กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดเสี่ยงเลี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา

ตำบลบางตาวา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสเหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง และทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลกสาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลกทางหน้าท้องจำนวน 1 คน นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จะส่งผลต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) เป็นสาเหตุการป่วย พิการและเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลกและประเทศไทย ส่งผลให้เกิดภาระและสูญเสียในทุกมิติทั้งกาย จิต สังคม เศรษฐกิจต่อทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติ โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักที่สำคัญต่อการเกิดโรคดังนี้ ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วน และผลการตรวจ พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังตำบลบางตาวาปีงบประมาณ 2565 มีผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจากภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงจำนวน 50 คน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวาได้ตระหนักถึงความสำคัญ เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง เกิดอุบัติการณ์ พิการ และเสียชีวิตเกิดขึ้นในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่เกินร้อยละ 2

50.00 49.00
2 เพื่อเฝ้าระวังป้องกันปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน และ/หรือ ความดันโลหิตสูงที่มี CVD Risk ≥ 20% หลังได้รับการปรับเปลี่ยนความเสี่ยงแล้วมี CVD Risk ลดลง

50.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดประชุมชี้แจงเรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

ชื่อกิจกรรม
1.จัดประชุมชี้แจงเรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้ารับการประชุมชี้แจง 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 50 คน  เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการประชุมชี้แจง คนละ 75 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังจากการอบรมมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7250.00

กิจกรรมที่ 2 2.เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

ชื่อกิจกรรม
2.เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าพาหนะสำหรับอสม.ลงเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารคนละ 50บาท จำนวน 25 คน เป็นเงิน 1,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีข้อมูลที่เพื่อประเมินพฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 3 3.ตรวจประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk)

ชื่อกิจกรรม
3.ตรวจประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าพาหนะสำหรับ ผู้เข้ารับการ ตรวจประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดคนละ 50บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามและลดโอกาสเสี่ยงเต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในตำบลบางตาวาลดลง
2. เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแลและป้องกันปัญหาโรค


>