กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีตำบลจวบ รู้ก่อนโรคเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ

พื้นที่ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในพื้นที่ตำบลจวบอีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจหรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังมีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆในการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลงดังนั้นการควบคุมป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการควบคุมการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังนั้นต้องประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลายอารมณ์เครียดและการใช้ยาร่วมด้วยซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้สามารถควบคุมโรคและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในตำบลจวบมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยโรคดังกล่าวสามารถป้องกันได้หลายวิธี การส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มสตรีในตำบลให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เพื่อการดูแลคนในครอบครัวให้ปลอดภัยจากโรคเรื้อรังดังกล่าว ดังนั้น งานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ จึงจัดทำโครงการสตรีตำบลจวบ รู้ก่อนโรคเรื้อรัง ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง มีความรู้ สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน สามารถรู้ก่อนโรคและเฝ้าระวัง ควบคุมพฤติกรรมต่างๆที่ส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ต่อไปได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยง 3. เพื่อสร้างเครือข่ายสตรีในการป้องกันโรคเรื้อรัง
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง
  2. น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 1.85 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ไม่เป็นผู้ป่วยรายใหม่
  3. มีเครือข่ายในการป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชน
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 700
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/02/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่อง รู้ทันโรคเรื้องรัง รุ่นที่ 1 จำนวน 250คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่อง รู้ทันโรคเรื้องรัง รุ่นที่ 1 จำนวน 250คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุ่นที่ 1 วันที่ 13 มีนาคม 2566
- ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600บาท จำนวน 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000.-บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 250คนๆละ 2มื้อๆละ 25บาท เป็นเงิน 12,500.-บาท
- ค่าอาหารกลาง วันจำนวน 250คนๆละ 1มื้อๆละ 60บาท เป็นเงิน 15,000.-บาท
- ค่าวัสดุในการฝึกอบรม จำนวน 250คนๆละ 60บาท (สมุด ปากกา กระเป๋า) เป็นเงิน 15,000.-บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.2X2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720.-บาท
รวมเป็นเงิน 46,220.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มีนาคม 2566 ถึง 13 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้
  2. มีเครือข่ายป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46220.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ เรื่อง รู้ทันโรคเรื้องรัง รุ่นที่ 2 จำนวน 250คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่อง รู้ทันโรคเรื้องรัง รุ่นที่ 2 จำนวน 250คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุ่นที่ 2 วันที่ 14 มีนาคม 2566
- ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600บาท จำนวน 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000.-บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 250คนๆละ 2มื้อๆละ 25บาท เป็นเงิน 12,500.-บาท
- ค่าอาหารกลาง วันจำนวน 250คนๆละ 1มื้อๆละ 60บาท เป็นเงิน 15,000.-บาท
- ค่าวัสดุในการฝึกอบรม จำนวน 250คนๆละ 60บาท (สมุด ปากกา กระเป๋า) เป็นเงิน 15,000.-บาท
รวมเป็นเงิน 45,500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มีนาคม 2566 ถึง 14 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้
  2. มีเครือข่ายป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45500.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ เรื่อง รู้ทันโรคเรื้องรัง รุ่นที่ 3 จำนวน 200คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่อง รู้ทันโรคเรื้องรัง รุ่นที่ 3 จำนวน 200คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุ่นที่ 3 วันที่ 15 มีนาคม 2566
- ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600บาท จำนวน 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000.-บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 200คนๆละ 2มื้อๆละ 25บาท เป็นเงิน 10,000.-บาท
- ค่าอาหารกลาง วันจำนวน 200คนๆละ 1มื้อๆละ 60บาท เป็นเงิน 12,000.-บาท
- ค่าวัสดุในการฝึกอบรม จำนวน 200คนๆละ 60บาท (สมุด ปากกา กระเป๋า) เป็นเงิน 12,000.-บาท รวมเป็นเงิน 37,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 15 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้
  2. มีเครือข่ายป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 128,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้
2. มีเครือข่ายป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชน


>