กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ใช้ยาสมเหตุสมผล คนบาโลยปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโลย

ตำบลบาโลย อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สืบเนื่่องจาก นโยบายปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้มีการจัดทำ "ตัวชี้วัดบูรการณาการ" เพื่อให้เกิดมิติการทำงานเชื่อมโยง บูรณาการข้ามหน่วยงาน และเชื่อมโยงการทำงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นให้สอดประสานกันอย่างมีเอกภาพและจากสภาพความซับซ้อนของปัญหาการใช้ยาในชุมชน เนืี่องจากมีปัปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง หลายส่วนทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเอง ผู้สั่งยา ผู้ผลิตยา กระจายและ การควบคุมกำกับตามกฎหมาย ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงเสนอให้มีการกำหนดให้ ระดับความสำเร็จในการขัยเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน เป้นหนึ่งในตัวชี้วัดบูรณาการ ตามแผนบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน
จากปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลของคนในชุมชนเป็นปัญหาาที่มีความซับซ้อน และมีปัจจัยที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายส่วน ทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเอง ผู้สั่งใช้ยา ผู้ผลิตยา การกระจายยา ตลอดจนการควบคุมตามกฎหมาย ดังนั้นการดำเนินการจึงต้องใช้มาตราการที่หลากหลายทั้งความร่วมมือของหลายภาคส่วน หลายระดับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโลย มีหมู่บ้านที่ต้องรับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู้บ้าน ในตำบลบาโลยมีทั้งร้านค้า ร้านชำ และรถเร่ซึ่างพบว่ามีร้านชำบางร้านที่นำยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน มาขายให้แก่คนในชุมชน จากสภาพปัณหาดังกล่าวสำนักงานคณะกรรมการตอาหารและยา จึงได้กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัด และแนวทางการดำเเนินงานเพื่อให้การขับเคลื่อนกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ยาในชุมชน มีความชัดเจน และสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโลย จึงได้จัดทำโครงการการใช้ยาสมเหตุสมผล คนบาโลยปลอดภัยประจำปี งบประมาณ 2566 และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมกานอาหารและยา โดยใช้ชุมชนเป็นฐานซึ่งครอบคลุมประเด็๋นการใช้ยาปฏิชีวนะและการใช้ยาสเตียรอยต์โดยไม่จำเป็น เพื่อให้คนในชุมชนมีการพัฒนาการจัดการเรื่องยาให้สมเหตุสมผลและปลอดภัยในระยะยาวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนในตำบลบาโลยเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้องและสมเหตุสมผล โดยเฉพาะกลุ่มยาปฏิชีวนะ

 

0.00
2 2. เพื่อเฝ้าระวังและคตวบคุมแหล่งกระจายยาอันตรายโดยเฉพาะร้านชำในตำบลบาโลย

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 42
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 35
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. การสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนในตำบลบาโลย

ชื่อกิจกรรม
1. การสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนในตำบลบาโลย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมให้ความรู้แก่ตัวแทนผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง,อสม.และเจ้าของร้านชำเกี่ยวกับการใช้ยาอยางสมเหตุสมผลในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน(เช่น หวัดเจ็บคอ)โรคท้องร่วงเฉียบพลัน (เช่น ท้องเสียอาหารเป็นพิษ) และผลิตภัณฑ์สเตียรอยต์ 2. จัดอบรมให้ความรู้แก่คุณครู และนักเรียน เกี่ยวกับกิจกรรม อย.น้อย  3. ให้ความรู้แก่ผู้รับบริการใน รพ.สต. อย่างต่อเนื่อง โดยการจัดทำสื่อต่างๆที่เกี่ยวข้อง 4. ติดตามมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะใน รพ.สต.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20065.00

กิจกรรมที่ 2 2. เฝ้าระวังแหล่งกระจายยาอันตรายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
2. เฝ้าระวังแหล่งกระจายยาอันตรายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.  สำรวจร้านชำที่มีการขายยาอันตรายในชุมชน 2. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคืนข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมหารือแนวทางแก้ปัญหา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3480.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,545.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในตำบลบาโลยมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลและถูกต้อง
2. ร้านชำในตำบลไม่มีการขายยาอัตราย
3. มีเครือข่ายในการเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชน


>