กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิดล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กตำบลลิดลปลอดภัยชุมชนใส่ใจวัคซีน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิดล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล

ตำบลลิดล อำดภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการให้วัคซีนในเด็กแรกเกิดถึง 60 เดือน เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เพราะเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในอนาคต เด็กที่มีคุณภาพ คือ เด็กที่มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม มีพัฒนาการสมวัย หากเด็กไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับแต่ไม่ครบตามเกณฑ์ จะส่งผลทำให้เด็กมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจเป็นโรคที่มีความรุนแรงถึงชีวิตได้
จากสถานการณ์การระบาดของโรคหัดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี พ.ศ. 2561-2565 พบผู้ป่วยโรคหัดจำนวน 4,834 คน และเสียชีวิต จำนวน 35 คน ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งที่ประชาชนไม่มารับวัคซีนเนื่องจาก ขาดประชาชนขาดความตระหนัก และไม่มีระบบการรณรงค์ติดตามในชุมชน ในปีงบประมาณ 2565 ตำบลลิดลมีเด็กอายุ 0-5 ปีที่ต้องรับวัคซีนตามเกณฑ์ จำนวน 304 คน มารับวัคซีนตรงตามนัด 251 คน คิดเป็นร้อยละ 82.56 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานคือร้อยละ 90 ดังนั้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้แบ่งเด็กที่มีปัญหาดังนี้เด็กที่มารับบริการล่าช้า จำนวน41 คน กลุ่มเด็กบ่ายเบี่ยง จำนวน12 คน โดยมีกิจกรรมหลักคือการเยี่ยมบ้านเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และให้ผู้ปกครองมีความตระหนักถึงความสำคัญในการรับวัคซีนของเด็กวัย 0 - 5 ปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 53
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ให้อสม.สำรวจรายชื่อเด็ก กลุ่มรับวัคซีนล่าช้า และกลุ่มบ่ายเบี่ยงรับวัคซีน เพื่อวางแผนการติดตามวัคซีนเชิงรุกในชุมชน
  2. จัดตั้งคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตำบลลิดล ประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  3. จัดประชุมคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตำบลลิดล เพื่อคืนข้อมูล กำหนดมาตรการข้อตกลง และวางแผนการติดตามเยี่ยมบ้าน
  4. คณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตำบลลิดล ดำเนินการเยี่ยมบ้าน ให้คำแนะนำ สร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง พร้อมบริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมาย 5.จัดประชุมคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตำบลลิดล เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อดำเนินงานครบ 6 เดือน
  5. สรุปผลการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มรับบริการล่าช้า ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 90 
    2.กลุ่มบ่ายเบี่ยง ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มรับบริการล่าช้า ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 90
2.กลุ่มบ่ายเบี่ยง ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 50


>