กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ตำบลแป-ระ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ

นายสมนึกอาดตันตรา
นางอัจฉรา ยาประจันทรื
นางสาวเสาวลักษณ์ลิ่มศรีพุทธิ์

องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระอำเภอท่าแพจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรังในตำบลแป-ระ ปี 2563 ส่วนใหญ่คือโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 553 ราย โรคเบาหวาน 190 ราย (ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์จังหวัดสตูล HDC. ปีงบประมาณ 2563) ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ โรคความดันโลหิตสูง 334 ราย ควบคุมโรคได้159 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.75 โรคเบาหวาน 129 ราย ควบคุมโรคได้ 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.53 จะเห็นได้ว่ามีการควบคุมโรคได้น้อย หากมีการควบคุมโรคไม่ได้มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนตามมา อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคจอประสาทตาเสื่อม แผลเรื้อรังจากโรคเบาหวาน อัมพฤกษ์,อัมพาต ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้ในอนาคต นอกจากนี้ผู้ป่วยติดเตียงยังเกิดจากการประสบอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน หรือสาเหตุอื่น ในปัจจุบันตำบลแป-ระ มีกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 14 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญที่จำต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม นอกจากการให้ความรู้ การให้กำลังใจ การเยี่ยมติดตามแล้ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังต้องการครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ด้วยสภาพเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้ป่วย บางครอบครัวไม่สามารถจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ได้ โดยเฉพาะเตียงนอนสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ และองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ยังมีเตียงสำหรับผู้ป่วยไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วยที่อาจมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในอนาคต
จากปัญหาดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องสุขภาวะของกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง จึงได้จัดทำโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ตำบลแป-ระ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (เตียงเฟาว์เลอร์) สำหรับผู้ป่วยติดเตียง

1 ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยติดเตียง มีเตียงสำหรับผู้ป่วยใช้อย่างเหมาะสม
2 ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีภาวะแทรกซ้อนลดลง

0.00

เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (เตียงเฟาว์เลอร์) สำหรับผู้ป่วยติดเตียง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (เตียงเฟาว์เลอร์)

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (เตียงเฟาว์เลอร์)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลแป-ระ รายละเอียดดังนี้ -ค่าจัดซื้อเตียงเฟาว์เลอร์ จำนวน 3 ชุด ๆ ละ 15,500 บาท      เป็นเงิน   46,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เตียงสำหรับผู้ป่วย (เตียงเฟาว์เลอร์)   สนับสนุนผู้ป่วยติดเตียง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ มีเตียงสำหรับผู้ป่วย (เตียงเฟาว์เลอร์) สนับสนุนผู้ป่วยติดเตียง
2 ผู้ป่วยติดเตียงที่ได้รับการสนับสนุนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3 ผู้ดูแลมีกำลังในในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น


>