กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่ รหัส กปท. L2487

อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการลดจุดเสี่ยง เฝ้าระวังเด็กจมน้ำ
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
3.
หลักการและเหตุผล

การจมน้ำเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่งของทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ จากข้อมูลในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2545-2554) พบว่ามีเด็กจมน้ำเสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 1,352 คน/ปี หรือวันละเกือบ 4 คน ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เป็นเดือนที่เด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุดเพราะตรงกับช่วงปิดภาคการศึกษาและช่วงฤดูร้อนพบว่าใน 3 เดือน มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงถึง 464 คน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ โดยในปี 2556 กระทรวงสาธารณสุขมีวัตถุประสงค์และแนวคิดเพื่อสื่อสารให้ประชาชนทราบว่า ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังแม้เพียงเสี้ยววินาที และแหล่งน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยก็สามารถจมน้ำเสียชีวิตได้ซึ่งในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เด็กต้องอยู่ในระยะที่มองเห็น เข้าถึง และคว้าถึง รวมทั้งการใส่เสื้อชูชีพขณะที่เดินทางทางน้ำหรือทำกิจกรรมทางน้ำเป็นสิ่งที่จำเป็น นั้น จากรายงานเด็กจมน้ำในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ ปี 2561-2565 พบเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ จำนวน 3 ราย 3 จุดเกิดเหตุ โดยจุดที่ 1 เป็นคลองแหล่งน้ำธรรมชาติในชุมชน (ซูงัยบลาวัน) ซึ่งอยู่บริเวณใกล้กับที่พักอาศัยอยู่ในแหล่งชุมชน ในพื้นที่หมู่ 6 บ้านศาลาเชือก ตำบลศาลาใหม่ พบผู้เสียชีวิตรายที่ 1 เป็นเด็กเพศชายอายุ 1 ปี 11 เดือน โดยได้จมน้ำและหมดสติที่เกิดเหตุการเกิดเหตุที่ที่จุดที่ 1 ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เคยมีเหตุการณ์เด็กเล็กเล่นน้ำจมน้ำเสียชีวิตมาแล้ว 3 ราย และมีเหตุการณ์ที่เด็กเล็กจมน้ำแต่ไม่เสียชีวิตจำนวน ประมาณ 7-8 ราย จุดที่ 2 เป็นจุดที่เป็นคลองขุดไม่ใช่แหล่งน้ำธรรมชาติ ห่างจากจุดที่ 1 ประมาณ 500 เมตร และอยู่ห่างจากชุมชนเป็นจุดที่พบผู้เสียชีวิตเคสที่ 2 เป็นเด็กชายอายุ 5 ปี เป็นคนพื้นที่ตำบลไพรวัน มาที่จุดเกิดเหตุจุดที่ 2 นี้ ด้วยเหตุผลตามพ่อแม่เพื่อมาเก็บหอย โดยตอนหายไปจมน้ำพ่อแม่ไม่ทราบ จนร่างลอยขึ้นมา แจ้งทีมกู้ภัย อบต ศาลาใหม่ๆ ได้ CPR ขณะนำส่งรพ.ตากใบ จุดที่ 3 เป็นจุดที่เป็นคลองขุดไม่ใช่แหล่งน้ำธรรมชาติ ห่างจากจุดที่ 1 ประมาณ 1.2 กิโลเมตร จุดเกิดเหตุอยู่หลังบ้าน ที่เคสที่ 3 อยู่เล่นก่อนจมน้ำเสียชีวิต ไม่มีที่กั้นระหว่างพื้นดินกับน้ำ เป็นบ้านที่อยู่เป็นกระจุกเครือญาติ มีอยู่ 7 หลัง ในวันเกิด จมน้ำ 2 คน แต่เสียชีวิต 1 คน โดยเด็กทั้งสองคนอยู่บ้านพี่เลี้ยง และมีแม่อยู่ด้วยในเหตุการณ์ โดยพี่เลี้ยงและมีแม่กำลังวุ่นอยู่กับการเตรียมงานเพื่อแห่ขันหมากงานแต่งงาน และจากการสอบสวนการจมน้ำ ปัจจัยที่ส่งผลต่อเหตุการณ์เสียชีวิตจากจมน้ำครั้งนี้มีหลายปัจจัย คือ ผู้เสียชีวิตยังเป็นเด็กเล็ก ผู้เสียชีวิตว่ายน้ำไม่เป็น ผู้เสียชีวิตไม่เคยออกมาเล่นใกล้แม่น้ำมาก่อน สาเหตุจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางสังคม คือ คนดูแลหลัก ไม่ได้ดูแลเป็นหลักในช่วงก่อนเกิดเหตุ แต่มีญาติๆหลายคนช่วยนั่งดู ทำให้ต่างคนต่างเกิดความวางใจเชื่อใจกัน คิดว่าคนนั้นคนนี้ดูแลอยู่ จึงเกิดความประมาทขึ้น สาเหตุจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ คือ “จุดเกิดเหตุ” ไม่มีที่กั้นป้องกันเด็กตกหล่น ไม่มีป้ายสัญลักษณ์เตือน จุดที่ 1 ลักษณะเป็นหาดที่เป็นที่เป็นที่จอดเทียบเรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก (เรือกอและ) ทำให้มองไม่ชัดมีเรือบดบัง มีความลึกประมาณ 3-6 เมตร จุดที่ 2 กับจุดที่ 3 เป็นพื้นที่ของบุคคลส่วนตัวที่มีการขุดลอกทรายทำให้เกิดเป็นคลองขนาดใหญ่ไม่มีคนพลุกพล่าน มีความลึกประมาณ 4-7 เมตร เป็นตลิ่งไม่สูงชัน เด็กเล็กๆ ถึงเข้าถึงง่าย เดินไปถึงริมแม่น้ำอย่างสะดวกง่ายดายไม่มีสิ่งกีดขวาง และสาเหตุปัจจัยความช่วยเหลือ คือผู้เสียชีวิตได้รับการปฐมพยาบาลแล้วโดยการอุ้มพาดบ่า ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะการจับอุ้มพาดบ่าและกระทุ้งท้องเพื่อเอาน้ำออกจากปอดนั้น เป็นวิธีการต้องห้าม และเป็นอันตรายกับผู้ที่จมน้ำ เพราะน้ำที่ออกมาเป็นน้ำจากกระเพาะอาหารไม่ใช่ออกมาจากปอดผลที่ตามมาจะทำให้คนจมน้ำขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้นสมองขาดออกซิเจน และมีโอกาสเสียชีวิตสูง และจะเห็นได้ว่าจุดเสี่ยงในตำบลศาลาใหม่มีจำนวนมากกว่า 10 จุด เพราะมีทั้งหาดทะเล และเอกชนที่ขุดทรายคลองเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างชุมชน โรงเรียน ผู้ปกครอง เด็กในชุมชนและเครือข่ายอื่นๆ ในการป้องกันการจมน้ำ และให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นที่ถูกต้อง ส่งผลให้อัตราการจมน้ำและเสียชีวิตจากจมน้ำลดลง

