กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานแก่แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านลำพด

1.น.ส.เรวดีศรีผล
2.นายถวิลอินทโน
3.นางดวงนภาเพ็ชรมุณี
4.นางนวพรเจริญสุข
5.นางศรีสุดาประยูรเต็ม

รพ.สต.บ้านลำพด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

11.00
2 จำนวนกิจกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน (เช่น มีการจัดประชุม ศปถ.อปท. ในลักษณะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน ไตรมาสละ 1 ครั้ง หรือมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางถนน)

 

1.00
3 จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

7.00

ปัจจุบันกลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบของประเทศไทย เคยประสบอันตรายหรือเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานคิดเป็น ร้อยละ 13.28 ของแรงงานทั้งหมดทั่วประเทศ โดยแบ่งความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุตามลักษณะการบาดเจ็บจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ 1) ของมีคมบาด/ทิ่ม/แทง,  2) พลัดตกหกลิ้ม, 3) การชน/กระแทก โดยวัสดุ, 4) ถูกไฟ/น้ำร้อนลวก, 5) อุบัติเหตุจากยานพาหนะ, 6) ได้รับสารเคมี, 7) ไฟฟ้าช็อต และ 7) อื่นๆ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาถึงความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุพบว่า การประสบอันตรายหรือการเจ็บป่วยส่วนใหญ่ หยุดงานไม่เกิน 3 วัน คิดเป็นร้อยละ 68.61 รองลงมา ได้แก่ หยุดงาน 3 วัน คิดเป็นร้อยละ 28.08 และเสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ 0.57 (สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค, 2556)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำพด พบผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ จำนวน 60 ครั้ง แบ่งตามลักษณะการบาดเจ็บ ดังนี้ 1)อุบัติเหตุขนส่ง 14 ครั้ง 2)พลัดตกหรือหกล้ม 2 ครั้ง 3)การชน/กระแทกวัตถุสิ่งของ 25 ครั้ง 4) การชน/กระแทกสัตว์หรือคน 2 ครั้ง 5)การสัมผัสพิษจากสัตว์หรือพืช 3 ครั้ง 6)การบาดเจ็บโดยไม่ทราบเจตนา 14 ครั้ง (ข้อมูลจากJHCIS ตั้งแต่ 1 ต.ค. 64 ถึง 30 ก.ย. 65) ซึ่งการประสบอันตรายหรือการเกิดอุบัติเหตุของแรงงาน ส่งผลกระทบในด้านรายได้, ค่ารักษาพยาบาล, การสูญเสียเวลา และอาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถลดความรุนแรงความสูญเสียดังกล่าวนี้ได้โดยการให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบอันตรายอย่างถูกต้องและทันท่วงที รวมถึงการส่งต่อผู้บาดเจ็บไปยังแพทย์หรือสถานพยาบาลได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอด และสามารถทำงานได้เป็นปกติในไม่ช้า
ดังนั้น การอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้กับแกนนำด้านสุขภาพในชุมชน จึงเป็นสิ่งที่สําคัญ ซึ่งการฝึกอบรมจะทําให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ที่ถูกต้องและได้รับการฝึกฝนจนชํานาญ สามารถ นําความรู้และทักษะที่ได้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้อื่นได้ในภาวะฉุกเฉิน ก่อนนําส่งสถานพยาบาลต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

11.00 5.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

7.00 3.00
3 เพื่อเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนนแบบสหสาขา

จำนวนกิจกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน (เช่น มีการจัดประชุม ศปถ.อปท. ในลักษณะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน ไตรมาสละ 1 ครั้ง หรือมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางถนน)

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายโครงการ ขนาด 1.2 เมตร X 2.4 เมตร X 1 ผืน เป็นเงินจำนวน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มีนาคม 2566 ถึง 28 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 1 แผ่น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจกฏจราจรและมีน้ำใจ

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจกฏจราจรและมีน้ำใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้นำชุมชน อสม.แกนนำชุมชน และประชาชนร่วมกันรณรงค์ ฯ ในพื้นที่

  • ค่าอาหารว่างและ้เครื่องดื่ม จำนวน 60 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2566 ถึง 5 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • การมีส่วนร่วมของประชาชน
  • สร้างกระแส การขับขี่ปลอดภัย ฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน รุ่นละ 50 คน จำนวน 2 รุ่น

ชื่อกิจกรรม
อบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน รุ่นละ 50 คน จำนวน 2 รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 6 ชั่วโมง x 2 วัน เป็นเงินจำนวน 7,200 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 50 บาท x 1 มื้อ x 100 คน เป็นเงินจำนวน 5,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท X 2 มื้อ X 100 คน เป็นเงินจำนวน 6,000 บาท
  • วัสดุสำนักงาน(แฟ้มกับปากกา) ชุดละ 20 บาท X 100 ชุด เป็นเงินจำนวน 2,000 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงินจำนวน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายผ่านการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20700.00

กิจกรรมที่ 4 ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)

ชื่อกิจกรรม
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • วัสดุทางการแพทย์(เพื่อการฝึกปฏิบัติเช่น ผ้าพันแบบยืด ไม้ดามแขน/ขา ฯลฯ) เป็นเงินจำนวน 2,000 บาท
  • ค่าเกียรติบัตรผู้ผ่านการอบรม ใบละ 10 บาท X 100 ใบ เป็นเงินจำนวน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต คือ แกนนำสุขภาพในชุมชนมีทักษะการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ผลลัพธ์ คือ แกนนำสุขภาพในชุมชนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,200.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถลดความรุนแรงความสูญเสียจากการประสบอันตรายหรืออุบัติเหตุได้
2.ผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดและสามารถทำงานได้เป็นปกติในไม่ช้า


>