กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรุู้เรื่องโทษและพิษภัยของบุหรี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

อบต.ตะบิ้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหากาารสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลงของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพื่มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและ

 

120.00

การสูบบุหรี่ นับเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDsและเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระให้เกิดภาระโรคที่เพิ่มสูงขึ้นในประกรไทยจากการวิเคราะห์สถานการการบริโภคยาสูบในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา(2550-2560 )พบว่า ความซุกของผู้สูบบุหรี่มีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ แม้ว่าประเทศไทยจะมีการดำเนินมาตรการเพื่อร่วมมือกันในหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคีเครือข่าย ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ยังพบว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยังคงสูบบุหรี่และไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้เด็กและเยาวชนที่กำลังก้าวสู่การเป็นนักสูบหน้าใหม่ยังคงมีอยู่ในพื้นที่
ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีประชากรทั้งหมด 6,734 คนชาย 3,293 คน หญิง 3,441 คน จำนวน 1,535 ครัวเรือน ยังคงพบมีผู้สูบบุหรี่ที่ยังไม่สามารถเลิกได้ และพบมีนักสูบหน้าใหม่ เช่นเดียวกับทุกพื้นที่ในประเทศไทย สถานการณ์การบริโภคยาสูบในตำบลตะบิ้ง พบว่ามีผู้สูบบุหรี่ จำนวน 196 คน คิดเป็นร้อยละ 23.1 (ข้อมูลจากการสุ่มเก็บจาก 290 ครัวเรือน) ซึ่งแสดงถึงการมีปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งที่เกิดกับผู้สูบบุหรี่ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสอง การเฝ้าระวังป้องกัน การรณรงค์ การให้ความรู้ การบำบัดฟื้นฟู และการบังคับใช้กฎหมาย โดยผู้สูบบุหรี่สูบบุหรี่โรงงาน และบุหรี่มวนเอง ร้อยละ 16.2 และ 19.0 ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น ความพร้อมที่จะเลิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 56.9 เริ่มคิดจะเลิกสูบ แต่ยังไม่ระบุเวลาที่ชัดเจน ซึ่งเมื่อรวมกับกลุ่มไม่คิดจะเลิกซึ่งมีอยู่ร้อยละ 25.2 จะมีผู้ที่ยังไม่เลิกสูบสูงถึง ร้อยละ 82.1 ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบการสูบบุหรี่ในบ้านทุกวันและบางวัน รวมกันสูงถึงร้อยละ 88.4
ขณะที่ สถานการณ์ของร้านจำหน่ายบุหรี่พบว่า ร้อยละ 46.7 ปฏิบัติไม่ครบตามเกณฑ์ 4 ข้อ ( เกณฑ์ 4 ข้อ ประกอบด้วย ไม่แสดงยี่ห้อ / ไม่แสดงราคาบุหรี่, ไม่เปิดตู้ / ไม่วางโชว์ซองบุหรี่, ไม่วาง / ไม่แขวนซองยาเส้น และ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการสูบบุหรี่) ส่วนพื้นที่สาธารณะพบว่า ปฏิบัติไม่ครบตามเกณฑ์ (3 ข้อ ประกอบด้วย มีป้ายห้ามสูบบุหรี่นอกอาคาร, ในอาคารและ ไม่พบการสูบบุหรี่ในบริเวณใด ๆ)ร้อยละ 62.3
จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินงานในการขับเคลื่อนที่จะทำให้ชุมชนตำบลตะบิ้งเป็นชุมชนที่ปลอดบุหรี่ ประกอบกับการที่ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้งผู้นำ และแกนนำในชุมชนส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ และการมีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการดำเนินงานต่าง ๆในพื้นที่ อาทิเช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง โรงเรียนในพื้นที่ตำบลตะบิ้ง ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชมรมตาดีกาตำบลตะบิ้ง ฯลฯ จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะให้การดำเนินงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบในพื้นที่ตำบลตะบิ้ง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตำบลตะบิ้ง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนปลอดบุหรี่ : ตำบลตะบิ้ง เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปลอดบุหรี่ต้นแบบสอดคล้อบงกับนโยบาย มาตรการ และแผนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในตำบลตะบิ้งต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตรการสูบบุหรี่ของ วัยรุ่น ผู้ใหญ่ อายุ 18 ปี ขึ้นไป

1.1 ค่าใช้จ่ายในการสูบบุหรี่เฉลี่ยต่อเดือนของผู้สูบบุหรี่รายคน ลดลงเหลือ (บาท)  1.2 อัตราการได้รับควันบุหรี่มื้อสองที่บ้านของตนเองลดลงเหลือ (ร้อยละ)

0.00
2 2. เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของผู้ใหญ่

2.1 อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปลดลง เหลือ (ร้แยละ)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 120
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/02/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้โทษและพิษภัยของบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้โทษและพิษภัยของบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้โทษและพิษภัยของบุหรี่ ทักษะในการหลีกเหลี่ยงยั่วยุ และการจัดการความเครียด 1.ควรกำหนดความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมร่วมกันของชุมชน ว่ายาสูบในชุมชนเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ 2. การสำรวจทุนทางสังคมเกี่ยวกับการควบคุมการบริฏภคยาสูบในชุมชน เช่น* ด้านศาสนาเป็นยบุคคลที่มีเป็นผู้นำการสั่งสอน ให้รู้ถึงศีลธรรม วัฒนธรรมอันดี เพื่อโน้มน้าวจิตใจของประข่าขนทั่วไป * ด้านการศึกษาโดยเป็นแกนนำที่คอยสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา ให้ความรู้แก่นักเรียนและประชาชนทั่วไป3. การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้ม สภาพปัญหาและความต้องการควบคุมการบริโภคยาสูบของพื้นที่ เพื่อประเมินสภาพขุมขนร่วมกันว่ามีกิจกรรมดำเนินงานเพื่อการจัดการและควบคุมยาสูบในชุมชนหรือไม่ 4. การกำหนดทิศทางและแนวทางการจัดการปัญหาการบริโภคยาสูบในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เช่น การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลในชุมชนเน้นกาารศึกษาให้ความรู้/ความจริง การทำงานเชิงรุกแทนการตั้งรับ คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องรอบด้านรายละเอียดงบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน และน้ำดืม1 มื้อ จำนวน 120 คนๆละ 80 บาท/มื้อ = 9600 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ จำนวน 120 คนๆละ 35 บาท/มื้อ = 8400 บาท -ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท =3600 -ค่าป้ายประประชาสัมพันธ์ 1050 บาท -ค่าเช่าเต้น เก้าอี้ และเครื่องเสียง = 4500 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ 6000 บาท รวมทั้งสิ้น 33150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สามารถลดอัตราการสูบบุหรี่ได้ร้อย ละ 48 ของประชาชกรในพื้นที่ 2.ผู้บริโภคยาสูบมีความตระหนักในการบริด๓คยาสูบ 3.สามารถป้องกัน กัดกั้น ควบคุมนักสูบรายใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถลดอัตราการสูบบุหรี่ได้ร้อย ละ 48 ของประชาชกรในพื้นที่
2.ผู้บริโภคยาสูบมีความตระหนักในการบริด๓คยาสูบ
3.สามารถป้องกัน กัดกั้น ควบคุมนักสูบรายใหม่


>