กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการให้ความรู้และป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ของนักเรียนโรงเรียนวัดจอมไตร

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาโยงเหนือ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรู้และป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ของนักเรียนโรงเรียนวัดจอมไตร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาโยงเหนือ

โรงเรียนวัดจอมไตร

โรงเรียนวัดจอมไตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนอายุ 10-12 ปี ที่สามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

 

30.00
2 จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

3.00
3 จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

1.00
4 ร้อยละคนเดินเท้าที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

0.52
5 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายความปลอดภัยทางถนนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

1.00
6 จำนวนกิจกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน (เช่น มีการจัดประชุม ศปถ.อปท. ในลักษณะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน ไตรมาสละ 1 ครั้ง หรือมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางถนน)

 

4.00

ปัจจุบันเด็กและเยาวชนจำนวนมาก มีความจำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานศึกษาด้วยตนเองในรูปแบบต่างๆ ทั้งเดินเท้า ขับขี่รถ ซึ่งล้วนแต่มีความเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนนทั้งสิ้น และที่นิยมมากและเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุสูงก็คือ การขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ซึ่งเด็กบางคนมีพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ เช่น ขาดประสบการณ์และทักษะในการขับขี่ ประมาท ชอบความเสี่ยง คิดว่าตัวเองเก่ง ชอบขับขี่เร็วด้วยความคะนองตามวัย ไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นอันตราย เพื่อนยุ เมาแล้วขับ ไม่เคารพกฎจราจร ขาดจิตสำนึกในการใช้รถใช้ถนน ไม่ใส่ใจในความปลอดภัยของตนเองและเพื่อนร่วมทาง พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้การเกิดอุบัติเหตุในเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในวัยกำลังศึกษามีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ขับขี่ในช่วงอายุอื่น ประเทศไทยพบปัญหาการสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนมีอัตราเพิ่มขึ้น ทุกๆ ปี โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้รถจักยานยนต์ มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยชั่วโมงละ 1 คน และในช่วงเทศกาลจะพบว่ามีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็นชั่งโมงละ 3 คน ผู้เสียชีวิต ส่วนใหญ่จะอายุเฉลี่ยต่ำกว่า 15 ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทุกๆ ปี
ดังนั้นโรงเรียนวัดจอมไตร เล็งเห็นถึงปัญหาการสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้และป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ของนักเรียนโรงเรียนวัดจอมไตรขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางถนน โดยจัดกิจกรรมต่างๆ เช่นการจัดการเรียนรู้ในด้านการใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้องปลอดภัย การปลูกจิตสำนึกและสร้างวินัยการจราจร ให้แก่เยาวชนในโรงเรียนวัดจอมไตร เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเฝ้าระวังและลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรและการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถ นำไปปฏิบัติขณะใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย

ร้อยะล 80 ของนักเรียน มีความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรและการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถ นำไปปฏิบัติขณะใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย

30.00 20.00
2 2) เพื่อปลูกจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนนและเสริมสร้างวินัยจราจรให้กับเด็กและเยาวชน

ร้อยะละ 75 ของนักเรียนมีจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนนและมีวินัยจราจรให้กับเด็กและเยาวชน

25.00 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/06/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม วางแผนการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุม วางแผนการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) จัดการประชุม ชี้แจงงบประมาณที่ได้รับ
2) จัดทำคำสั่งแต่งตั้งบุคลากร คณะทำงานดำเนินงานโครงการ 3) กำหนดแนวทางการดำเนินโครงการ 4) ประสานความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5) การดำเนินโครงการ - ค่าป้ายโครงการเป็นเงิน 500 บาท - ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1800 บาท - ค่าอาหารว่าง คนละ 25 บาท จำนวน 50 คนเป็นเงิน 1,250 บาท - ค่าจัดทำเอกสารและวัสดุอื่นๆที่เกี่ยวข้องเป็นเงิน 1,450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 7 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - คณะทำงานทราบบทบาทหน้าที่ของตนเองในการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์ - คณะทำงานมีแนวทางการดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้และป้องกันอุบัติเหตุทางถนน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้และป้องกันอุบัติเหตุทางถนน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้ เรื่อง อุบัติเหตุทางถนน ผ่านการชมวิดีโอ 2.ให้ความรู้ เรื่อง สัญลักษณ์จราจร
- ค่าป้ายสัญลักษณ์จราจร เป็นเงิน 5,000 บาท 3.ให้ความรู้ เรื่อง กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎจราจร
- ค่าสื่อกฎหมายจราจรเป็นเงิน 1,000 บาท 4.สาธิตการสวมหมวกกันน็อคที่ถูกวิธีเป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าอุปกรณ์สาธิต (หมวกกันน็อค) เป็นเงิน 3,000 บาท 5.ให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันอุบัติเหตุทาวถนน 6.ถอดบทเรียนปลูกจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนนและเสริมสร้างวินัยจราจรให้กับเด็กและเยาวชน - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการถอดบทเรียน เป็นเงิน 1,000 บาท 6.การรณรงค์ผู้ปกครอง บุคคลแวดล้อมเด็กและเยาวชน ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมระเบียบวินัย การใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้องปลอดภัย - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำป้ายรณรงค์ เป็นเงิน3,000 บาท 7.สาธิตการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ถูกต้อง ปลอดภัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2566 ถึง 21 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต/ผลลัพท์ 1) นักเรียนได้รับความรู้เรื่องความปลอดภัยทางถนนและเสริมสร้างวินัยจราจร 2) นักเรียนมีสำนึกความปลอดภัยทางถนนและเสริมสร้างวินัยจราจรให้กับเด็กและเยาวชน 3) เด็กได้แสดงความสามารถ ในการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้องปลอดภัย 4) ผู้ปกครอง บุคคลแวดล้อมเด็กมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมระเบียบวินัย การใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้องปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

กิจกรรมที่ 3 การประเมินผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การประเมินผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ประชุมสรุปปัญหา/อุปสรรคจากการดำเนินโครงการ
2) การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล - แบบสอบถาม (Questionnaire)
- แบบบันทึกการใช้รถของนักเรียน 3) ประเมินผลให้สอดคล้องกับการดำเนินโครงการ - ค่าจัดทำเอกสารและวัสดุอื่นๆที่เกี่ยวข้องเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กิจกรรมในโครงการได้รับการประเมินอย่างครบถ้วน ผลลัพธ์
  • ผลการประเมินผลโครงการสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินโครงการครั้งต่อไปได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) เด็กสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติขณะใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย
2) เด็กมีจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนนและเสริมสร้างวินัยจราจรให้กับเด็กและเยาวชน
3) เด็กด้แสดงความสามารถ ในการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้องปลอดภัย
4) ผู้ปกครอง บุคคลแวดล้อมเด็ก ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมระเบียบวินัย การใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้องปลอดภัย


>