กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการศึกษาการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 - 60 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการศึกษาการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 - 60 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย

-

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกสะสมในช่วง 5 ปี

 

53.17

จากสถิติพบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก เฉลี่ยปีละ 5,500 ราย ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,300 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.81 ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 30-60 ปีวิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test เป็นเทคนิคทางด้านชีวโมเลกุลที่จะตรวจหาตัวเชื้อ HPV ได้โดยตรง ทำให้สามารถตรวจหาระยะของโรคก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง และหากทำทุก 5 ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามได้ถึง 92 %ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่ายสะดวกราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจภายใน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ความรู้ความเชื่อด้านสุขภาพปัญหาในการมาตรวจความอายความรู้สึกเจ็บไม่สบายความวิตกกังวลถึงผลการตรวจและความรุนแรงของโรค

ในปี 2565 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย มีการออกมาตรการเร่งรัดในโครงการ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย โดยการจัดมาตรการเชิงรุก การเชิญชวนให้มารับการตรวจคัดกรอง และสำรวจความครอบคลุม แต่ผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี สะสม 5 ปี (ปี พ.ศ. 2561-2565) ทำได้เพียงร้อยละ 53.17และผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ได้ครอบคลุมตามเป้าหมาย เพื่อลดอุบัติการณ์ และความรุนแรงของโรค โดยทำการศึกษาการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 - 60 ปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 - 60 ปี

อัตราการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 - 60 ปี

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สตรีกลุ่มตัวอย่าง อายุ 30-60 ปี 188

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. วิเคราะห์สถานการณ์ของโรค และสาเหตุของปัญหา
  2. ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  3. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการให้เครือข่ายได้รับทราบ ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ สตรีอายุ 30 - 60 ปี
  5. จัดทำโครงการเสนอกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพตำบลโคกม่วง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
การเก็บรวบรวมข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ลงปฏิบัติงานเก็บข้อมูลแบบสอบถามในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง สตรีอายุ 30 - 60 ปี
  • ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 188 ชุดๆ ละ 6 บาท เป็นเงิน 1,128 บาท
  • ค่าตอบแทนเก็บข้อมูลแบบสอบถาม จำนวน 188 ชุดๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 3,760
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนสตรีกลุ่มตัวอย่าง อายุ 30 - 60 ปี 188 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4888.00

กิจกรรมที่ 3 การบันทึกข้อมูลจากแบบสอบถาม

ชื่อกิจกรรม
การบันทึกข้อมูลจากแบบสอบถาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การบันทึกข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม
  • ค่าตอบแทนคีย์ข้อมูลแบบสอบถาม จำนวน 188 ชุดๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 3,760
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนแบบสอบถามที่ได้บันทึกผลข้อมูล 188 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3760.00

กิจกรรมที่ 4 การวิเคราะห์ การแปรผลข้อมูล การสรุปผล และการเผยแพร่ผลการศึกษา

ชื่อกิจกรรม
การวิเคราะห์ การแปรผลข้อมูล การสรุปผล และการเผยแพร่ผลการศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การวิเคราะห์เพื่อบรรยายข้อมูล และศึกษาระดับในแต่ละตัวแปร ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
  2. การแปรผลข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 - 60 ปี
  3. นำผลการศึกษาเผยแพร่ในที่ประชุม อสม. และประชาสัมพันธ์ในชุมชนได้รับทราบ เพื่อดำเนินงานเชิงรุก ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ครอบคลุมบรรลุตามเป้าหมาย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผลการศึกษาการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 - 60 ปี  1 เรื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,648.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบายในหน่วยงาน การดำเนินงานพัฒนามาตรการเชิงรุก ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ครอบคลุมบรรลุตามเป้าหมาย
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างเหมาะสมต่อไป


>