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1. เพื่อรณรงค์ป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
    ตัวชี้วัด : 1. ไม่พบอัตราการเสียชีวิตการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. 2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและความตระหนักในการร่วมป้องกันการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ของเครือข่ายต่างๆในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 2. อัตราการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ลดลงจากปี 2565 ลดลง ร้อยละ 50
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. 1. กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันเด็กจมน้ำ การช่วยเหลือ และการปฐมพยาบาล และกิจกรรมถอดบทเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนที่มีความเสี่ยง
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25.- บาท เป็นเงิน 1,250.-บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 70.- บาท เป็นเงิน 3,500.-บาท
    งบประมาณ 4,750.00 บาท
  • 2. 1. กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และการติดป้ายประชาสัมพันธ์ในชุมชน โดยประชาชนในชุมชน/แหล่งน้ำ
    รายละเอียด
    • ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์พร้อมติดตั้งโครงในบริเวณจุดเสี่ยงเกิดเหตุ จำนวน 10 ป้าย x 2,500.-บาท = 25,000.-บาท
    งบประมาณ 25,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ 3 หมู่ 4 หมู่ 5 หมู่ 6 หมู่ 7 และหมู่ 8 ตำบลศาลาใหม่

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 29,750.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ไม่พบเด็กในพื้นที่ตำบลศาลาใหม่เสียชีวิตจาการจมน้ำ
  2. อัตราเด็กจมน้ำจุดพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ตำบลศาลาใหม่ลดลง
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่ รหัส กปท. L2487

อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่ รหัส กปท. L2487

อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 29,750.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................