กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาทักษะการจัดการขยะตามหลัก 7 R ปีงบปะมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

เทศบาลตำบลนาโหนด งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล

ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนหน่วยงาน/องค์กร ทั้งหมด 14 หน่วยงาน ประกอบด้วย โรงเรียน 4 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง เทศบาล 1 แห่ง บริษัท/ห้างหุ้นส่วน 3 แห่ง
จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง 8 แห่ง

8.00
2 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด3,048 ครัวเรือน
ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้เฉลี่ยต่อวัน 0.66 กก. ต่อครัวเรือน

2,011.68
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3,048 ครัวเรือน
ครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า จำนวน 624 ครัวเรือน

20.48

ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชนเพิ่มมากขึ้น และถูกทิ้งรวมกัน ส่งผลให้เกิดมลพิษ เพื่อเป็นการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะ จึงจำเป็นต้องมีการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับ เด็กนักเรียน เยาวชน กลุ่มเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน และประชาชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลนาโหนด จึงจัดทำโครงการพัฒนาทักษะการจัดการขยะตามหลัก 7 R ปีงบปะมาณ 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

8.00 12.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

2011.68 1524.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

20.48 35.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะตามหลัก 7 R

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะตามหลัก 7 R
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ การคัดแยกขยะตามหลัก 7 R และสาธิตเส้นทางเดินของขยะแต่ละประเภทแก่เด็กนักเรียนในพื้นที่ตำบลนาโหนด จำนวน 4 โรง รวมจำนวน 200 คน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2x2.4 เมตร เป็นเงิน 600 บาท
2.ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 300 บาท วันละ 2 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยข้อง จำนวน 220 คนX25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,500 บาท
4.ค่าจ้างเหมาทำตะแกรง 3 ช่อง สำหรับแยกขยะรีไซเคิล ขนาด 60x180x85 cm จำนวน 4 อันๆ4,500 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
5.ค่าจัดซื้อถังพลาสติกพร้มฝาปิดสำหรับจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน จำนวน 4 ใบๆละ 1000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
รวบงบประมาณ 30,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
นักเรียนโรงเรียน ในพื้นที่ตำบลนาโหนด จำนวน 200 คน
ผลลัพธ์
1.นักเรียนจำนวน 200 คน มีความรู้ ได้รู้จักขยะแต่ละประเภทสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกตอ้ง และนำขยะที่คัดแยกแล้วไปทิ้งยังสถานที่กำจัดขยะได้อย่างถูกต้อง
2. นักเรีย สามารถนำวิธีการจัดการขยะตามหลัก 7R ไปใช้ในครัวเรือนของตนเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมติดตามประเมินผลโครงการ รายละเอียดดังนี้
1.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามผลการดำเนินการจัดการขยะครัวเรือนเป้าหมาย ครัวเรือนละ 1 ครั้ง/เดือน จำนวน 3 ครั้ง พร้อมบันทึกผลการติดตามตามแบบฟอร์มบันทึกผล
2.จัดประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับการประชุมคณะทำงานเพื่อนำเสนอผลการติดตามฯ จำนวน 10 คน ๆ ละ 25 บาทจำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
คณะทำงานติดตามและประเมินผล เข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน
ผลลัพธ์
1.คณะทำงานรับทราบผลการดำเนินการจัดการขยะของครัวเรือนเป้าหมาย 2.มีข้อมูลปริมาณขยะของครัวเรือนเป้าหมาย ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชนเพิ่มขึ้น
2.ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลง
3.จำนวนครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้าเพิ่มขึ้น


>