กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านโคกโตนด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด

อาคารอเนกประสงค์มัสยิดนูรุดดิน หมู่ที่ 3

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มี CVD Risk ≥ 20%

 

4.16

ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสเหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง และทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ 3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลกสาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลก
จากการรวบรวมข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนดพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานทั้งหมด 117 คน แบ่งเป็น 1.จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างเดียว 80 คน 2.จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างเดียว 10 คน 3.จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 100 คน และ 4.จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 37 คน อัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในปีงบประมาณ 2565 โรคความดันโลหิตสูงจำนวน 2 คน และโรคเบาหวานจำนวน 1 คน และข้อมูลตัวชี้วัด NCD Plus ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการค้นหาและคัดกรองโรคไตเรื้อรัง 5 ปี ย้อนหลัง ดังต่อไปนี 47.37,63.93,69.88,78.49 และ 34.94 ตามลำดับ และร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน และ/หรือ ความดันโลหิตสูงที่มี CVD Risk ≥ 20% 4 ปีย้อนหลัง 1,1,3 และ 2 คน (ข้อมูลจาก HDC วันที่ 10/11/2565)
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนดมีอัตราการป่วยที่สูงขึ้นและผู้ป่วยยังขาดการตระหนักต่อการดูแลตนเองที่เหมาะสม ซึ่งมาตรการในการดูแลรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้ให้การรักษาและความร่วมมือของผู้ป่วยในการดูแลสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนดจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านโคกโตนด เพื่อมุ่งเน้นให้ดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นสาเหตุการเสียชีวิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

 

80.00
2 2.เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน

 

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชนเพื่อชี้แจงโครงการและร่วมวางแผนการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชนเพื่อชี้แจงโครงการและร่วมวางแผนการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชนเพื่อชี้แจงโครงการและร่วมวางแผนการดำเนินโครงการ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม    จำนวน 30 คนๆ ละ 25 บาท X 1 มื้อ    เป็นเงิน  750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายรับทราบและพร้อมไปประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มผู้ป่วยเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองที่เหมาะสม สร้างความตะหนักถึงความสำคัญของป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะส่งผลต่อการเกิดความพิการและเสียชีวิตในวัยอันสมควร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มผู้ป่วยเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองที่เหมาะสม สร้างความตะหนักถึงความสำคัญของป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะส่งผลต่อการเกิดความพิการและเสียชีวิตในวัยอันสมควร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มผู้ป่วยเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองที่เหมาะสม สร้างความตะหนักถึงความสำคัญของป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะส่งผลต่อการเกิดความพิการและเสียชีวิตในวัยอันสมควร - ค่าเอกสารการประชุม ชุดละ 30 บาท ประกอบด้วยสมุดและปากกา จำนวน 80 ชุด  เป็นเงิน  2,400 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆ ละ 50 บาท X 1 มื้อ      เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ    เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าไวนิลป้ายโครงการ ขนาด 1*2 เมตร    เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน 10,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมฟื้นฟูองค์ความรู้แก่ทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพื่อเสริมทักษะการดูแลกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังที่ถูกต้อง การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับกลุ่มโรค การออกกำลังตามวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมฟื้นฟูองค์ความรู้แก่ทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพื่อเสริมทักษะการดูแลกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังที่ถูกต้อง การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับกลุ่มโรค การออกกำลังตามวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมฟื้นฟูองค์ความรู้แก่ทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพื่อเสริมทักษะการดูแลกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังที่ถูกต้อง การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับกลุ่มโรค การออกกำลังตามวัย - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 27 คนๆ ละ 50 บาท X 1 มื้อ      เป็นเงิน 1,350 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 27 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ    เป็นเงิน 1,350 บาท
รวมเป็นเงิน 2,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครประจำหมู่บ้านได้รับความรู้ในการดูแลคนไข้ในพื้นที่ได้ถูกต้องและเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ ๔ ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านเพื่อติดตามผู้ป่วยให้ไปรับยาตามนัด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๔ ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านเพื่อติดตามผู้ป่วยให้ไปรับยาตามนัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าพาหนะสำหรับการติดตามเยี่ยมบ้าน จำนวน 27 คนๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 ครั้ง         เป็นเงิน 1,350 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยได้รับการเยี่ยมบ้านจากอาสาสมัครประจำครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยรู้ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและรู้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันและชะลอการดำเนินโรคสู่ภาวะแทรกซ้อน มีทักษะการดูแลตนเองที่บ้าน (Self-care skills )
2. ไม่พบผู้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
3. ผู้ป่วยและสมาชิกครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี


>