กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

วัยใส ใส่ใจสุขภาพห่างไกลยาเสพติด ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

สภาเด็กและเยาวชนตำบลสะเอะ

1.นส.ฟาฮาดา ลัสสะมานอ
2.นายมูฮัมหมัดรีดูวัน ยะลา
3.นส.นูรยานีฟาร์ ดือราแม็ง
4.นายมูฮัมหมัดไฟซอล บือแน
5.นายอารอฟัต อับดุลฮามิ

ตำบลสะเอะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

 

6.00
2 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืน รวมกลุ่มมั่วสุม ติดเกมส์

 

28.68
3 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 11-25 ปีที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

 

55.00

สถานการณ์เด็กและเยาวชนในปัจจุบัน2 เรื่องใหญ่ๆ คือ 1.ปัญหายาเสพติด โดยขณะนี้ประเทศไทยมีประชากรที่ติดยาเสพติดทั้งหมด 2.7 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นเด็กและเยาวชน อายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวน 3 แสนคน ที่เข้ารับการบำบัด และเมื่อปีที่ผ่านมาพบว่าเด็กที่อายุน้อยที่สุดที่ติดยาเสพติด คืออายุ 11 ปี ประมาณ 7 คน โดยมีพฤติกรรมเสพยาบ้า และพบเด็กอายุ 7 ปี ส่งยาเสพติด 2.ปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ในที่นี้หมายถึงวัยรุ่นอายุ 19 ปีลงมา สถิติพบว่ามีปีละ 1.5 แสนคน (อ้างอิง https://www.bangkokbiznews.com/politics/788466)
ตำบลสะเอะ มีประชากรเด็กที่มีอายุระหว่าง 11-25 ปี จำนวน 2,452คน หรือคิดเป็นร้อยละ 28.68ของประชากรทั้งหมด (อ้างอิง สถิติประชากรจากทะเบียนราษฏ์ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565) และมีประชากรเด็กอายุระหว่าง 11 - 25 ปีที่ติดสารเสพติดและมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นปัญหาในชุมชนคือ น้ำกระท่อมและบางส่วนลุกลามถึงการใช้ยาเสพติดประเภทอื่น สภาเด็กและเยาวชนตำบลสะเอะเห็นความสำคัญของที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ การใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ส่งเสริมความรุ้และการรวมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ ป้องกันและลดการใช้ยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน จึงได้จัดทำโครงการ วัยใส ใส่ใจสุขภาพห่างไกลยาเสพติด โดยกระบวนใช้กลุ่มแกนนำวัยใสและกลไกของสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ในการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

6.00 8.00
2 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืน รวมกลุ่มมั่วสุม ติดเกมส์

28.68 25.81
3 เพื่อเพิ่มจำนวนเด็กและเยาวชน อายุ 11-25 ปีให้มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 11-25 ปีที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

55.00 65.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมวางแผนคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลสะเอะและที่ปรึกษา
- ป้ายไวนิลขนาด 1.2 x 2.4เมตร 1ป้ายๆละ1,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แผนงานการดำเนินงาน 2.มอบหมายงานการสำรวจข้อมูลเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมสร้างความรู้เรื่องพิษภัยของยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
อบรมสร้างความรู้เรื่องพิษภัยของยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ สร้างความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ยาเสพติด และการสร้างกระบวนการเรียนรู้และวิเคราะห์ปัจจัยและพื้นที่เสี่ยงต่อปัญหายาเสพติดในชุมชนจำนวน 1 วัน โดยมีค่าใช้จ่ายรวม 10,600.- บาทดังนี้ - ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารคู่มือประกอบการฝึกอบรม จำนวน 50 เล่มๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500.- บาท - ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมฝึกอบรม1 มื้อๆละ 50 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน3,000.- บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมฝึกอบรม2 มื้อๆละ 50 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500.- บาท - ค่าสมนาคุณตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน3,600.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีคู่มือประกอบการฝึกอบรมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 เล่ม 2.ร้อยละ 85 ของผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความรู้และตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด 3.มีข้อมูลพื้นที่เสี่ยง พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับการรณรงค์และขับเคลื่อนกิจกรรมป้องกันยาเสพติด 4.มีเครือข่ายวัยใส สำหรับการขับเคลื่อนกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 1 กลุ่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10600.00

