กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนตำบลตันหยงจึงงา ปีงบประมาณ พ.ศ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา

ตำบลตันหยงจึงงา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

10.00

ทุกวันนี้โลกกำลังประสบกับปัญหาขยะล้นโลก เพราะประชากรทั้งโลกนั้นสร้างขยะจำนวนมหาศาลทุกวัน ประเทศไทยสร้างขยะรวมกันมากกว่า 27 ล้านตันต่อปี เทียบเท่าตึกใบหยก2จำนวน 140 ตึก คิดเป็นประมาณ 74,130 ตันต่อวัน เฉลี่ยเป็นปริมาณขยะ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ซึ่งยังไม่รวมขยะตกค้างสะสมที่เพิ่มขึ้นทุกปีไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านตัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งขยะบางส่วนอย่างเช่น พลาสติกส่วนใหญ่จะถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ แต่บางส่วนถูกกำจัดด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เล็ดลอดลงสู่ท้องทะเล และกลายเป็นปัญหามลพิษทางทะเลอยู่ในขณะนี้ การที่ทุกคนจะช่วยลดปริมาณขยะเหล่านี้ได้ คือการที่ทุกคนร่วมใจกันลดการสร้างขยะ และรู้จักการคัดแยกขยะที่บ้านให้ถูกต้อง
หนึ่งในวิธีจัดการที่ได้รับความนิยมคือ การลดขยะตามแนวคิด 3R นั่นคือ Reduce การลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้น เช่น งดการใช้พลาสติกแบบ Single use ที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง Reuse การนำกลับมาใช้ใหม่ ค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการใช้สิ่งต่างๆ ที่แทนการถูกโยนทิ้งไปRecycle การเปลี่ยนสิ่งที่เก่าและไร้ประโยชน์ ให้เป็นสิ่งใหม่ที่มีประโยชน์ ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น และประโยชน์ของการแยกขยะ ที่ช่วยลดขยะได้จริง
ดังนั้น เพื่อเป็นการดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ของพื้นที่ตำบลตันหยงจึงงา จึงได้จัดทำ โครงการโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนในปีงบประมาณ 2566 ขึ้น ให้ชุมชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการลดปริมาณขยะและการจัดการขยะที่ถูกต้องและช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมในบ้านเรือนและชุมชนน่าอยู่ สะอาด ลดแมลงซึ่งเป็นพาหะนำโรค ลดกลิ่นเหม็นและเหตุรำคาญต่าง ๆ จากขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

10.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/02/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่อง การคัดแยกขยะมูลฝอยและการจัดการขยะมูลฝอย

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่อง การคัดแยกขยะมูลฝอยและการจัดการขยะมูลฝอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เรื่อง การคัดแยกขยะมูลฝอยและการจัดการขยะมูลฝอย - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ “ถังขยะเปียกลดโลกร้อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” ขนาด 1 x 2 เมตรตารางเมตรละ 250 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวันจำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 1 ชั่วโมง ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน2,000 บาท รวมเป็นเงิน 5,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการแยกและจัดการขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการขยะเปียกในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการขยะเปียกในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สาธิตการทำถังขยะเปียกใช้ในครัวเรือน - ค่าถังน้ำพลาสติกพร้อมฝาปิด ขนาด 30 ลิตรจำนวน 30 ใบๆละ 130 บาท เป็นเงิน 3,900 บาท - ค่าไวนิลแสดงขั้นตอนการเตรียมถังขยะเปียกลดโลกร้อน ขนาด 1 x 2 เมตรตารางเมตรละ 250 บาทจำนวน 2 ผืน เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าEM ขนาด 1 ลิตร/ขวด จำนวน 30 ขวด ๆ ละ 100 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าเจาะก้นถังน้ำพลาสติกจำนวน 30 ใบ ๆ ละ20 บาท เป็นเงิน600 บาท รวมเป็นเงิน 8,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้เข้าร่วมโครงการมีและสามารถทำถังขยะเปียกเพื่อใช้ในครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมติดตามและประเมินผลการจัดการขยะของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมติดตามและประเมินผลการจัดการขยะของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ตรวจประเมินบ้านจัดการขยะรอบที่ 1 เพื่อค้นหาข้อดีของการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย 2.ประชาสัมพันธ์บ้านที่เข้าร่วมโครงการและสามารถเป็นบ้านจัดการขยะแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
- ค่าติดตามและประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายจำนวน 30 หลังคาเรือนๆละ 50 บาท (โดยแกนนำโครงการฯ) เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-สมาชิกในครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ ถังขยะเปียกลดโลกร้อน คิดเป็นร้อยละ 90 -มีครัวเรือนที่จัดการขยะเปียกด้วยถังขยะลดโลกร้อนเพิ่มขึ้น
-ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการไม่พบแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายคิดเป็นร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
2. ช่วยรักษาภาวะโลกร้อน
3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางและรู้วิธีการคัดแยกขยะ
4. มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ


>