กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย ขยับกาย สบายชีวา ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. นางซาลือมา สาและตำแหน่งเลขากองทุนฯ
2. นางสาวฟิรดาวส์ มายีซา ตำแหน่งผู้ช่วยเลขากองทุน

ณ หน้าองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้นทำให้ ประชาชนขาดการเคลื่อนไหวออกแรงในชีวิตประจำวัน ขาดการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการบริโภคที่ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคอ้วน และโรคที่เกิดจากการทำงาน (ออฟฟิศซินโดรม) การป้องกันส่งเสริมสุขภาพด้วยการเพิ่มกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย ลดการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการเข้าใจถึงโภชนาการที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี
ดังนั้นทางงานสาธารณสุขสำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตจะบิ้ง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย ขยับกาย สบายชีวา ประจำปีงบประมาณ 2566 แก่พนักงานและคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ที่มีภาวะเสี่ยง ในตำบลตะบิ้ง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะด้านกิจกรรมทางกาย ด้านออกกำลังกาย และ โภชนาการเพื่อให้พนักงานและคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ที่มีภาวะเสี่ยงสุขภาพร่างกายแข็งแรง ที่ส่งผลต่อศักยภาพในการทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชน

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

 

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้ารับการอบรมคือ พนักงานและคณะผูบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ที่มีภาวะเสี่ยง ในตำบลตะบิ้ง ขั้นตอนการเตรียมการ 1. ร่วมกันประชุมวางแผน เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ 2.แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ 3.ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ขั้นตอนสรุปผลการดำเนินการ 1. สรุปผลโครงการ 2. รายงานผลโครงการ - ค่าอาหารกลางวัน 80 บาท x 1 มื้อ 60 คน เป็นเงิน 4,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 2 มื้อx 60 คน เป็นเงิน 4,200 บาท - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 1,050 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมง ๆ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าเช่าเต็นท์, เก้าอี้, เครืองเสียง เป็นเงิน 4,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 18,150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง ในตำบลตะบิ้ง ที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการสามารถนำความรู้ไปขยายให้ความรู้กับบุคคลในครอบครัวและคนในท้องที่ในหมู่บ้าน ทำในคนในสังคมเกิดความตระหนักและเกิดพฤติกรรมในการดูแลตัวเองและส่งเสริมสุขภาพตนเองให้ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และพฤติกรรมที่ดีในการส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจในการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น และรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
3. พนักงาน,ลูกจ้าง,ผู้บริหาร สนใจการออกกำลังกาย เป็นแบบอย่างการส่งเสริมสุขภาพแก่ชุมชน


>