญเพราะนอกจากทำให้เจ็บป่วยเสียชีวิตแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง เช่น การเกิดโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอุจาระร่วง โรคโควิด-19 โรคอื่นที่อุบัติใหม่ และภัยพิบัติ เช่น การเกิดอุทกภัยการเกิดหมอกควัน เป็นต้น ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมากและในปัจจุบันโรคติดต่อมีแนวโน้มที่จะพบโรคระบาดบ่อยขึ้น ความรุนแรงเพิ่มขึ้นและมีโรคชนิดใหม่ ๆ มากขึ้นเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเห็นได้จากจำนวนบ้านที่มากขึ้นเขตเมืองมีประชากรหนาแน่น และมีชุมชนแออัดขึ้นประชาชนจึงติดโรคง่าย แต่ป้องกันโรคยากกว่าเดิมการคมนาคมสะดวกรวดเร็วขึ้นทั้งถนนหนทางที่ทันสมัยและการเดินทางโดยเครื่องบินทำให้เชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศสามารถเข้าถึงหมู่บ้านเล็ก ๆ ได้ภายในไม่กี่วัน จากเดิมต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปีมีแหล่งรังโรคร่วมกันมากขึ้นเช่นกินอาหารที่ร้านเดียวกันซื้ออาหารจากตลาดหรือโรงงานอาหารเดียวกันใช้น้ำจากระบบประปาเหมือนกันไปเรียนในโรงเรียนเดียวกัน ได้รับควันพิษจากโรงงานแห่งเดียวกันเป็นต้น ทั้งนี้ จังหวัดสงขลา มีสนามบินนานาชาติรวมทั้งยังเป็นรอยต่อระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้มีประชากรในการเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศสูง ทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของโรคได้มากขึ้น งานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์ จึงตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อตอบโต้ต่อสถานการณ์การเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

ร้อยละของพนักงานเทศบาลและชุมชนมีความพร้อมในการรับมือกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

30.00 90.00
2 เพื่อให้มีวัสดุ อุปกรณ์ ในการป้องกันและควบคุมกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

ร้อยละของวัสดุ อุปกรณ์ ในการป้องกันและควบคุมกรณีเกิดโรคระบาด/ ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์มีเพียงพอ

20.00 100.00
3 เพื่อให้พนักงานเทศบาลและประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการดูแลกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ อย่างทั่วถึง

ร้อยละของพนักงานเทศบาลและประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการดูแลกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ เพิ่มขึ้น

70.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ป้องกันและควบคุมโรคที่มากับน้ำท่วม

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันและควบคุมโรคที่มากับน้ำท่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • รณรงค์ ให้ความรู้ กับพนักงานเทศบาลและประชาชนในพื้นที่ เกี่ยวกับการเกิดโรค การแพร่ระบาดของโรค การป้องกันและควบคุมโรค ฯลฯ
  • ยับยั้ง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากน้ำท่วม ให้กับพนักงานเทศบาลและประชาชนในพื้นที่

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าวัสดุเครื่องแต่งกาย เช่น รองเท้าบูท ถุงมือยาง ฯลฯ เป็นเงิน 15,000 บาท
2. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ เช่น ยา เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ฯลฯ เป็นเงิน 85,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีอุปกรณ์เพียงพอ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

กิจกรรมที่ 2 ป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากหมอกควัน รวมทั้งฝุ่น PM 2.5 และโรคระบาดเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยในการป้องกัน

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากหมอกควัน รวมทั้งฝุ่น PM 2.5 และโรคระบาดเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยในการป้องกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • รณรงค์ ให้ความรู้ กับพนักงานเทศบาลและประชาชนในพื้นที่ เกี่ยวกับการเกิดโรค การแพร่ระบาดของโรค การป้องกันและควบคุมโรค
  • ยับยั้ง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากหมอกควันหรือฝุ่น PM 2.5 และโรคที่จำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยในการป้องกันให้กับพนักงานเทศบาลและประชาชนในพื้นที่

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าวัสดุที่ใช้ในการป้องกันหมอกควัน ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น หน้ากากอนามัย แว่นตากันสารเคมี ฯลฯ เป็นเงิน 70,000 บาท
2. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ เช่น ยา เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
75000.00

กิจกรรมที่ 3 ป้องกันและควบคุมโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ฯลฯ

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันและควบคุมโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ฯลฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • รณรงค์ ให้ความรู้ กับพนักงานเทศบาลและประชาชนในพื้นที่ เกี่ยวกับการเกิดโรค การแพร่ระบาดของโรค การป้องกันและควบคุมโรค ฯลฯ
  • ทำความสะอาดในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ เพื่อป้องกัน บำบัดโรค ใช้ระงับโรคติดต่อในพื้นที่ ฯลฯ
  • ยับยั้ง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรค เช่น กิจกรรมฉีดวัคซีน กิจกรรมการตรวจเชิงรุกกับกลุ่มแรงงานต่างชาติในพื้นที่ร่วมกับสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่และโรงพยาบาลหาดใหญ่ ฯลฯ
  • ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางเทศบาลเมืองคอหงส์หรือในพื้นที่จัดขึ้น เช่น การเลือกตั้ง งานแต่งงาน ฯลฯ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องแต่งกาย เช่น ชุดป้องกันการติดเชื้อหรือชุดป้องกันสารเคมี ถุงมือ ฯลฯ เป็นเงิน 20,000 บาท
2. ค่าครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ ถังเครื่องละอองฝอย ULV กระติกเก็บความเย็น ฯลฯ เป็นเงิน 20,000 บาท
3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรค เช่น หน้ากากอนามัย surgical mask N95 ฯลฯ เป็นเงิน 15,000 บาท
4. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ เช่น ยา เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ น้ำยาฆ่าเชื้อ เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
5. ค่าสถานที่ อาหาร และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับกักตัวกลุ่มเสี่ยงสูงในพื้นที่ (LQ) เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
75000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 250,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. พนักงานเทศบาลและประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการดูแลกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ อย่างทั่วถึง
2. มีการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์
3. เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกันกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมสามารถตอบโต้สถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที


>