กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการขยะโดยหลัก 3Rs

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองทราย

ประชากรในพื้นที่ตำบลคลองทราย จำนวน 8 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

 

3.60
2 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

9.36
3 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

8.40

ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานและนับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปีตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ในขณะเดียวกันปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำ แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ทั้งการจัดเก็บเคลื่อนย้าย รวมทั้งการกำจัด นั้น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา 67 ข้อ 2 รักษาความสะอาดถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งการจัดมูลฝอย และ สิ่งปฎิกูล ข้อ 7 คุ้มครองดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองทราย ก็กำลังประสบปัญหาในด้านการบริหารจัดการขยะเช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากร ปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่ไม่เป็นเวลาและปัญหาขยะตกค้างต่างๆ ดังนั้นแนวทางแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในระยะยาวจะต้องสนับสนุนและขยายผลให้ประชาชนลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยจากบ้านเรือนโดยหลักการ 3Rs (Reduce Reuse and Recycle) 3) สร้างแรงจูงใจด้านรายได้ให้กับประชาชนในการร่วมกันคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่บ้านเรือนเป็นต้น
ในการนี้องค์การบริหารส่วนตำบลคลองทราย จึงได้จัดทำโครงการจัดการขยะโดยใช้หลัก 3Rs เพื่อให้ประชาชนร่วมใจลดปริมาณขยะและแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอยและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นการสร้างรายได้และความคุ้มครองให้กับสมาชิกในครัวเรือน การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง จะช่วยลดปริมาณขยะ และลดปัญหาขยะที่ตกค้าง ตามชุมชนและศาสนสถาน ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นมีความจำเป็นที่ประชาชนจะช่วยกันร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุนชนตำบลคลองทราย ด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทและ นำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เข้าสู่กระบวนการ รีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยังยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

3.60 1.58
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

8.40 50.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

9.36 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/01/2023

กำหนดเสร็จ 27/01/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1x3 เมตร
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2566 ถึง 27 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะในชุมชน โดยใช้หลัก 3Rs และสาธิตการทำถังขยะเปียก

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะในชุมชน โดยใช้หลัก 3Rs และสาธิตการทำถังขยะเปียก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท  เป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

  • ค่าจัดซื้อถังพลาสติก(ชุดสาธิต) ขนาด 11 แกลลอน จำนวน 200 ใบๆละ 70 บาท เป็นเงิน 14,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการคัดแยกขยะเพิ่มขึ้น และสามารถทำถังขยะเปียกได้ถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21800.00

กิจกรรมที่ 3 ครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะโดยใช้หลัก 3Rs

ชื่อกิจกรรม
ครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะโดยใช้หลัก 3Rs
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประเมินและคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะโดยใช้หลัก 3Rs โดยมอบเกียรติบัตร จำนวน 8 ใบ ๆละ 100 บาท เป็นเงิน 800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะโดยใช้หลัก 3Rs

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,100.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีการคัดแยกขยะเปียกในครัวเรือน

- ปริมาณขยะมูลฝอยในหมู่บ้าน/ชุมชน ลดลง

- ประชาชนมีความรู้และวิธีการนำขยะเปียกหรือขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์


>