กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเรือนจำจังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

สถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดสตูล

นางกาญจนา ยกชู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (099-4172142)

เรือนจำจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี 2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานนการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และต่อไปได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพและปริมณฑลรวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด 37 จังหวัด และพื้นที่ควบคุม 11 จังหวัด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศซึ่งจังหวัดสตูล อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดด้วย อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาดเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูงของกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันตามหลัก New Normal และ DMHT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้จากข้อมูลการแพร่ระบาดในปัจจุบันผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เรือนจำจังหวัดสตูลมีประวัติเกิดโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) ภายในเรือนจำ จำนวน 3 ครั้งและมีมาตรการกักตัวเพื่อเฝ้าระวังในสถานที่เรือนจำจัดตั้งขึ้น กักตัวในห้องกักโรคของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูงหรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง มีการคัดกรองโดยพยาบาลเรือนจำ ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรือนจำจังหวัดสตูลได้มีความร่วมมือกันโรงพยาบาลสตูล จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)ซึ่งเป็นการเพื่อประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการให้ ATK ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางนการตรวจและควบคุมโรคนี้ ในการนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและองค์การเภสัชกรรมร่วมกันจัดหาชุด ATK เพื่อให้หน่วยงานสาธารณสุขนำไปให้ประชาชนในการตรวจคัดกรองตนเองและตรวจเชิงรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ที่ มท.0808.2/ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เรือนจำจังหวัดสตูลจึงได้จัดทำ โครงการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในเรือนจำจังหวัดสตูล ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวังคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK

เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วย ATK ร้อยละ 100

100.00
2 เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ะบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ภายในเรือนจำ

เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงสูงติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ไม่เกินร้อยละ 50

50.00

1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวังคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK
2. เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ะบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ภายในเรือนจำ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 872
กลุ่มผู้สูงอายุ 19
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 55
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 836
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเรือนจำจังหวัดสตูล

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเรือนจำจังหวัดสตูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังเรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2.ดำเนินการคัดกรองเจ้าหน้าที่และกลุ่มผู้ต้องขังกลุ่ม 608 (กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง)ด้วยชุดตรวจ ATK สัปดาห์ละ 1 ครั้ง (จนท.จำนวน 68 คน ผู้ต้องกลุ่ม 608 จำนวน 55 คน)
3.ดำเนินการคัดกรองผู้ต้องขังเข้าใหม่ ด้วยชุดตรวจ ATK ทุกราย (เฉลี่ย 10 คน/วัน)
4.กรณีพบผลการตรวจ ATKเป็นบวก ดำเนินการประสานโรงพยาบาลสตูล เพื่อเข้ารับการรักษาตามมาตรฐานต่อไป
5.กรณีพบผลการตรวจ ATK เป็นลบ สร้างความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังในการกักกันตัวเพื่อลดความเสี่ยงกังวลจากผู้อื่น และติดตามสังเกตอาการ
6.ผลิตหน้ากากผ้าเพื่อแจกให้ผู้ต้องขัง
7.สรุปผลเนินงานโครงการนำส่งคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ

งบประมาณ
1.ชุดตรวจ ATK ราคาชุดละ 30 บาท จำนวน 1,500 ชุด เป็นเงิน 45,000 บาท
2.เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด ราคาเครื่องละ 1,100 บาท จำนวน 5 เครื่อง เป็นเงิน 5,500 บาท
3.วัสดุจัดทำหน้ากากแบบผ้าผลิตเอง 9,940 บาท 1).ผ้ามัสลิน หลาละ 85 บาท จำนวน 50 หลา เป็นเงิน 4,250 บาท
2).ผ้าโทเรหลาละ 45 บาท จำนวน 50 หลา เป็นเงิน 2,250 บาท
3).ยางยืด (420 หลา) ห่อละ 590 บาท จำนวน 4 ห่อ เป็นเงิน 2360 บาท
4).ยางเบอร์ 4 (288 หลา) ม้วนละ 470 บาท จำนวน 2 ม้วน เป็นเงิน 940 บาท
5).ด้ายวีนัส สีขาว หลอดละ 14 บาท จำนวน 10 หลอด เป็นเงิน 140 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ต้องขังในเรือนจำได้รับการตรวจคัดกรองโควิด 19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
60440.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,440.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วยชุดตรวจ ATK
2. ลดความเสี่ยงจากการแพร่ะบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ภายในเรือนจำ


>