กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพิจิตร ประจำปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พิจิตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพิจิตร ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พิจิตร

สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพิจิตร

สำนักงานเลขากองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพิจิตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

0.00
2 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)

 

2.00
3 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)

 

3.00

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคมโดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน สนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเอง ด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (3) มาตรา 18 (4) (8) (9) และมาตรา 47ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนฯ รวมถึงสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร ดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ตามประกาศฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2557 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ
กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลพิจิตรได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

0.00 30.00
2 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

3.00 13.00
3 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

2.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อนุกรรมการกองทุน/LTC. 20
เจ้าหน้าที่กองทุนและผู้ขอรับทุน 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการด้วยหลักสูตรภาคประชาชนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์กองทุนฯ หน้าที่ของคณะกรรมการ ประกาศฯ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการด้วยหลักสูตรภาคประชาชนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์กองทุนฯ หน้าที่ของคณะกรรมการ ประกาศฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 25 คน ๆละ 1 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 625 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม. ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 มีนาคม 2566 ถึง 17 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • คณะกรรมการกองทุนมีความรู้ความเข้าใจ
  • ปฏิบัติหน้าที่กรรมการถูกต้องตามระเบียบและประกาศ ฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3425.00

กิจกรรมที่ 2 การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง ต่อปี(ไตรมาสละ 1 ครั้ง)

ชื่อกิจกรรม
การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง ต่อปี(ไตรมาสละ 1 ครั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 19 คน ๆละ 25 บาท รวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 1,900 บาท
  • ค่าตอบแทนคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 19 คน ๆละ 400 บาท 4 ครั้ง เป็นเงิน 30,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการประชุมของคณะกรรมการในการพิจารณาโครงการและประเด็นที่เกี่ยวข้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32300.00

กิจกรรมที่ 3 การประชุมอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การประชุมอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 8 คน ๆละ 25 บาท รวม 3 ครั้ง เป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าตอบแทนอนุกรรมการ จำนวน 8 คน ๆละ 300 บาท 3 ครั้ง เป็นเงิน 7,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การพิจารณาของอนุกรรมการในการกลั่นกรองโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 4 การประชุมอนุกรรมการ LTC.

ชื่อกิจกรรม
การประชุมอนุกรรมการ LTC.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 10 คน ๆละ 25 บาท รวม 2 ครั้ง เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าตอบแทนอนุกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน ๆละ 300 บาท 2 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • การพิจารณาของอนุกรรมการLTC. เพื่ออนุมัติ CP.
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 5 พัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการที่ดีแก่ประชาชนและหน่วยงานที่รับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบลผ่านเวปไซด์https://localfund.happynetwork.org/

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการที่ดีแก่ประชาชนและหน่วยงานที่รับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบลผ่านเวปไซด์https://localfund.happynetwork.org/
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 25 คน ๆละ 1 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 625 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 25 คน ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 4 ชม. ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2566 ถึง 16 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ขอรับทุนมีความรู้ ความเข้าใจการเขียนโครงการที่ดี
  • ผู้ขอรับทุนเขียนโครงการขอรับทุนจากกองทุนผ่านเวปไซด์สปสช.https://localfund.happynetwork.org/ได้ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4275.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมเชิงปฏิบัติการการทำแผนสุขภาพกองทุนและแผนการเงินรับ-จ่าย ประจำปี โดยนำโครงการที่ควรดำเนินการจากแผนสุขภาพมาบรรจุไว้ในแผนการเงิน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการการทำแผนสุขภาพกองทุนและแผนการเงินรับ-จ่าย ประจำปี โดยนำโครงการที่ควรดำเนินการจากแผนสุขภาพมาบรรจุไว้ในแผนการเงิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คน ๆละ 1 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน ๆละ 4 ชม. ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กันยายน 2566 ถึง 27 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กองทุนมีการทำแผนสุขภาพกองทุน
  • มีแผนการเงินของกองทุน ทันตามกำหนดเวลา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,950.00 บาท

หมายเหตุ :
*** ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ ***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กองทุนหลักประกันสุขภาพบริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพประชาชนได้รับการแก้ไขปัญหาและดูแลสุขภาพที่ดี


>