กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝากครรภ์คุณภาพ แม่ลูกสุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัยเพื่อให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างองค์รวมทั้งสุขภาวะทางกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ซึ่งปัจจัยสำคัญประการหนึ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวคือการได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพ ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตัวในด้านสุขภาพที่ดี ได้แก่ ภาวะโภชนาการ การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ กิจกรรมทางด้านร่างกาย และการออกกำลังกาย การละเว้นจากบุหรี่เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือยาอื่นๆในขณะตั้งครรภ์ การยอมรับและจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม ลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์เช่น ภาวะขาดสารอาหารโลหิตจางขาดไอโอดีนและพลังงาน ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (น้อยกว่า 2,500 กรัม) ทารกพิการแต่กำเนิดรวมทั้งการคลอดตาย
จากการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปี 2565 พบว่าหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทั้งหมดจำนวน 110 คน มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (Early ANC) จำนวน 107 คิดเป็นร้อยละ 97.27 (มากกว่าตัวชี้วัดมากกว่าร้อยละ 80) มาบริการฝากครรภ์ อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 92.52(สูงกว่าตัวชี้วัดมากกว่าร้อยละ 80) ซึ่งการรับบริการตามนัด จะทำให้ จนท.สาธารณสุขดูแลปัจจัยเสี่ยงต่างๆระหว่างการตั้งครรภ์ได้ดียิ่งขึ้น สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความเสี่ยง ได้พบแพทย์ร้อยละ 100 และมีหญิงคลอดทั้งหมด 111 คน ทุกคนคลอดในสถานบริการ คิดเป็นร้อยละ 100 และหญิงคลอดได้รับบริการดูแลหลังคลอด อย่างน้อย 3 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 98.23 (สูงกว่าตัวชี้วัดมากกว่าร้อยละ 80) และพบรายงานมารดาตายจากภาวะแทรกซ้อนที่พบขณะคลอด จำนวน 1 ราย การกำเนิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ต่ำกว่า 2,500 กรัม) ในปี 2565 จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 8.11 แต่ไม่พบทารกคลอดตาย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ สติปัญญา และการเรียนรู้ของเด็กต่ำไปด้วย จะเห็นได้ว่ายังพบปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการเสียชีวิตทั้งแม่และลูกอยู่ ประกอบกับหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี และจากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ ในปี 2565 รพ.สต.ศาลาใหม่ มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเด็กอายุ 3-5 ปี จำนวน 247 คน มีความครอบคลุมวัคซีนตามอายุ จำนวน 198 คิดเป็นร้อยละ 80.01 ซึ่งต่ำกว่าตัวชี้วัดที่ต้องผ่านร้อยละ 90 และจากการจัดบริการคลินิกเด็กดี 2 ครั้งต่อเดือน มีการนัดเด็กอายุ 0-5 ปี ประมาณเดือนละ 100-150 คน แต่ยังพบอัตราการมารับวัคซีนไม่ตรงตามนัดอยู่ (ผิดนัด) 611 ครั้งต่อปี เฉลี่ยเดือนละ 51 ครั้ง ซึ่งเสี่ยงต่อการรับวัคซีนไม่ตรงตามเกณฑ์อายุ และไม่ครบตามความครอบคลุม ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ตามมาตรฐานจาก จนท. สาธารณสุข
  1. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกคนพร้อมสามีหรือญาติได้รับการอบรมให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่อย่างน้อย 1 ครั้ง
  2. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับบริการฝากครรภ์ ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์  (Early ANC) มากกว่าร้อยละ 80
  3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์ อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ มากกว่าร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อให้หญิงคลอดได้รับบริการดูแลหลังคลอด ตามมาตรฐานจาก จนท. สาธารณสุข
  1. หญิงคลอดได้รับบริการดูแลหลังคลอด อย่างน้อย 3 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ มากกว่าร้อยละ 80
0.00
3 3. เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการฉีดวัคซีนในเด็กอายุครบ 0-2 ปี มากกว่าร้อยละ 85
  1. เด็กอายุครบ 1 ปี มีความครอบคลุมวัคซีนมากกว่าร้อยละ 80
  2. เด็กอายุครบ 2 ปี มีความครอบคลุมวัคซีนมากกว่าร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในช่วงการตั้งครรภ์ ช่วงหลังคลอด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี และการวางแผนครอบครัว ในกลุ่มเป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ตั้งแต่ปี 2564-2565 จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในช่วงการตั้งครรภ์ ช่วงหลังคลอด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี และการวางแผนครอบครัว ในกลุ่มเป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ตั้งแต่ปี 2564-2565 จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25.-บาท เป็นเงิน 2,500.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 70.-บาท เป็นเงิน 7,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คุณแม่มือใหม่มีความรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ และเกิดความตระหนักในการเข้ารับการตรวจครรภ์โดยบุคลากรสาธารณสุข ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ลดภาวะเสี่ยงในช่วงตั้งครรภ์ได้ตลอดจนถึงคลอด
2. หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยบุคลากรสาธารณสุข ลดภาวะเสี่ยงของแม่และทารกหลังคลอดมากขึ้น
3. ความครอบคลุมในการฉีดวัคซีนในเด็กอายุครบ 0-2 ปี เพิ่มขึ้น


>