กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ 2 ส ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ

นางญัซมีนี นิยมรัฐ

ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่ออันเกี่ยวเนื่องมาจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ทั้งการกิน การนอน การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญของโลก เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ 3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย (กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค , 2564)
จากการสำรวจสถานการณ์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2563 – 2565 ในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.แป-ระ ประชาชนมีอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่ คิดเป็น 306.95, 353.87 และ 350.82 ต่อแสนประชากรตามลำดับ และมีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็น 597.74, 514.72 และ 590.02 ต่อแสนประชากรตามลำดับ อีกทั้งมีประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 97.76 , 90.15 และ 96.15 ตามลำดับ มีประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 0.00 , 3.08 และ 4.08 ตามลำดับ และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมได้ จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 34.40 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมได้ จำนวน 263 คน คิดเป็นร้อยละ 47.39 (HDC สตูล, 2565) ซึ่งยังถือว่าน้อย และจะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี การที่กลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจะปฏิบัติพฤติกรรมที่เหมาะสมและสามารถควบคุมโรคให้ได้ผลดีในระยะยาวต้องเกิดจากความต้องการดูแลตนเองของผู้ป่วยเป็นสำคัญ มีการวางเป้าหมายของการเรียนรู้ และการปรับพฤติกรรมตามความต้องการของตนเอง เมื่อมีการดูแลตนเองในระดับที่เพียงพออย่างต่อเนื่องและกระทำอย่างมีประสิทธิภาพจะนำไปสู่การดำรงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดี ตามทฤษฎีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ดังนั้นการพัฒนาทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ. 2ส. จึงเป็นวิธีการที่ที่จะช่วยให้สามารถดูแลตนเองและป้องกันโรคได้ อีกทั้งการเน้นพัฒนาศักยภาพระบบเฝ้าระวังโดยการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยส่งเสริมให้ อสม. เข้ามามีส่วนร่วมในการคัดกรองร่วมกับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้รับรู้ปัญหาสุขภาพของชุมชน รู้ถึงสาเหตุของการป่วยเป็นโรค เข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้นำการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ และแก้ไขปัญหาสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรมก็เป็นวิธีการที่สำคัญเช่นกันที่จะช่วยลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ จึงได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2ส. ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อให้ได้รับความรู้ทักษะในการจัดการตนเองและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดความเสี่ยง ป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายในชุมชนให้ช่วยดูแลติดตามผู้ป่วย และพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพในพื้นที่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส

หลังเข้าร่วมโครงการประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตามหลัก 3อ. 2ส. ในระดับดีขึ้นไป

0.00
2 2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ. 2ส

หลังเข้าร่วมโครงการประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ. 2ส ในระดับดีขึ้นไป

0.00
3 3 เพื่อให้แกนนำ อสม.เชี่ยวชาญมีความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส

หลังเข้าร่วมโครงการแกนนำอสม.เชี่ยวชาญมีความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ในระดับดีขึ้นไป

0.00
4 4 เพื่อให้แกนนำ อสม.เชี่ยวชาญมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ. 2ส

หลังเข้าร่วมโครงการแกนนำอสม.เชี่ยวชาญมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ. 2ส ในระดับดีขึ้นไป

0.00
5 5 เพื่อให้แกนนำ อสม.เชี่ยวชาญมีทักษะการตรวจน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตสูงที่ถูกต้อง

แกนนำอสม.เชี่ยวชาญมีทักษะการตรวจน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตสูงที่ถูกต้อง ร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเป้าหมาย(กลุ่มเสี่ยง, กลุ่มป่วย)

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเป้าหมาย(กลุ่มเสี่ยง, กลุ่มป่วย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย ป้ายละ 450 บาทเป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ความรู้ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 4 ป้าย ป้ายละ 450 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 100 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรมจำนวน 100 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติทางต้นแขนรุ่น HEM-7120จำนวน 2 เครื่องๆละ 2,290 บาท เป็นเงิน 4,580 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ 2 ส

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12330.00

กิจกรรมที่ 2 แกนนำอสม.เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
แกนนำอสม.เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ                 เป็นเงิน 1,500 บาท     - ค่าเอกสารประกอบการอบรมจำนวน 60 ชุด ชุดละ 30 บาท  เป็นเงิน 1,800 บาท      - เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติทางต้นแขนรุ่น HEM-7120จำนวน 2 เครื่องๆละ 2,290 บาท  เป็นเงิน 4,580 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. เชี่ยวชาญเกิดความตระหนักด้านสุขภาวะโดยการตรวจสุขภาพ สามารถคัดกรอง เฝ้าระวังโรคและป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงของตนเองและชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7880.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,210.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทักษะในการดูแลตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลง
4. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มป่วยสามารควบคุมโรคได้ดีและลดการเกิดโรคแทรกซ้อน
5. เพื่อให้แกนนำ อสม. เชี่ยวชาญเกิดความตระหนักด้านสุขภาวะโดยการตรวจสุขภาพ สามารถคัดกรอง เฝ้าระวังโรคและป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงของตนเองและชุมชน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>