กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังดูแลป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลรือเสาะ /ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลรือเสาะ

1.นายสมานแซดอซา ตำแหน่ง ประธานอสม.หมู่ 4
2.นางสาวฮาซือมัส มูเดาะมาตี ตำแหน่ง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 4
3.นางสาวรุสน๊ะเว้งสีลา ตำแหน่ง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 4
4.นายสะลีแดสีลา ตำแหน่ง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 4
5.นางสาวปาตีเม๊าะ เจ๊ะโซ๊ะ ตำแหน่ง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 4

เขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลรือเสาะ 4 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

 

1.00

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ยังพบว่าเป็นปัญหา ที่สำคัญของประเทศไทย จากฐานข้อมูลของสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่าอุบัติการณ์ผู้ป่วยราย ใหม่ในปี 2563 อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เท่ากับ 328 ต่อ ประชากร 100,000 คน ซึ่งมีแนวโน้มสูงมากขึ้น ข้อมูลอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย stroke ที่ 30 วัน สูงกว่าการเสียชีวิตในโรงพยาบาลประมาณร้อยละ 6 บ่ง ชี้ว่าการแลผู้ป่วยในระยะ intermediate care น่าจะมี ปัญหา เพราะเกิดการเสียชีวิตของผู้ป่วยในช่วง 30 หลัง ออกจากโรงพยาบาล ซึ่งอาจเกิดจากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อของผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ได้แก่ aspiration pneumonia, urinary tract infection หรือ pressure sore ดังนั้นการพัฒนาการวางแผนการ จำหน่ายผู้ป่วย discharge planning และการติดตาม ให้คำปรึกษา และเยี่ยมบ้านช่วงแรกหลังออกจาก โรงพยาบาลนั้นมีความสำคัญอย่างมาก การมีทีมสุขภาพ ประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว พยาบาล นัก กายภาพบำบัด และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุข ภาพตำบล หรือหน่วยปฐมภูมิมีความจำเป็นอย่างยิ่งใน การดูแลผู้ป่วยหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในเนื้อสมอง intracerebral hemorrhage นั้นเป็นสิ่งที่ทีมต้องให้ความ ตระหนักมากขึ้น เนื่องจากอัตราการเสียชีวิตนั้นสูงมากและไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงด้วย ดังตารางที่ 5 ซึ่งจะพบ ว่าอัตราการเสียชีวิตนั้นสูงประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วย นั้นเสียชีวิต โดยอาจเกิดจากธรรมชาติของโรคที่มีอันตรายสูงมาก หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนระหว่างการ รักษาในโรงพยาบาล เพราะผู้ป่วยเหล่านี้มีอัตราการใส่ ท่อช่วยหายใจสูงกว่าผู้ป่วย cerebral infarction มาก อาจเกิดภาวะ hospital acquired pneumonia ดังนั้นการ ดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วย stroke unit อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ ซึ่งในปัจจุบันผู้ป่วย intracerebral hemorrhage นั้นมักจะไม่ได้ให้การรักษา ในหอผู้ป่วย stroke unit เนื่องจากที่ผ่านมาหอผู้ป่วย stroke unit จะรับดูแลเฉพาะผู้ป่วย cerebral infarction เป็นหลัก และยังมีไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย ดังนั้นสิ่ง ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คือ การเพิ่มหอผู้ป่วย stroke unit สำหรับผู้ป่วย intracerebral hemorrhage โดยการ ขยายหอผู้ป่วย stroke unit ให้ดูทั้งผู้ป่วย cerebral infarction ร่วมกับ intracerebral hemorrhage หรือจะ แยกหอผู้ป่วย stroke unit เป็น 2 ส่วน คือ เฉพาะผู้ป่วย cerebral infarction และเฉพาะผู้ป่วย intracerebral hemorrhage
ในส่วนของสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองในอำเภอรือเสาะในงบประมาณ 2564 จำนวน 186 ราย ปีงบประมาณ2565 จำนวน 258 ราย เพิ่มขึ้นจากเดิม 72 ราย ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถานการณ์ดั่งกล่าวจึงทำให้เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านรือเสาะได้มองเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังดูแลป้องกันโรคหลอดเลือดสมองขึ้นเพื่อจะได้เป็นประโชนย์ต่อชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เจ้าหน้าที่อสม.สามารถประเมินส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไปโรงรพ.รือเสาะในภาย 4 ชม.
  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลใกล้บ้านภายในระยะเวลา 4 ชม. ร้อยละ 100
1.00 0.00
2 2. เพื่ออบรมเสริมความรู้เพิ่มพูนทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสุขภาพอย่างถูกต้อง

2.เพื่ออบรมเสริมความรู้เพิ่มพูนทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสุขภาพอย่างถูกต้อง ร้อยละ100

1.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมย่อยที่๑ การจัดอบรมให้ความรู้ผู้นำชุมชนและผู้ป่วยเรื้อรังเชิงปฏิบัติการในเรื่องของโรคหลอดเลือดสมอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อยที่๑ การจัดอบรมให้ความรู้ผู้นำชุมชนและผู้ป่วยเรื้อรังเชิงปฏิบัติการในเรื่องของโรคหลอดเลือดสมอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1 การจัดอบรมให้ความรู้ผู้นำชุมชน กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเรื้อรังเชิงปฏิบัติการในเรื่องของโรคหลอดเลือดสมอง
-ค่าอาหารกลางวัน ( 70 คน x 60 บาท x 1 มื้อ )เป็นเงิน4,200 บาท -ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง ( 70 คน x 30 บาท x 2 มื้อ)เป็นเงิน4,200 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 600 บาท x 6 ชม.x 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าวัสดุสำนักงาน (สมุดบันทึก,ปากกา ฯลฯ)
ค่าสมุด 70 คน x 10 บาท = 700 บาท ค่าปากกา 70 คน x 5 บาท = 350บาท -ค่าประเป๋าเอกสาร 70 คน x 60 บาท = 4,200 บาท -ค่าไวนิล 800 บาท รวมเป็นเงิน 18,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2023 ถึง 30 กันยายน 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เจ้าหน้าที่อสม.ผู้นำชุมชนและผู้ป่วยเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและการป้องกันได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เจ้าหน้าที่อสม.มีความรู้ความสามารถในการประเมินและส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกต้องและทันเวลา
2.ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการส่งต่อและรักษาภายใน 4 ชม.
3.เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและความพิการจากโรคหลอดเลือดสมอง


>