กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ดารุลนาอีน (บาโงเปาห์) ปลอดบุหรี่ ปี 66

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมตาดีกาหมู่ที่ 8บ้านบางปลาหมอ

1. นายสะอารี มะตีเยาะ
2. นายอัชรีย์ สะมาแอ
3. นายดือราซ ยุนุ
4. นางเสาเดาะ ตาเละ
5. นางสาวซีตีคอรีเยาะ มูฮิ

หมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กวัยเรียนคือเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปี ซึ่งกำลังศึกษาในระดับประถมศึกษาการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านสุขภาพในเด็กกลุ่มนี้เป็นเรื่องสำคัญหากได้ปลูกฝังและเสริมสร้างพฤติกรรมอันพึงประสงค์ โรคหรืออุบัติเหตุต่างๆในเด็กวัยเรียนอาจพบได้บ่อย และจากสถานการณ์ด้านสุขภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภาวะทางทุพโชนาการ ยาเสพติด สุขภาพจิต ภัยมืดต่างๆที่คุกคามสุขภาพ ทางชมรมมองเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมและเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพให้แก่เด็กวัยเรียนต้องมีการการจัดกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆเพื่อให้เด็กๆได้เข้าร่วมกิจกรรมในการเรียนรู้ให้เข้ากับวัยที่กำลังเรียนรู้ และเติบโตอย่างมีคุณภาพในอนาคต กิจกรรมที่เข้ากับกลุ่มวัยนี้คือการปลูกฝังทัศนคติในสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ
ทุกภาคส่วนในพื้นที่ต้องร่วมกันเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพ ชมรมตาดีกาบ้านบางปลาหมอก็เป็นองค์กรที่มีความสำคัญในพื้นที่มีหน้าที่ในการฝึกอบรมเยาวชนอายุ 6 – 12 ปี ให้มีจริยธรรม ความรู้ และพัฒนาการของเยาวชน นอกเหนือจากเวลาเรียนปกติของเยาวชน เป็นเวลายาวนานได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และยังเห็นคุณค่าของการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ช่วงเวลาปีที่ผ่านๆมา ทางชมรมได้ของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยงในการจัดทำโครงการเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของเยาวชนที่อยู่ในความดูแลโดยเน้นกิจกรรมที่มีการส่งเสริมองค์ความรู้เพื่อให้เกิดทักษะการใช้ชีวิตในประจำวันที่ดีขึ้น กิจกรรมที่มีการขยับ การเคลื่อนไหวทางกายการสร้างจิตสำนึกหรือทัศนคติที่ถูกต้องก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังให้เยาวชนตั้งแต่เด็กๆ ทางชมรมได้มีการประชุมสมาชิกเพื่อที่ค้นหาปัญหาสุขภาพของชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กพบว่าปัญหาเรื่องการสูบบุหรี่ของคนในชุมชนมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย จากหลังคาเรือนในพื้นที่ทั้งหมด 180 หลังคาเรือน มีครัวเรือนที่มีสมาชิกสูบบุหรี่จำนวน 102 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 56.67 ของหลังคาเรือนทั้งหมด เป็นที่ทราบกันดีว่าควันบุหรี่มีโทษกับทุกคนไม่ใช่เฉพาะคนที่สูบหากปล่อยไว้โดยไม่ได้แก้ไขอาจทำให้มีคนสูบเพิ่มจำนวนมากขึ้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนกระบวนในการป้องกันไม่ให้อัตราคนที่สูบบุหรี่ในครัวเรือนเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในครอบครัวโดยเฉพาะเด็กดเยาวชนที่กำลังเติบโตในอนาคตได้ปลอดบุหรี่ จึงได้จัดทำโครงการนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก 6 – 12 ปี ในพื้นที่ได้มีความรู้ ทัศนคติที่ถูกต้อง ต่อบุหรี่และภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในปัจจุบัน

ร้อยละ 90 ของเด็ก 6 – 12 ปี ได้รับการอบรมและฟื้นฟูองค์ความรู้ด้านสุขภาพ

90.00 81.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 6 – 12 ปี ในหมู่บ้านได้มีกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกายอย่างสม่ำเสมอ

ร้อยละ 90 ของเด็ก 6 – 12 ปี ได้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วันๆละไม่น้อยกว่า 30 นาที

90.00 81.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการจัดประชุมผู้ปกครอง เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 25 บาท เป็นเงิน2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนมีส่วนร่วม เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาทักษะองค์ความรู้แก่เยาวชน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาทักษะองค์ความรู้แก่เยาวชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาทักษะองค์ความรู้แก่เยาวชนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เรื่องบุหรี่และภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในปัจจุบัน (จัดอบรมเยาวชนในศูนย์ตาดีกา) - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 60 คน x 60 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท - ค่าวิทยากรจำนวน3 ชม. x 400 บาท เป็นเงิน1,200บาท - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 1 ผืน เป็นเงิน 720บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 7,620 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยาวชนมีความรู้เรื่องบุหรี่และภัยมืดที่คุกคามสุขภาพและเกิดทัศนคติที่ถูกต้อง นำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้แก่คนในครอบครัว คนรอบข้างต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7620.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์ไม่สูบบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่     - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม (สื่อไวนิล ป้ายประชาสัมพันธ์ต่างๆ สี กระดาษ ฯลฯ)      เป็นเงิน  3,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ และประชาชนทั่วไปเกิดความตระหนัก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในบริเวณศูนย์

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในบริเวณศูนย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาสร้างสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดี    - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม (ถุงดำ ถุงแดง ถังขยะ วัสดุทางการเกษตร จอบ เสียม พันธ์ไม้ และอื่นๆเพื่อใช้ในกิจกรรม)    เป็นเงิน    2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และเยาวชนมีความตระหนักเกิดทัศนคติที่ดี ทักษะชีวิตที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกาย ในเวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกาย ในเวลาว่างให้เป็นประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกาย ในเวลาว่างให้เป็นประโยชน์      - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจิดกิจกรรม (ลูกฟุตบอล วอลเลย่ ตะกร้อ แฮนด์บอล เชือกกระโดด และอื่นๆที่ใช้ในกิจกรรม     เป็นเงิน    2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยาวชนได้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย ส่งผลที่ดีต่อพัฒนาการเด็ก และออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จนเกิดทักษะการเล่นกีฬาต่างๆ เพื่อต่อยอดต่อไปมีความรัก ความชอบในการเล่นกีฬา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,620.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. ประชุมผู้ปกครอง เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
2. พัฒนาทักษะองค์ความรู้แก่เยาวชนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ
3. กิจกรรมรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
4. ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาสร้างสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม
5. ส่งเสริมกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกาย ในเวลาว่าง
6. สรุปและประเมินผลโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราการสูบบุหรี่ในพื้นที่ลดลง
2. ทัศนคติที่ถูกต้องของผู้สูบบุหรี่ดีขึ้น
3. เยาวชนในศูนย์ตาดีกาดารุลนาอีน มีความรู้ด้านสุขภาพ เพิ่มขึ้น
4. เด็กและเยาวชนมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
5. เยาวชนในพื้นที่ได้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมจิตอาสาต่างๆ เช่น กิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพ กิจกรรมดูแลสิ่งแวดล้อม
6. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานในพื้นที่


>