กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร่วมมือร่วมใจฝากครรภ์ดีมีคุณภาพป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดในเขตตำบลตะบิ้ง ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ทารกคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดทารกก่อน หรืออายุครรภ์เท่ากับ 37 สัปดาห์ เป็นทารกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค และการเสียชีวิต เนื่องจากอวัยวะระบบต่างๆ ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ทารกยิ่งคลอดก่อนกำหนดเร็วก็ยิ่งมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะในระบบต่างๆ มากขึ้นเท่านั้น จากสถิติพบว่าอัตราการเกิดของเด็กไทยในปัจจุบันประมาณ 800,000 คน ต่อปี มีอัตราการเกิดของเด็กคลอด ก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 8 - 10 ต่อปีส่งผลให้อวัยวะของทารกพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ด้วยเหตุนี้ทารกคลอดก่อนกำหนดจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ และพยาบาลที่มีความชำนาญเฉพาะทางเพื่อช่วยให้ทารกรอดชีวิต และมีความพิการหลงเหลือน้อยที่สุดสาเหตุการคลอดก่อนกำหนดมีได้หลายปัจจัย ได้แก่
ปัจจัยจากแม่ อาจมาจากการทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียด มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือมีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ ติดเชื้อในช่องคลอดทางเดินปัสสาวะ หรือแม่มีภาวะน้ำเดินก็จะเป็นการกระตุ้นทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
ปัจจัยของลูก เด็กในครรภ์มีความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด เช่น โรคทางพันธุกรรม มีภาวะ รกเสื่อม เด็กเติบโตไม่ได้จึงกระตุ้นให้มีการคลอด นอกจากนี้ ยังมีทารกแฝดบางรายที่อาจมีความเสี่ยงต่อ การคลอดก่อนกำหนดได้เช่นกัน
ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทารกคลอดก่อนกำหนด
ปัญหาของทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีมากมาย เช่น มีน้ำหนักตัวน้อย การทำงานของปอดไม่สมบูรณ์ทำให้มีปัญหาการหายใจที่ผิดปกติตามมา มีภาวะเลือดออกในสมอง ส่งผลต่อระบบสมองที่อาจมีความพิการเกิดการติดเชื้อตามมาได้ง่าย ภาวะลำไส้อักเสบ
ภาวะหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิวเป็นปัญหาของระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด ยิ่งอายุครรภ์น้อยโอกาสเกิดยิ่งมากขึ้น สารลดแรงตึงผิว (Surfactant) เป็นตัวพยุงทำให้ถุงลมในปอดไม่แฟบเมื่อหายใจออก และเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ปกติ แต่สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด จะยังไม่สามารถสร้างสารลดแรงตึงผิวได้เพียงพอ จึงทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าชได้ เกิดการขาดออกซิเจน และแสดงอาการหายใจลำบาก โดยเด็กจะหายใจเร็ว อกบุ๋ม จมูกบาน ตัวเขียว และส่งผลต่อระบบอื่นในร่างกายตามมาได้ นอกจากนี้การคลอดก่อนกำหนดจะส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายของเด็ก ที่พบบ่อยมี ดังนี้
1. น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์
2. ปัญหาการติดเชื้อ เพราะระบบภูมิคุ้มกันอาจจะยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ อีกทั้งผิวหนังจะบางมากทำให้เชื้อโรคแทรกตัวเข้าในผิวหนังได้ง่าย จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
3. ปัญหาระบบลำไส้ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ เมื่อออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอลำไส้ก็ขาดเลือด และมีโอกาสเกิดลำไส้อักเสบ หรือลำไส้เน่าตามมา
4. ปัญหาระบบหัวใจ และหลอดเลือด มีโอกาสตรวจพบเส้นเลือดหัวใจเกินได้มากกว่าทารกที่คลอดครบตามกำหนด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจวายตามมาได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามเกณฑ์การฝากครรภ์คุณภาพ

 

60.00
2 เพื่อป้องกันและลดโอกาสการคลอดก่อนกำหนด

 

100.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความตระหนัก การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์

 

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 21
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 21/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ 1. รวบรวมข้อมูล เขียนโครงการและเสนอขออนุมัติดำเนินงาน 2. ประสานหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้อง และกลุ่มเป้าหมาย 3. ทำการสำรวจหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง 4. จัดทำข้อมูลจำนวนหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่ตำบลตะบิ้ง และจัดตั้งกลุ่ม Application Line เพื่อเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้และความตระหนักเรื่องอันตรายของการคลอดก่อนกำหนดสีญญาณเตือนที่ต้องไปโรงพยาบาลและการฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ให้กับประชาชนทั่วไป สามีและญาติของหญิงตั้งครรภ์ 5. สรุปและประเมินผลโครงการรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารรับทราบ

ขั้นตอนสรุปผลการดำเนินการ 1. สรุปผลโครงการ 2. รายงานผลโครงการ - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 30 คน ๆ ละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
- ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 1,050 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 2.4 x 4.8 เมตร x 6 ป้ายๆละ 4,032 บาทเป็นเงิน 24,192 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมง ๆ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าเช่าเต็นท์, เก้าอี้, เครืองเสียง เป็นเงิน 4,500 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 37,842 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2023 ถึง 22 มีนาคม 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37842.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,842.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง
2. หญิงตั้งครรภ์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้งมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ มีที่ปรึกษาตลอดการตั้งครรภ์และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหญิงตั้งครรภ์ในกลุ่ม Application Line
3. มีการติดตามและดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด


>