กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมการแปรงฟันในตาดีกา นูรุลยันนะห์ ปี 66

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง

1. นายมะแอ ยูโซะ
2. นายอุสมาน หะยีสมาแอ
3. นายรอแม ยูโซะ
4. นายอิสมาแอ อุเซ็ง
5. นายมะแอ เปาะซา

ศูนย์การศึกษาประจำมัสยิด(ตาดีกา) นูรุลยันนะห์ (ตากอง) หมู่ที่ 6

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

100.00

ในปัจจุบันเด็กมีการบริโภคขนมคบเคี้ยวกันอย่างแพร่หลาย ขนมแต่ละชนิดมีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมารมาก โดยเฉพาะลูกอม ลูกกวาด ซึ่งมีสีสันสวยงาม ทำให้เด็กชอบซื้อมากินอยู่เสมอ หากนักเรียนกินลูกอม ลูกกวาดบ่อยๆ แล้วไม่รักษาดูแลสุขภาพในช่องปาก ไม่มีการแปรงฟันที่ถูกวิธี อาจส่งผลทำให้สุขภาพในช่องปากเสีย ฟันผุได้ ถ้าเด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี ฟันผุ ส่งผลต่อการพัฒนาการ และโภชนาการของเด็ก สุดท้ายส่งผลต่อการเรียนของเด็กในอนาคต จากปัญหาดังกล่าว ทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง ร่วมกับคณะผู้สอนประจำศูนย์การศึกษาประจำมัสยิด(ตาดีกา) นูรุลยันนะห์ (ตากอง) จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการแปรงฟันในตาดีกานูรุลยันนะห์ ปี 66 โดยจัดทำโครงการและดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ มีทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรักษาสุขภาพปากและฟันของตนเองจนเกิดเป็นนิสัยในอนาคต
ดังกล่าวข้างต้นทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง มองเห็นว่าทางกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง เป็นกองทุนที่ใกล้ชิดกับประชาชนระดับรากหญ้า มีงบประมาณที่จะสนับสนุนเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการแปรงฟันในตาดีกานูรุลยันนะห์ ปี 66 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ มีทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ มีทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก

100.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติและแปรงฟันที่ถูกวิธี

ร้อยละ 80 ของนักเรียนสามารถปฏิบัติและแปรงฟันที่ถูกวิธี

100.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการชมรมร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการ    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 มื้อ x 25 บาท   เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการประชุมตามแผนงานที่กำหนด และเข้าใจในิจกรรมทีจะขับเคลื่อน
  2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและตระหนักในปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน
  3. มีการมอบหมายงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมความรู้การดูแลสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมความรู้การดูแลสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน 6 – 12 ปี ตามหัวข้อดังนี้      1. โรคต่างๆที่เกิดในช่องปาก      2. การดูแลสุขภาพช่องปาก      3. การแปรงฟันที่ถูกวิธี          - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน  100 คน x 60 บาท  เป็นเงิน 6,000  บาท          - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 100 คน x มื้อละ 35 บาท x 2 มื้อ   เป็นเงิน  7,000 บาท
         - ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชม. x 600 บาท   เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้นำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง
  2. ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ มีทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14800.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมฝึกทักษะการแปรงฟันและตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมฝึกทักษะการแปรงฟันและตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมส่งเสริมฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี สร้างสุขนิสัยที่ดีอย่างต่อเนื่อง และตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากเบื้องต้น

งบประมาณ - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 3,000 บาท (แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ ฯลฯ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนสามารถปฏิบัติและแปรงฟันที่ถูกวิธี
  2. มีการใส่ใจสุขภาพช่องปาก และดูแลอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำรายงานผลโครงการ กิจกรรมต่างๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานส่งคณะกรรมการกองทุนเป็นรูปเล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,800.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ
2. ประชุมคณะกรรมการศูนย์ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ
3. จัดอบรมเรื่องโรคในช่องปากและการดูแลสุขภาพในช่องปากที่ถูกต้อง
4. ส่งเสริมการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน
5. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ มีทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก
2. นักเรียนมีความรู้ในการดูแลช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี


>