กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมป้องกันแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ ประจำปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะจัน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิตและพัฒนาการในทุกด้าน เป็นช่วงวัยที่พัฒนาการทางด้านต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุดและเป็นฐานรากที่สำคัญสำหรับพัฒนาการในช่วงวัยต่อๆ ไป เด็กในวัยนี้จึงเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของประเทศ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย จะสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพและจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไปในอนาคต ปัจจัยที่ทำให้เด็กปฐมวัยเกิดพัฒนาการด้านต่างๆ ที่เหมาะสมตามวัย คือ การกระตุ้นพัฒนาการ และการมีโภชนาการที่ดี
อาหารที่ดีมีคุณภาพและเพียงพอ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรในสถานศึกษา ตลอดจนคนในชุมชนเองควรให้ความสำคัญ จากการวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขทั้งในและต่างประเทศพบว่าเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการล้าช้า เกิดจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ขาดสารอาหาร บางรายอาจอย่างรุนแรงจนทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ น้ำหนักน้อย การรับประทานอาหารที่ดีมีคุณภาพและปริมาณเพียงพอนั้น จะทำให้เด็กมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ ร่างกายแข็งแรง มีความมั่นคงทางอารมณ์ สามารถเข้ากับสังคมได้ ไอคิวสูง มีพลังงานสามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ และสมองปลอดโปร่งพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะได้สำรวจข้อมูลเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปีการศึกษา 2565พบว่า ในช่วงจัดการเรียนการสอนปกตินั้นเด็กจะได้รับประทานอาหารเที่ยงที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในปริมาณที่เพียงพอและสารอาหารครบถ้วนอยู่แล้ว แต่ยังพบปัญหาเด็กปฐมวัยบางคนมีภาวะทุพโภชนาการ และบางคนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะทุพโภชนาการ สำรวจทั้งหมด 56 คน พบว่า มีจำนวนเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 4 คน และเสี่ยงทุพโภชนาการ จำนวน 11 คน โดยสาเหตุหลักมาจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อาหารที่เด็กนักเรียนรับประทานจากบ้านส่วนใหญ่รับประทานเน้นแต่คาร์โบ ไฮเดรต ไม่ค่อยรับประทานอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งโปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญมีส่วนช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต เสริมสร้างความแข็งแรง ป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยง่ายเสริมสร้างเซลล์เนื้อเยื่อของอวัยวะ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยฯ ขึ้น ประกอบกับหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท 0816.2/ ว2718 ลงวันที่ 5 กันยายน 2565 แจ้งว่าศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้(กพต.) ได้มีมติในคราวประชุม กพต.ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 อนุมัติในหลักการโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาวะ และภาวะโภชนาการต่ำของเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564-2568 (รวม 5 ปี) มีพื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ฯ ซึ่งจากการประชุมหารือได้มีมติให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเตรียมเสนอโครงการในการขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ครู บุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
ตัวชี้วัด ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ภาวะโภชนาการ และการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
2. เพื่อลดปัญหาเด็กปฐมวัยที่เป็นกลุ่มเสี่ยง และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการส่งเสริมโภชนาการ และรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ
ตัวชี้วัด ร้อยละ 100 ของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะทุพโภชนาการ และเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลช่วยเหลือ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 56
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 9
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

- ค่าป้ายไวนิล 1 x 3 เมตรเป็นเงิน750.- บาท - ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คน x 70 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 4,550.- บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,550.- บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 600 บาท x 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12850.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแจกไข่ไก่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแจกไข่ไก่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไข่ไก่สำหรับเด็ก 15 คน x 4 แผง x 140 บาท เป็นเงิน 8,400.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเจริญเติบโต และมีพัฒนาการเหมาะสมตามสมวัย


>