กิจกรรมที่ 3 ประกวดสร้างสรรค์สื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
ประกวดสร้างสรรค์สื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประกวดการสร้างสรรค์สื่อรณรงค์เพื่อสร้างและขยายให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เป็นเงิน 720.- บาท รางวัลประเภทภาพนิ่งรณรงค์จำนวน 3 รางวัล รางวัลประเภททีมสื่อมิเดียร์3รางวัล ค่าใช้จ่ายประกอบด้วย - ค่าจัดทำเกียรติบัตรพร้อมกรอบรูปจำนวน 6 ชุดๆละ 120 บาท เป็นเงิน 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีไฟล์ภาพนิ่งสำหรับรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน 2.มีสื่อมีเดียร์สำหรับรณรงค์ผ่านช่องทางโซเชี่ยล 3.เด็กและเยาวชนใช้เวลาให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
720.00

กิจกรรมที่ 4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกพื้นที่รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างกลไกและพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กในชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย 6ชุมชน โดยมีค่าใช้เป็นเงิน 7,100.- บาท ดังนี้ - ป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์พร้อมขาตั้ง X-standจำนวน 2 ชุดๆละ700 บาท เป็นเงิน 1,400.-บาท - แผ่นโบร์ชัวประชาสัมพันธ์ขนาด A3 แบบสีจำนวน 100 แผ่นๆละ30 บาทเป็นเงิน3,000.- บาท - ค่าอาหารว่าง 1 มื้อๆละ 15 คนๆละ 30 บาทจำนวน 6 ครั้งเป็นเงิน 2,700.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีโบร์ชัวรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเข้าถึงข้อมูล 2.มีป้าวไวนิลแบบมีขาตั้งสำหรับรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 3.สร้างการรับรู้ขยายสู่เด็ก เยาวชนและชุมชนหันมาสนใจปัญหายาเสพติดและร่วมเฝ้าระวัง 4.เกิดกลุ่มแกนนำกลไกเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7100.00

กิจกรรมที่ 5 ชวนน้องเล่นกีฬา ขยับกาย สบายชีวา ห่างไกลยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
ชวนน้องเล่นกีฬา ขยับกาย สบายชีวา ห่างไกลยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างพื้นที่สร้างสรรค์โดยใช้กลไกในพื้นที่ในการเป็นแกนนำให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างในตอนเย็นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วันๆละ 3 ชั่วโมงในการฝึกทักษะและเล่นกีฬาฟุตบอลและวอลเล่ย์บอลในพื้นที่นำร่อง 2 ชุมชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมขยับกาย การใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ใส่ใจสุขภาพ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของเด็กและเยาวชน ป้องกันการมั่วสุมปัญหายาเสพติด จำนวน 4 ครั้ง โดยมีค่าใช้จ่าย
5,560.-รายละเอียดดังนี้ - ค่าอุปกรณ์กีฬา ลูกฟุตบอล4ลูกๆละ 470 บาท เป็นเงิน1,880.-บาท - ค่าอุปกรณ์กีฬา ลูกวอเล่ย์บอล 4 ลูกๆละ 320 บาท เป็นเงิน1,280.- บาท - ค่าตอบแทนแกนนำฝึกทักษะการเล่นฟุตบอล ครั้งละ 300 บาท/ครั้งจำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 1,200.- บาท - ค่าตอบแทนแกนนำฝึกทักษะวอลเล่ย์บอล ครั้งละ 300 บาท/คน/ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 1,200.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5560.00

กิจกรรมที่ 6 ติดตามการดำเนินงาน ประเมินผล และสรุปการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการดำเนินงาน ประเมินผล และสรุปการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำแบบฟอร์มติดตามประเมินผลแบบออนไลน์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2.สำรวจ/สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเด็กและชุมชนในกลุ่มเป้าหมายนำร่อง 2 แห่ง 3.วิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายประกอบด้วย ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถาม 70 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ข้อมูลการดำเนินงาน และผลกระทบจากโครงการ เอกสารรายงานผล 1 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
70.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กและเยาวชนตระหนักถึงพิษภัยปัญหายาเสพติด และมีทักษะการใช้ชีวิตให้ห่างไกลยาเสพติด
2.เกิดแกนนำเยาวชน/ชุมชนในแต่ละหมู่บ้านเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังและดูแลเด็ก
3.เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ที่ปลอดภัยในชุมชนให้เด็กและเยาวชนได้ใช้กีฬาสร้างเสริมสุขภาพเป็นเกราะกันภัยยาเสพติด
4.ชุมชนร่วมใส่ใจเฝ้าระวังป้องกันปัญหายาเสพติด


>