กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิดล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตำบลลิดลร่วมใจพัฒนาสุขภาพแม่และเด็ก ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิดล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล

ตำบลลิดล อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดมาแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมเพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารก ตั้งแต่ ปี2562 ทำให้ผลงานการดูแลสุขภาพมารดาและทารกดีขึ้นเป็นลำดับดังนี้ หญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 64.52 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 68.33 ในปี2565มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เพิ่มจากร้อยละ 73.85 ในปี2564 เป็นร้อยละ 78.46 ในปี 2565และพบผลการดำเนินงานต่ำกว่าเกณฑ์ดังนี้ ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 0 ในปี2564 เพิ่มเป็นร้อยละ 11.54 ในปี 2565 ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า2,500 กรัม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.44 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 8.89 ในปี 2565, ปี 2565 มีเด็กวัย 0 – 5 ปี ที่ได้รับการตรวจพัฒนาการ จำนวน 357 คน พบสงสัยมีพัฒนาการล่าช้าจำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 41.45 ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังมีผลการดำเนินงานดูแลสุขภาพมารดาและทารก ที่ยังเป็นปัญหาต้องมีการแก้ไขอยู่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล จึงได้จัดทำโครงการตำบลลิดลร่วมใจพัฒนาสุขภาพแม่และเด็ก ปี 2566เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนางานดูแลสุขภาพมารดาและทารกในปี 2566 ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 150
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาสุขภาพอนามัยและเด็ก

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาสุขภาพอนามัยและเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดการอบรมมีคณะทำงานแม่อาสา
  2. จัดประชุมแม่อาสา จำนวน 20 คน  เพื่อคืนข้อมูลสภาวะงานอนามัยแม่และเด็กและภาวะเสี่ยง 5 โรคที่ต้องเฝ้าระวัง และจัดทำแผนการดำเนินงาน พร้อมแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด
  3. อบรมหญิงตั้งครรภ์ในปีงบประมาณ 2565  จำนวน 30 คน
  4. อบรมวัยเจริญพันธ์ จำนวน 40 คน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 20 คน
  5. การติดตามเยี่ยมหลังคลอดโดยเจ้าหน้าที่และแม่อาสา พร้อมทั้งมอบอุปกรณ์กระตุ้นพัฒนาการทารกแรกคลอด
  6. แม่อาสาติดตามการกระตุ้นและประเมินพัฒนาการทารกของมารดา เดือนละ 1 ครั้ง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7
    • หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75
    • หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 75
    • ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกินร้อยละ 10
    • ร้อยละ 70 ของมารดาหลังคลอดสามารถกระตุ้นพัฒนาทารกได้ตามวัย
      • ร้อยละ 80 ของหญิงมีครรภ์และวัยเจริญพันธ์มีความรู้ และทักษะการดูแลตนเองด้านอนามัยมารดาและทารก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51210.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,210.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7
- หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75
- หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 75
- ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกินร้อยละ 10
- ร้อยละ 70 ของมารดาหลังคลอดสามารถกระตุ้นพัฒนาทารกได้ตามวัย
- ร้อยละ 80 ของหญิงมีครรภ์และวัยเจริญพันธ์มีความรู้ และทักษะการดูแลตนเองด้านอนามัยมารดาและทารก


>