กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมแกนนำชุมชนเฝ้าระวังคัดกรองโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมแกนนำชุมชนเฝ้าระวังคัดกรองโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า

1. นางสุพัฒน์วงษาศรี
2.นางสาวกาญจนาศักดิ์อาจ
3. นางสายธารจันทรสุข
4. นางสาวสุดารัตน์นนท์พละ
5. นางสาวอัญชลีทองติด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

10.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

25.00
3 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

9.21
4 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

17.14
5 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

7.14
6 ร้อยละของกลุ่มหรือชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

 

54.54
7 ร้อยละของแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจโรคทางสุขภาพจิตและจิตเวช

 

67.21
8 ร้อยละการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

 

76.10

หลักการและเหตุผล
การฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย จากรายงานกรมสุขภาพจิตพบว่า ในปี 2563 และปี 2564 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จรวมทั้งสิ้น 4,822 ราย และ 4,810 ราย คิดเป็น 7.37 และ 7.37 ต่อแสนประชากร กลุ่มอายุที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ ช่วงอายุ 30-40 ปี ซึ่งถือเป็นวัยแรงงานที่สำคัญของประเทศ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ มาจากการทะเลาะเบาะแว้งกับคนใกล้ชิด น้อยใจ ถูกดุด่า ถูกตำหนิ ปัญกาความรัก ความหึงหวง การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และโรคทางจิตเวช เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว รวมทั้งกลุ่มใช้สุราและสารเสพติดที่มีอาการจิตประสาทร่วมด้วย จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวนฆ่าตัวตายสำเร็จในปี 2563 และปี 2564จำนวน 129 ราย และ 110 ราย คิดเป็น 6.92 และ 5.91 ต่อแสนประชากร
ในพื้นที่ตำบลหนองเหล่า ปี 2565 มีการฆ่าตัวตายสำเร็จ จำนวน 1 ราย ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญนำไปสู่การฆ่าตัวตายมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัยที่ควรร่วมมือกันเฝ้าระวังและป้องกันอย่างจริงจัง ได้แก่ ปัญหาความสัมพันธ์ เช่น การน้อยใจ ถูกดุด่า โดนตำหนิ ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หุนหันพลันแล่น ถูกนอกใจ อกหักรักคุด รวมไปถึง มีปัญหาติดสุรา ยาเสพติด ทรมานจากโรคเรื้อรัง เป็นโรคจิต โรคซึมเศร้าอยู่เดิม เคยทำร้ายตัวเองมาก่อน ตลอดจนมีปัญหาเศรษฐกิจ ยากจน ขัดสน เงินไม่พอใช้ เสียทรัพย์จากการพนัน เป็นต้น การฆ่าตัวตาย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยซึ่งอยากให้มองว่าการฆ่าตัวตาย เป็นเหมือนโรคๆ หนึ่ง ที่รักษาได้ และ ป้องกันได้ ด้วยความร่วมมือจากทุกคน
การแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายที่สำคัญ คือ ต้องขับเคลื่อนด้วยผู้กำหนดนโยบายอย่างจริงจังพร้อมมีข้อมูลหลักฐานวิชาการที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาขับเคลื่อนไปได้ กลวิธีสำคัญในการดำเนินงานเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายในแต่ละประเทศ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ แผนงาน กลยุทธ์ ที่ชัดเจน การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง บูรณาการแก้ไขปัญหาใน ทุกรูปแบบ มีการประเมินอย่างเป็นระบบ คำนึงถึงการดูแลสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชที่เกี่ยวข้อง ลดการเข้าถึงอาวุธ สารเคมี และแอลกอฮอล์ ตลอดจน ความร่วมมือที่ดีจากสื่อมวลชนในการนำเสนอปัญหาการฆ่าตัวตายที่มีความถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนัก ลดและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย สำหรับมาตรการป้องกันในหน่วยงาน คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการฆ่าตัวตายและโรคทางจิตเวชต่างๆ การสังเกต เฝ้าระวัง เพื่อนร่วมงานที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือต่อไป ส่วนคนที่เคยมีอาการแล้วดีขึ้น จะมีการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก อย่างไรก็ตาม ปัญหาการฆ่าตัวตาย สามารถป้องกันได้ ทั้งจากคนใกล้ชิดและเพื่อนร่วมงาน โดยพบว่า การให้กำลังใจ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเองจะช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายลงได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า จึงได้จัดทำโครงการอบรมแกนนำชุมชนเฝ้าระวังคัดกรองโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายเพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและลดอัตราการฆ่าตัวตายในชุมชน จึงขอเสนอโครงการอบรมแกนนำชุมชนเฝ้าระวังคัดกรองโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย เพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล่า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

25.00 20.00
2 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60  ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

9.21 8.00
3 เพื่อลดเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

10.00 8.00
4 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

17.14 15.00
5 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

7.14 6.00
6 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

54.54 80.00
7 เพื่อให้ประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจโรคทางสุขภาพจิตและจิตเวช

ร้อยละของแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจโรคทางสุขภาพจิตและจิตเวช

67.21 80.00
8 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

76.10 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 136
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ก่อนดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
1. ก่อนดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 แต่งตั้งกรรมการดำเนินงาน 1.2 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและคืนข้อมูลให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทราบ 1.3 วิเคราะห์ปัญหาและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 1.4 จัดทำแผนการดำเนินงาน/จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อนุมัติโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. ขั้นดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
2. ขั้นดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค้นหา คัดครองและส่งต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและกลุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 2.2 ประเมินความสุขของคนในชุมชน 2.3 อบรมให้ความรู้เรื่องโปรแกรมสร้างสุขในชุมชนสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และแกนนำในชุมชน
2.4 ประชาสัมพันธ์รณรงค์สร้างกระแสในการเฝ้าระวังปัญหาการฆ่าตัวตาย 2.5 เฝ้าระวังติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยงและผู้พยายามฆ่าตัวตายโดยใช้โปรแกรม R506 Dashboard 2.6 ติดตามผลการดำเนินงาน งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 136 คนๆละ 50 บาทx 1 มื้อ        เป็นเงิน  6,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 136 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ    เป็นเงิน  6,800 บาท - ค่าวิทยากร 2 คนๆละ 600 บาท                    เป็นเงิน  1,200 บาท - ค่าป้ายอบรม                          เป็นเงิน     300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง
  2. เกิดระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
  3. ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตาม ดูแลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า
  4. ประชาชนกลุ่มที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการดูแลและส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15100.00

กิจกรรมที่ 3 3. ขั้นหลังดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
3. ขั้นหลังดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง
  2. เกิดระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
  3. ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตาม ดูแลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า
  4. ประชาชนกลุ่มที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการดูแลและส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง
2. เกิดระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
3. ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตาม ดูแลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า
4. ประชาชนกลุ่มที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการดูแลและส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง


>