กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประเมินภาวะโภชนาการและแก้ไขปัญหาโภชนาการในเด็กปฐมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

โรงเรียนอนุบาลตำบลริโก๋

นางซารีนา สามะ

โรงเรียนอนุบาลตำบลริโก๋ ตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับทรัพยากรด้านอื่นๆ จะเห็นได้จากแบบพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในสมัยปัจจุบันมุ่งเน้นในการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางพัฒนาและการพัฒนาคนที่ดีก็ควรต้องเริ่มจากวัยเด็กเพราะเด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้าเด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพจะต้องมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บดังนั้นการประเมินภาวะโภชนาการและแก้ไขปัญหาโภชนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งที่เราทุกส่วนทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กโดยเฉพาะผู้ปกครองนั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของเด็กเพราะเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับเด็กและมีเวลาอยู่กับเด็กมากกว่าใครๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติต่อเด็ก ดังนั้นโรงเรียนอนุบาลตำบลริโก๋จึงได้จัดทำโครงการประเมินภาวะโภชนาการและแก้ไขปัญหาโภชนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้นเพื่อให้เด็กและผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีและสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้องเหมาะสมตามวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการประเมินและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการปกติร้อยละ 90

0.00 0.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และทุพโภชนาการ (ผอม) ได้รับการดูแลแก้ไขทุกคน

เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการปกติ  ร้อยละ 90

0.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลริโก๋ 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน - สำรวจเด็กและจัดทำทะเบียนเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการศูนย์เด็กผู้ปกครองผู้ประกอบการร้านค้า
- ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็กเดือนละ 1 ครั้ง - บันทึกผลการประเมินลงสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวเด็ก - ให้ความรู้และปรับพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก (ประสานให้ความรู้กับผู้ปกครอง/ผู้ประกอบการ) - จัดกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวและออกกำลังกาย (กรณีที่พบเด็กที่ไม่อยู่ในเกณฑ์) 4. ประเมินผลการดำเนินงาน 5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล

งบประมาณ จำนวน 57,700.- บาท รายละเอียดดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน (สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน) จำนวน 150 คนๆ ละ 75 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 22,500.- บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 150 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อจำนวน 4มื้อ เป็นเงิน 15,000.- บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 2 วันๆ ละ 6ชั่วโมงๆละ600.- บาท เป็นเงิน7,200.- บาท - ค่าป้ายโครงการฯ เป็นเงิน 1,000.- บาท - ค่าวัสดุโครงการ เป็นเงิน 7,000.- บาท - ค่าจัดทำสื่อ/บอร์ดกิจกรรม เป็นเงิน 5,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กได้รับการตรวจประเมินภาวะโภชนาการตามเกณฑ์และเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินและทุพโภชนาได้รับการแก้ไขทุกคน(ตามแบบการประเมิน ของกรมอนามัย)
2. มีข้อตกลงร่วมกับชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก


>