กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเครือข่ายใส่ใจสุขภาพคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลศาลาใหม่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่

ตำบลศาลาใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภารกิจงานคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วยการควบคุมมาตรฐานสถานประกอบการ การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพหลังวางจำหน่าย การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคและผู้ประกอบการ รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ ร้านชำเกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก จากปี 2563 จำนวนร้านชำทั้งหมด 59 ร้านพบร้านชำที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานถึง พบถึง 61 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 74.57 ในปี 2564-2565 เพิ่มขึ้นจำนวน 88 ร้าน พบร้านชำที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานถึง พบถึง 61 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 69.31 (โดยประเมินตามเกณฑ์แบบตรวจ รช.นธ.1) และจากการสุ่มตรวจสอบยาฆ่าแมลงในผัก ตรวจสอบฟอร์มาลีนในกุ้ง ตรวจสอบบอแรกส์ในหน่อไม้ดอง ผ่านทุกข้อ แต่ยังพบร้านชำที่ขายยาอันตราย สำหรับร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ปี 2565 จากการสำรวจ ทั้งหมด 44 ร้าน ยังไม่ได้สุ่มตรวจอาหาร โดยมีร้านอาหาร 5 ร้าน ที่ยังไม่ผ่านการประเมิน Clean Food Good Test และยังพบการสูบบุหรี่ในร้าน รวมไปถึงการปฏิบัติตามกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะยังไม่เป็นรูปธรรมในหลายๆ ภาคส่วน สิ่งเหล่าจะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรงเนื่องจากประชาชนเป็นผู้บริโภค สำหรับการดำเนินกิจกรรม อย.ในโรงเรียนไม่มีความต่อเนื่อง ระดับความสำเร็จของการดำเนินงาน อย.น้อย มากกว่าระดับ 3 คือโรงเรียนบ้านศาลาใหม่ ร้อยละ 25 จึงจำเป็นจะต้องมีการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสร้างให้เกิดความร่วมมือของเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดมาตรฐานที่ดี ที่จะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ปลอดโรคอย่างยั่งยืน ดังนั้น เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาข้างต้นและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้แผงลอยขายอาหาร ร้านอาหาร ร้านค้า และกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้มีมาตรฐาน
  1. ร้านชำผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มากกว่าร้อยละ 40
  2. ร้านชำปลอดยาอันตราย มากกว่าร้อยละ 90
  3. ร้านอาหารมีการประเมิน Clean Food Good Test ร้อยละ 100
  4. แผงลอย/ร้านอาหาร ร้านชำ จำหน่ายอาหาร จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับการตรวจสุ่มอาหารมากกว่าร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมเครือข่าย อย.น้อย ในโรงเรียน
  1. ระดับความสำเร็จของการดำเนินงาน อย.น้อย มากกว่าระดับ 3 อย่างน้อย 2 โรงเรียน (จากทั้งหมด 4 โรงเรียน คือโรงเรียนวัดโคกมะเฟือง, โรงเรียนบ้านศาลาใหม่, โรงเรียนบ้านคลองตัน, โรงเรียนบ้านปูลาเจ๊ะมูดอ)
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดตั้งทีมเครือข่ายศูนย์เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดตั้งทีมเครือข่ายศูนย์เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25.-บาท เป็นเงิน 1,250.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 70.-บาท เป็นเงิน 3,500.-บาท
  • ค่าวิทยากรจาก รพ.ตากใบ 3 ชม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,500.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายได้รับความรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6250.00

กิจกรรมที่ 2 2. ทีมปฏิบัติการสำรวจและสุ่มตรวจอาหาร/ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Salamai Test Team) ลงพื้นที่สำรวจและดำเนินการสุ่มตรวจอาหาร/ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในแผงลอย/ร้านอาหาร ร้านชำ จำหน่ายอาหาร จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
2. ทีมปฏิบัติการสำรวจและสุ่มตรวจอาหาร/ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Salamai Test Team) ลงพื้นที่สำรวจและดำเนินการสุ่มตรวจอาหาร/ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในแผงลอย/ร้านอาหาร ร้านชำ จำหน่ายอาหาร จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 12,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาหารถูกหลักอนามัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการที่เป็นผู้จำหน่ายและผู้ผลิต มีการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น
2. ประชาชนมีความมั่นใจ ปลอดภัยจากการเลือกชื้อใช้สิ่งอุปโภคบริโภคในเขตพื้นที่ตำบลศาลาใหม่


>