กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยกินผัก รักสุขภาพในเด็กปฐมวัย ศพด.บ้านบาโงสนิง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงสนิง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงสนิง หมู่ที่ 6 ตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

5.00
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

 

5.00
3 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน

 

5.00

หลักการและเหตุผล
ภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจังซึ่งมีเด็กไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงสนิง สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กวัยเรียน ผอม เตี้ย อ้วน เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การกินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ กินผัก ผลไม้น้อยลง การบริโภคขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเพิ่มขึ้น และกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายน้อยลง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กไทย โดยเฉพาะอาหารที่ไม่เป็นที่โปรดปรานของเด็ก เห็นจะไม่พ้น ผัก และผลไม้ ซึ่งเป็นอาหารที่จะให้สารพวกวิตามินทั้งหลายอันเป็นตัวการสำคัญในกระบวนการเจริญเติบโต และพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็กโดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็ก แต่ในปัจจุบันมีเด็กก่อนวัยเรียน ไม่ค่อยชอบทานผัก หรือถ้าหากได้ทานผัก ผักส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะซื้อมาจากตลาด ทำให้เด็กอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหารผัก ที่ไม่ปลอดภัยไม่ปลอดสารพิษ ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่าง ๆ ได้และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายที่กระตุ้นให้เด็ก และผู้ปกครอง ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลสุขภาพที่สามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมกิจกรรมทางสุขภาพที่มีความหลากหลายวิธีควบคู่กันไป จะช่วยสร้างโอกาสให้สุขภาพเด็กไทยได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัย ในการนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านบาโงสนิง ได้เล็งเห็นความสำคัญของประโยชน์ของผัก ภาวะโภชนาการและการดูแลสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยกินผัก รักสุขภาพขึ้น เพื่อจะได้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

5.00 2.00
2 เพื่อลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

5.00 2.00
3 เพื่อลดภาวะอ้วน ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน

5.00 2.00

1. เพื่อเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีภาวะทางโภชนาการตามวัย
2. เพื่อเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีเจตคติที่ดีต่อการรับประทานผัก
3. เพื่อครู ผู้ปกครองและผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการใน
เด็ก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 52
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ปกครอง 52

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 หนูน้อยกินผัก รักสุขภาพในเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
หนูน้อยกินผัก รักสุขภาพในเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมช่วงเช้า - บรรยายให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กปฐมวัย -ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการเด็กปฐมวัย กิจกรรมช่วงบ่าย -บรรยายเกี่ยวกับโภชาการเด็ก -สาธิตทำเมนูอาหาร -ผู้ปกครองลงมือปฏิบัติ
จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาวะ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามรายละเอียดดังนี้
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับตำบลกาวะ -ปูอัด-ขนาด 1000g ราคา 85 บาท 6 ถุง (85X6 ) เป็นเงิน 510 บาท -อกไก่ ราคา 168 บาท 2 ถุง (168x2 ) เป็นเงิน 336 บาท
-นำ้สลัดครีมมายองเนส ขนาด 1000g ราคา 65 บาท 6 ถุง (65 X 6 ) เป็นเงิน 390 บาท -น้ำสลัดครีมซีฟู๊ด ขนาด 500g ราคา 150 บาท 1 ถุง (150X1 ) เป็นเงิน 150 บาท -แผนเปาะเปี๊ยะญวน ราคา 60 บาท 6 ถุง (60X 6 )เป็นเงิน 360 บาท
-แครอก ราคา 65 บาท 2 ก.ก (65 X2 ) เป็นเงิน 130 บาท
-กะกล่ำม่วง ราคา 50 บาท 2 ก.ก (50 X2 ) เป็นเงิน 100 บาท
-ผักสลักโรล ราคา 120 บาท 3 ก.ก (120X3 ) เป็นเงิน 360 บาท
-แตงกวา ราคา 40 บาท 2 ก.ก (40 X2 ) เป็นเงิน 80 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 52 คน X 60 บาท เป็นเงิน 3,120.- บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 52 คน X 30 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,120.-บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด (1.4.X2.6 เมตร)จำนวน1ป้าย เป็นเงิน 910 บาท
-ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท (6x600) เป็นเงิน 3,600 บาท รวมเป็นเงิน13,166 บาท (หนึ่งหมื่นสามพันหนึ่งร้อยหกสิบหกบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 28 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงสนิง จำนวน 52 คน - เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงสนิง จำนวน 52 คน ผลลัพธ์ - ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพในการ ทำผักที่หลากหลายน่ากิน เพื่อที่จะได้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง /ร้อยละ80 ผู้ปกครองมีความรู้รักษาสุขภาพของเด็ก - เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความเข้าใจในกินผักที่หลากหลายน่าประทานมากขึ้น /ร้อยละ70เด็กมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์มากขึัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13166.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,166.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กปฐมวัย มีภาวะทางโภชนาการตามวัย
2. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กมีเจตคติที่ดีต่อการรับประทานผัก
3. ครู ผู้ปกครองและผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการ


>