กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการของครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้านพื้นที่ต้นแบบ ตำบลพิมาน อ.เมือง จ.สตูล

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการของครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้านพื้นที่ต้นแบบ ตำบลพิมาน อ.เมือง จ.สตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สตูล

นส.ธัญพร สมันตรัฐ พยาบาลวิชาชีพ
โทร 064-2396455
2.นางสาวปฤษณา สิตะรุโณ นักวิชาการสาธารณสุข
3.นายพิชญ์ อุไร นักวิชาการสาธารณสุข

ตำบล พิมาน อำเภอเมืองสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์การป่วยและตายของมารดาและเด็ก ๆ เป็นตัวชี้วัดสภาวะสุขภาพประชากรที่สำคัญ สามารถบอกถึงความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขจึงตั้งเป้าหมายว่าจะให้ประชากรไทยมีอายุขัยเฉลี่ยที่ 80 ปี นโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพจึงต้องมุ่งเน้นไปที่จะลดอัตราการตายก่อนวันอันควร การป่วย เเละการตายในกลุ่มแม่และเด็กจึงเป็นกลุ่มแรกที่จะต้องพยายามลดสาเหตุการตายจากปัจจัยต่าง ๆ ให้เหลือน้อยที่สุด แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยบริการสุขภาพจะพยายามปรับปรุงมาตรฐานต่างๆในการให้บริการเเก่หญิงตั้งครรภ์ เเต่ก็ยังมีรายงานอัตราการตายของมารดา เเละทารก ออกมาเป็นระยะๆ ในปี 2565 ตำบลพิมานเอง มีรายงานมารดาเสียชีวิตที่ย้ายถิ่นไปมาระหว่างตำบลคลองขุด ขณะตั้งครรภ์จำนวน 1 ราย ซึ่งเป็นผลจากการไม่ฝากครรภ์ เเละติดเชื้อโควิด19 สาเหตุอีกส่วนนึงเกิดความไม่พร้อมในครอบครัว จะเห็นว่าในความเป็นจริงหญิงตั้งครรภ์ จะใช้ชีวิตที่บ้านเเละใช้เวลากับสถาบันครอบครัว มากกว่าเวลาในการเข้ารับบริการสุขภาพในหน่วยบริการสาธารณะสุข ดังนั้นงานอนามัยเเม่เเละเด็ก กลุ่มงานเวชกรรมสังคม จึงมีความสนใจในการพัฒนาศักยภาพการจัดการของครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน โดยใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลในเรื่องความสามารถของผู้ดูเเลในการดูเเลบุคคลที่ต้องการการพึ่งพา(Dependent care Agency) ของโอเร็ม ร่วมกับที่มสหวิชาชีพ เเละชุมชน เพื่อให้ครอบครัว(ผู้ดูเเล)มีศักยภาพที่ดี มีความรู้ มีทักษะ มีคู่มือ เเละเเนวทาง ในการดูเเลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้านได้ คาดว่าจะสามารถลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตของมารดาเเละทารกได้ในระดับนึง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 พัฒนาศักยภาพการจัดการของครอบครัว(ผู้ดูเเล)ในการดูเเลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน

ผู้ดูเเล มีความรู้ มีทักษะ ในการดูเเลหญิงตั้งครรภ์ ที่บ้านมากกว่า หรือเท่ากับร้อยละ 80

0.00
2 ผู้ดูเเลมีรูปแบบการดูเเลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน เหมาะสมกับบริบทชุมชน

มีรูปแบบการดูเเลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน เหมาะสมกับบริบทชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูเเลหญฺฺิงตั้งครรภ์ที่บ้าน 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2023

กำหนดเสร็จ 15/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์ 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์ 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้การดูเเลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน ครอบคลุมองค์รวม การสังเกตอาการผิดปกติ การจัดสิ่งเเวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวันคนละ70 บาท x30 คนx2 ครั้งรวม 4,200 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 25 บาท x2มื้อ x30คนx2 ครั้งรวม 3,000 บาท
3.ค่าวิทยากร 600 บาทx 3 ชม x 2 ครั้ง รวม 3,600บาท
4. ค่าเอกสาร อุปกรณ์การจัดการอบรม เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้านเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมติดตาม ประเมินความสามารถของผู้ดูเเลในการดูเเลหญิงตั้งครรภ์ ที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมติดตาม ประเมินความสามารถของผู้ดูเเลในการดูเเลหญิงตั้งครรภ์ ที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เยี่ยมติดตาม ประเมินความสามารถของผู้ดูเเลในการดูเเลหญิงตั้งครรภ์ ที่บ้าน2 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ดูเเลถาม-ตอบได้ การจัดสิ่งเเวดล้อมเหมาะสม หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะเเทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมระดมสมองทีมสหวิชาชีพ (brain stroming ) เช่น แก้ปัญหา อุปสรรค ที่พบในการดำเนินงาน ออกเเบบการดูเเลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้านเป็นต้น

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมระดมสมองทีมสหวิชาชีพ (brain stroming ) เช่น แก้ปัญหา อุปสรรค ที่พบในการดำเนินงาน ออกเเบบการดูเเลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้านเป็นต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมระดมสมอง (brain stroming )สหวิชาชีพ หมอครอบครัว และแกนนำชุมชน 2ครั้ง
งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวันคนละ 70 บาท x8 คนx 2 ครั้งรวม 1,120 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 25 บาท x2มื้อ x8คน x 2 ครั้ง รวม 800บาท
3. ค่าจัดทำคู่มือสำหรับผู้ดูเเลที่ได้รับการอบรม เเละหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องกับการดูเเลหญิงตั้งครรภ์ 60 เล่มๆละ 80 บาท รวม 4,800
รวม 6,720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มีนาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคู่มือและรูปแบบของครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้านเหมาะสมกับบริบทชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,320.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์สุขภาพดี มีความพร้อมสำหรับการคลอดบุตร(แม่เกิดรอดลูกปลอดภัย)
2.ลดอัตราการตายของมารดาและทารกในภาพรวมระดับประเทศ
3. เป็นแนวทางสำหรับพัฒนางานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. เป็นต้นแบบให้หน่วยบริการอื่นนำไปเป็นแนวทางในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ต่อไป


>