กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ชุมชนบ้านคอหงส์ 6

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กลุ่มจัดการขยะอินทรีย์ชุมชนบ้านคอหงส์ 6

1. นางพัทนัย แก้วแพง
2. นางจุรีรัตน์ รัตนสุข
3. นางยุพา นาคช่วย
4. นางวไลวรรณ ไพศาล
5. นางอนงค์ สุกแก้วมณ๊

ชุมชนบ้านคอหงส์ 6 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรู้ในการจัดการขยะ

 

0.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน

 

0.00

ในปัจจุบันปัญหาขยะ เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ ซึ่งยากที่จะแก้ไขและสาเหตุหนึ่งเกิดจากประชาชนไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้น ส่วนมากแล้วจะทิ้งลงข้างทางบ้าง หรือทิ้งลงตามแม่น้ำลำคลองบ้าง และสำหรับการทิ้งขยะลงแม่น้ำจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่คนทั่วไปไม่รู้จักการคัดแยกขยะ นอกจากนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้กำหนดให้ขยะเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเป็นการสนองนโยบายและการแก้ไขปัญหาขยะ เทศบาลเมืองคอหงส์ และกลุ่มจัดการขยะอินทรีย์ชุมชนบ้านคอหงส์ 6 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จึงต้องสร้างจิตสำนึกของการห้ามทิ้งขยะโดยปลูกฝังให้แก่เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไปพร้อมทั้งจัดหาวิธีการดำเนินการจัดการเกี่ยวกับขยะเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เนื่องจากการคัดแยกขยะมีประโยชน์มาก พร้อมกับเสนอวิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง เพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนการจัดการขยะที่ถูกต้อง ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนในหลายๆด้าน และมีลักษณะคล้ายกันเกือบทั่วประเทศ ทำให้เกิดมลพิษทางดิน น้ำ และอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆ และพาหนะนำโรค ทำลายทัศนียภาพ อีกทั้งก่อให้เกิดเหตุรำคาญเกิดปัญหาเรื่องกลิ่น แมลงรบกวนในชุมชน ปัญหาด้านขยะมูลฝอยเกิดขึ้นกับชุมชนทุกแห่ง ทั้งเมืองขนาดเล็ก ถึงเมืองใหญ่ในตัวจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือแม้กระทั้งในชุมชนบ้านคอหงส์ 6 ก็เป็นอีกชุมชน ที่ประสบกับปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการแบบเดิมๆ คือ การฝั่งกลบและเผากลางแจ้ง ซึ่งเป็นวิธีการจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกวิธี จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปนเปื้อนของมลพิษต่อดิน แหล่งน้ำ ที่สำคัญกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆและแหล่งพาหนะนำโรค ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

กลุ่มจัดการขยะอินทรีย์ชุมชนบ้านคอหงส์ 6 ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ชุมชนบ้านคอหงส์ 6 โดยเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ต้นทาง ระหว่างทาง และปลายทาง สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆ และลดพาหนะนำโรคเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนชุมชนบ้านคอหงส์ 6 ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะแก่ครัวเรือนมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

ร้อยละของครัวเรือนสามารถจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกได้ถูกต้อง

0.00 80.00
2 เพื่อให้ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องและลดพาหนะนำโรคเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชน

ร้อยละของครัวเรือนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องและลดพาหนะนำโรคเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชน

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 15/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมชี้แจงคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีแผนการดำเนินงานโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก และการจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือน ให้แก่ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 ครัวเรือน แบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 50 ครัวเรือน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 3 เมตร x 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท
2. ค่าถังเบอร์ 11 แกลลอน (ความจุ 27 ลิตร) จำนวน100 ถัง x 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
3. ค่าป้ายอะคริลิค จำนวน 1 ป้าย x 400 บาท เป็นเงิน 400 บาท
4. ค่าวิทยากร รุ่นที่ 1 (รุ่นละ 50 คน) จำนวน 1 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
5. ค่าวิทยากร รุ่นที่ 2 (รุ่นละ 50 คน) จำนวน 1 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
6. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม รุ่นที่ 1 (รวมเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง) จำนวน 61 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,525 บาท
7. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม รุ่นที่ 2 (รวมเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง) จำนวน 61 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,525 บาท
8. ค่าจ้างตัดก้นถัง จำนวน 100 ใบ x 10 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
9. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถจัดการขยะในครัวเรือนเพื่อมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
  2. ครัวเรือนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถจัดการขยะในครัวเรือนเพื่อมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
2. ครัวเรือนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกเพิ่มขึ้น


>